การจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการ


การจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการ

          ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความสงบสุขของประชาชนและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญและความรุนแรงของปัญหา จึงได้กำหนดให้เป็นนโยบายจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องรีบดำเนินการป้องกันและแก้ไขโดยการพนึกกำลังของทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ

          การจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการเป็นมาตรการสำคัญประการหนึ่งในการควบคุมหรือลดพื้นที่เสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดปัญหายาเสพติดและการเพิ่มปัจจัยหรือพื้นที่บวกเพื่อป้องกันมิให้เด็กหรือเยาวชนเข้ามาเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการให้ได้ผลจะต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนและจะต้องดำเนินการให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่ โดยใช้วิธีต่างๆ ดังนี้

การลดปัจจัยลบ

การเพิ่มปัจจัยบวก

1. การกำหนดพื้นที่ควบคุมหรือจัดโซนนิ่งสถานบริการหรือสถานบันเทิง

2. ขจัดและไม่ให้มีสถานที่ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงตั้งอยู่ใกล้กับสถานศึกษา

3. กวดขันป้องกันมิให้มีการมั่วสุมของเยาวชนที่มีพฤติกรรมด้านเสี่ยง เช่น หนีเรียน ทะเลาะวิวาท การออกเที่ยวกลางคืน การมั่วสุมในที่สาธารณะฯ

4. กวดขัน ตรวจตรา การดำเนินงานของสถานประกอบการต่างๆให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

1. ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน เช่น ดนตรี กีฬา ฯ

2. ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบจ เทศบาล และ อบต ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมหรือพื้นที่บวกอย่างต่อเนื่อง

3. ให้ ศตส จ. จัดให้มีลานสร้างสรรค์เยาวชนอย่างน้อยในเขตเทศบาลอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่งและมีกิจกรรมทางบวกของเยาวชนทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง

 

 

แนวทางการจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการ

ร้านเกม/ร้านอินเตอร์เน็ต

แนวทางในการปฎิบัติที่ถูกต้อง

บทลงโทษฝ่าฝืน

1. ต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการร้านเกมหรืออินเตอร์เน็ต

-ปรับไม่เกิน 2,000 บาทและปรับอีกวันละ 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติตาม (พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 ประกอบ พ.ร.ฏ. กำหนดกิจการเป็นพานิชยกิจ พ.ศ.2546

2. ต้องไม่บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริมหรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร เช่น ยินยอมให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ใช้บริการก่อน 14.00 น.วันจันทร์ถึงศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการหรือใช้บริการหลังเวลา 22.00น. ของทุกวัน

- จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546)

3. ต้องไม่อนุญาตหรือยินยอมให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เล่นเกมคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเกินกว่า3 ชั่วโมงต่อวัน

- จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546)

4. ต้องไม่จำหน่ายหรือให้สุราหรือบุหรี่แก่ผู้มีอายุไม่เกิน 18 ปี บริบูรณ์

- จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546)

5. ต้องไม้จัดให้มีหรือเข้าเล่นหรือเข้าพนัน

- จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478)

6. ต้องไม่มีการกระทำผิดกฎหมายหรือมีพฤติการณ์อันขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเกิดขึ้น

- ปิดสถานที่โดยมีกำหนดระยะเวลาหรือไม่มีกำหนดระยะเวลา (ปว.50)

แนวทางการจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการ

สำหรับกลุ่มเด็กและเยาวชน

แนวทางในการปฎิบัติที่ถูกต้อง

บทลงโทษฝ่าฝืน

1. นักเรียนและนักศึกษาต้องไม่ประพฤติตนหนีเรียนหรือออกนอกสถานศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วงเวลาเรียนหรือเล่นการพนันมั่วสุมในวงการพนันหรือพกพาอาวุธหรือวัตถุระเบิดหรือซื้อสุรา บุหรี่ ยาเสพติดหรือลักทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ ก่อเหตุทะเลาะวิวาท แสดงพฤติกรรมทางชู้สาว เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณีหรือออกนอกสถานที่พักเวลากลางคืนเพื่อเที่ยวเตร่

-กฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 ออกตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546

-พนักงานเจ้าหน้าที่ปฎิบัติตามระเบียบที่ รมต. กำหนดและมีอำนาจนำตัวไปมอบแก่ผุ้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาเพื่อสอบถามและอบรมสั่งสอน

2. ต้องไม่บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริมหรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร เช่น ยินยอมให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ใช้บริการก่อน 14.00 น.วันจันทร์ถึงศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการหรือใช้บริการหลังเวลา 22.00น. ของทุกวัน

- จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546)

3. ต้องไม่จำหน่ายหรือให้สุราหรือบุหรี่แก่ผู้มีอายุไม่เกิน 18 ปี บริบูรณ์

- จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546)

4. ต้องไม่มีการกระทำผิดกฎหมายหรือมีพฤติการณ์อันขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเกิดขึ้น

- ปิดสถานที่โดยมีกำหนดระยะเวลาหรือไม่มีกำหนดระยะเวลา (ปว.50)

 

แนวทางการจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการ

สถานบริการ/สถานบันเทิง

แนวทางในการปฎิบัติที่ถูกต้อง

บทลงโทษฝ่าฝืน

1. ต้องได้รับอนุญาตให้เปิดกิจการถูกต้องตามกฎหมาย

-จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60000 บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ (พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509)

2. ต้องเปิด-ปิดการให้บริการตามเวลาที่กำหนด

-  ปรับไม่เกิน 50,000 บาท  (พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509)

- ปรับไม่เกิน 200 บาทและเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนใบอนุญาต(พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2509)

3. ต้องไม่ยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้มีการมั่วสุมเพื่อกระทำความผิดหรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

-ปรับไม่เกิน 60000 บาท   (พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509)สั่งปิดชั่วคราว พักใช้ใบอนุญาตไม่เกินครั้งละ 15 วัน(พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519)

4. ต้องไม่อนุญาตให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าไปใช้บริการ

-  ปรับไม่เกิน 50,000 บาท  (พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509)

 

5. ต้องไม่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือจำหน่ายก่อน/เกินเวลาที่กำหนด

- จำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือ ปรับไม่เกิน 4000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.2509)

6. ต้องไม่จัดให้มีการแสดงลามกอนาจารหรือการแสดงที่ไม่เหมาะสม

-จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60000 บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ (พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509)

7. ต้องจัดให้มีป้ายหรือประกาศเตือนเกี่ยวกับโทษพิษภัยของยาเสพติด

-ปรับ 10000-50000 บาท  (พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519)

หมายเลขบันทึก: 377618เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2010 07:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 08:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท