003 เป็นไปได้ไหมว่าการเกษตรของไทยจะก้าวหน้าเมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ


การศึกษาไม่ควรถูกขีดขั้นด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ

มาถึงวันนี้...มหาวิทยาลัยน้อยใหญ่เดินหน้ากันออกนอกระบบอย่่างเป็นรูปธรรม ข้อดีข้อเสียของการออกนอกระบบมีการถกเถียงกันมากมายแต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ส่งผลอะไรต่อการดำเนินงาน ตัวผมก็ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการออกนอกระบบในขณะที่เราเองยังไม่พร้อม ผลกระทบทั้งแง่ดีและแง่เสียของการออกนอกระบบจึงต้องคอยติดตามกันต่อไปครับ

แต่สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยทุกท่านควรรำลึกไว้เสมอก็คือ การศึกษาไม่ควรถูกขีดขั้นด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ เพราะดูเหมือนว่าประเด็นสำคัญของการออกนอกระบบอย่างหนึ่งคือการนำมหาวิทยาลัยเข้าสู่ระบบตลาด ให้บริการการศึกษา สาขาวิชาที่ไม่สามารถทำเงินหรือสร้างคนเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อาจต้องหายไป.......

ด้วยความที่เป็นนักศึกษาเกษตร ผมเลยมานั่งนึกถึง...แล้วคณะเกษตรของผมล่ะ หรือวิกฤตินี้จะเป็นโอกาสให้กับการเกษตรของประเทศไทย

ขอออกตัวก่อนว่า ผมเห็นว่าทุกสาขาวิชามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศทั้งสิ้น แต่มุมมองที่ผมเสนอในวันนี้เป็นมุมมองในสายตาของนักเรียนเกษตรคนหนึ่งที่อยากเห็นความก้าวหน้าทางการเกษตรของประเทศไทย เท่านั้นเองนะครับ

เกษตรเป็นพื้นฐานของประเทศ การเรียนเกษตรจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบการเกษตรของประเทศเป็นอย่างยิ่ง การเกษตรที่อาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วยจะทำให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรสูงสุด และแนะน่อนครับส่งผลต่อการพัฒนาของประเทศอย่างยั่งยืน แต่เชื่อไหมครับว่าค่านิยมการเรียนเกษตรของเด็กรุ่นใหม่....ลดลง ลดลง บางทีเรียนเกษตร...จบไปทำงานธนาคาร ขายประกัน เป็นแอร์ ประชาสัมพันธ์ พนักงานขายตั๋วหนังนั้น มีเยอะแยะมากมาย น้อยคนมากครับที่อยากเรียนเกษตรเพื่อจบมาเป็นเกษตรกร

นักเรียนส่วนใหญ่ รวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครอง น้อยนักที่จะสนับสนุนให้ลูกเรียนเกษตรครับ จะเห็นว่าจำนวนนักศึกษาเกษตรศาสตร์ ยกตัวอย่างที่ มช. ปีที่ผ่านมารับนักศึกษาจำนวน 366 ซึ่งไม่ต่างจากเมื่อสิบปีที่ผ่านมา...แต่เมื่อเทียบกับหลาย ๆ คณะที่สามารถป้อนคนเข้าสู่ตลาดแรงงานได้แล้ว แนวโน้มการรับนักศึกษาทั้งภาคปกติ ภาคพิเศษรวมแล้วมากกว่าสองพันคนต่อปี 

เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ การแข่งขันของนักเรียนเข้าสู่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ต้องมีมากขึ้นและมหาวิทยาลัยเองก็ต้องการนักศึกษาที่มีคุณภาพในการเข้าเรียนเช่นกัน แต่ มีนักเรียนที่มีคุณภาพหลาย ๆ คนที่ไม่ได้มีเงินทองเพียงพอที่จะเป็นค่าใช้จ่ายในการเรียนหรอกครับ ประเด็นของผมก็คือ ถ้าคณะเกษตรศาสตร์ร่วมมือกันและที่สำคัญต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นพิเศษ  ทำโครงการเรียนเกษตรเรียนฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย (คนไทยชอบของฟรีครับ) ผมรับประกันว่าแนวโน้มความสนใจของนักเรียน โดยเฉพาะนักเรียนเรียนดีแต่ยากจน และลูกหลานเกษตรกร ต้องได้เฮกันแน่นอนครับ ทีนี้แน่นอนครับต้องมีการสอบแข่งขันแย่งชิงพื้นที่การเรียนเกษตรกันหน่อยละ แทนที่เกษตรศาสตร์จะไปแข่่งขันกับสาขาวิชาอื่น เปิดตัวออกมาแบบนี้ผมว่าอนาคตการเกษตรบ้านเราต้องพรุ่งปรี๊ด ๆ แน่นอน ลองคิดดูว่าหากคณะเกษตรทุกมหาวิทยาลัยร่วมมือกันผนึกกำลังชูความเข้มแข็งของความเป็นเกษตรศาสตร์แล้ว พื้นฐานแข็งแรงขนาดนี้ อนาคตก็ต้องรุ่งโรจน์ครับ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น......มันก็เป็นเีพียงฝันที่ผมอยากจะเห็นนะครับ ไม่รู้ว่าโอกาสเป็นไปได้จะมีซักแค่ไหนกัน

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 378817เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2010 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2012 12:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท