ไฉน
นาย ประกาศิต ปอ ประกอบผล

ทฤษฏีพุทธะ


ทฤษฏีพุทธะ ทุกข์สู่ความดับทุกข์ พลิกวิกฤตเป็นโอกาส

       การเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่งที่เกิดขึ้น หากย้อนกลับไปมองจะเห็นว่ามันมาจากความวิกฤต  ในชีวิตคนเราแต่ละคนก็ตาม หากไม่วิกฤตก็จะไม่เปลี่ยนรูปแบบของการดำเนินชีวิต ดังนั้นหากต้องการการเปลี่ยนแปลงก็จงสร้างเหตุวิกฤต

       พระพุทธศาสนาเกิดมาจากความวิกฤต คือ ความทุกข์ ที่เจ้าชายสิทธัตถ์ประจักษ์แจ้งภายในใจ ส่งเป็นแรงผลักให้พระองค์สละบ้านเมืองครอบครัวออกแสวงหาหนทางพ้นทุกข์ และพระองค์ก็บรรลุพระประสงค์

       พระพุทธศาสนานำเสนอคำสอนอยู่สองเรื่องใหญ่ๆ  คือ เรื่อง “ทุกข์” อันเป็นวิกฤตของชีวิต กับเรื่อง “การดับทุกข์” ซึ่งหากใครสามารถดับได้ก็แสดงว่ารู้จักพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส  นอกจากนี้พระพุทธองค์ยังขยายให้เป็นเหตุเป็นผลกันอีก โดยเรียกว่า อริยสัจ  ได้แก่

       ๑.  ทุกข์  เป็นผล  มองย้อนกลับไปหาเหตุ คือ สมุทัย  

       ๒.  นิโรธ การดับทุกข์ เป็นผล ย้อนกลับไปหาเหตุ คือ อริยมรรคมีองค์แปด

       อริยมรรคมีองค์ประกอบแปดประการนี้เป็นทางสายกลางสายเดียว เป็นเข็มทิศในการดำเนินชีวิตของชาวพุทธ หลักสำคัญย่อลงมาจากแปดประการ มีอยู่ ๓ หลัก คือ

       ๑.  สัมมาทิฎฐิ มีความเห็นถูกต้อง เมื่อความเห็นนั้นถูกต้องแล้วก็ไปสู่ตัวที่ 

       ๒.  สัมมากัมมันตะ มีการกระทำหน้าที่การงานทุกอย่างถูกต้อง และ

       ๓.  สัมมาสติ มีสติกำกับอยู่ตลอดเวลาแห่งการกระทำหรือการดำเนินชีวิต 

       เชื่อได้ว่า ท่านผู้ศึกษากระทำตามหลัก ๓ ประการนี้ได้ ชีวิตจะปราศจากความทุกข์อย่างแน่นอน

โอกาสนั้นมีอยู่ตลอดเวลาแก่ผู้ที่มีปัญญา

หมายเลขบันทึก: 378015เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2010 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท