ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสื่อ CAI


ส่งทฤษฎี

ทฤษฎีมนุษย์นิยม(Humanism)

ทฤษฎีมนุษย์นิยมซึ่งเป็นรากฐานของแนวคิด   Constructionism(จิตวิทยาทั่วไป:196)  เน้นความเป็นอิสระของแต่ละบุคคล การเรียนรู้เป็นการพัฒนาตนเองไปสู่ความเจริญสูงสุดของตน (Self Actualization)  โดยถือว่ามนุษย์ทุกคนเป็นคนดีโดยกำเนิดทุกคนต้องการกระทำดีต้องการ  พัฒนาศักยภาพ (Potentiality) ของตนไปจนเจริญสูงสุด ซึ่งจะเป็นไปตามนี้ได้  โดยสรุป
                        - มนุษย์มีเป้าประสงค์ (Goal)  ที่จะทำดีจนบรรลุจุดประสงค์สูงสุด
                        - มนุษย์เปลี่ยนแปลง (Dynamic)  สู่ความดีงาม (becoming)
                        - มนุษย์ตระหนักในตนเอง (Awareness) ตลอดเวลา ศูนย์กลางของการรับรู้  คือ  ตนเอง (Self)
                นักคิดกลุ่มนี้กำลังกล่าวขานกันมาก  กับบทบาทต่อการเรียนการสอนระบบ  (Open Classroom School)   คือ จัดสถานการณ์ การเรียน การสอนที่เป็นอิสระ ไม่มีกฏเกณฑ์บังคับขัดขวาง  เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียน  ทำกิจกรรมไปตามความสนใจและความ สามารถของเขา  เขาจะประเมินตนเองว่า พบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ไม่มีหลักสูตร ไม่มีกฎข้อบังคับ ไม่มีการสอบการให้คะแนน  ได้มีการทดลองที่โรงเรียน Summerhill ในประเทศอังกฤษ    และบางประเทศในยุโรป อเมริกา  ปรากฏว่าได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจเด็กรับ
ผิดชอบตนเองได้  พัฒนาตนเองได้ บรรลุจุดสุดยอดของศักยภาพได้   นักคิดอีกท่านหนึ่งที่มีความคิดเห็นที่เชื่อว่ามนุษย์มีการพัฒนา การทางปัญญานั่นก็   คือ   จีน   เพียเจต์   (Jean Piaget )   ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่เป็นรากฐานความคิดของทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism)

      ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์  (Constructivism theory)            

รากฐานทางปรัชญา ทฤษฎี มาจากความพยายามจะเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับ   ประสบการณ์ใหม่ด้วยกระบวนการ ที่พิสูจน์ให้เห็นจริงอย่างมีเหตุผล เป็นความรู้ที่เกิดการไตร่ตรอง    (Reflection)ซึ่งถือเป็นปรัชญาปฏิบัตินิยมประกอบกับรากฐาน ทางจิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งมีอิทธิพลต่อพื้นฐานแนวคิดนี้  คือ  จีน  เพียเจต์  (Jean  Piaget)  ซึ่งมีพื้นฐานแนวคิดจาก ดาร์วิน (Darwin) เรื่องการดำรงเผ่าพันธุ์ของสิ่งชีวิต เพียเจต์   เชื่อว่าสภาวะความสมดุลระหว่างอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับเข้าสู่สภาวะสมดุลย์    (Equilibrium)  เป็นกระบวนการของการเรียนรู้  ซึ่งมีขั้นตอน
                      1.     การดูดซึมเข้าสู่โครงสร้าง  (assimilation)     เป็นการตีความ     หรือรับเอาข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมมาปรับให้ เข้ากับโครงสร้างทางปัญญา
                     2. การปรับโครงสร้างทางปัญญา    (accommodation)    เป็นความสามารถในการปรับทางปัญญาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม  ดังนั้น ทฤษฎีนี้จึงเกิดจากความเชื่อในการพัฒนาการทางปัญญา (Cognitive Development)     ที่ว่าความรู้เกิดจากประสบการณ์ และกระบวนการในการสร้างความรู้  เกิดจากการกระทำ   (active)  การไตร่ตรอง (Reflection)  ดิวอี้ อธิบายลักษณะของการไตร่ตรองว่า เป็นการพิจารณาความเชื่ออย่างรอบคอบไม่ลดละกิจกรรมการไตร่ตรองจะเริ่มต้นด้วยสถานการณ์ที่งงงวย  ยุ่งยาก  สับสน  เรียกว่า  สถานการณ์ก่อนไตร่ตรอง และจบลงด้วยสถานการณ์ที่แจ่มชัด แก้ปัญหาได้ เกิดความพอใจหรือรู้แล้ว (mastery) และจะสนุกกับผลที่ได้รับ กิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างไตร่ตรองประกอบด้วยข้อเสนอ (Suggestions) ขั้นกำหนดปัญหา ขั้นกำหนดความคิด  ขั้นใช้เหตุผล (Resoning) และขั้นกระทำเพื่อทดสอบสมมุติฐาน และผลที่ได้รับจากกระบวนการไม่ได้เป็นไปตามที่คิด แต่ผลจากกระบวนการ  คือ  มีนิสัย  การคิดอย่างไตร่ตรอง

        การออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน           

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีขั้นตอนในการนำเสนอเนื้อหาเช่นเดียวกับการสอนแบบโปรแกรม การสร้างบทเรียนจึงใช้วิธีเดียวกันกับการสร้างบทเรียนโปรแกรมนั่นเอง เมื่อได้บทเรียนโปรแกรม ซึ่งบางตำราเรียกว่า บทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text) ต่อจากนั้นจึงนำไปแปลงเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยโปรแกรมสำเร็จ เพื่อเป็นคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามเนื้อหาที่ผู้เขียนโปรแกรมออกแบบ ดังนั้น ในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงต้องอาศัยพื้นฐานทางทฤษฎีการเรียนรู้ เพื่อเข้าใจผู้เรียนแต่ละระดับและเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ฉะนั้นการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงมีขั้นตอนดังนี้
  • กำหนดเนื้อหาวิชาและระดับชั้น โดยผู้ออกแบบต้องวิเคราะห์ว่าเนื้อหาวิชานั้นจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย ไม่ซ้ำกับใคร เพื่อคุ้มค่าการลงทุนและสามารถช่วยลดเวลาเรียนของผู้เรียนได้
  • การกำหนดวัตถุประสงค์ จะเป็นแนวทางแก่ผู้ออกแบบบทเรียน เพื่อทราบว่าผู้เรียนหลังจากเรียนจบแล้วจะบรรลุตามวัตถุประสงค์มากน้อยแค่ไหน การกำหนดวัตถุประสงค์จึงกำหนดได้ทั่วไปและเชิงพฤติกรรม สำหรับการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมต้องคำนึงถึง
      • ผู้เรียน (Audience) ว่ามีพื้นฐานความรู้แค่ไหน
      • พฤติกรรม (Behavior) เป็นการคาดหวังเพื่อที่จะให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย การวัดพฤติกรรมทำได้โดยสังเกต คำนวณ นับแยกแยะ แต่งประโยค
      • เงื่อนไข (Condition) เป็นการกำหนดสภาวะที่พฤติกรรมของผู้เรียนจะเกิดขึ้น เช่น เมื่อนักเรียนดูภาพแล้วจะต้องวาดภาพนั้นส่งครู เป็นต้น
      • ปริมาณ (Degree) เป็นการกำหนดมาตรฐานที่ยอมรับว่าผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว เช่น อ่านคำควบกล้ำได้ถูกต้อง 20 คำ จาก 25 คำ เป็นต้น
  • การวิเคราะห์เนื้อหา เป็นขั้นตอนที่สำคัญโดยต้องย่อยเนื้อหาเป็นเนื้อหาเล็ก ๆ มีการเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก มีการวิเคราะห์ภารกิจ (Task Analysis) ว่าจะเริ่มต้นตรงไหนและดำเนินการไปทางใด
  • การสร้างแบบทดสอบ ต้องสร้างแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบทดสอบนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีประสิทธิภาพมากน้อยประการใด

การเขียนบทเรียน ก่อนเขียนบทเรียนต้องกำหนดโครงสร้างเพื่อให้ได้รูปร่างของบทเรียนเสียก่อน คือ จะทราบว่าต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง มีสัดส่วนอย่างไร บทเรียนจึงจะมีขั้นตอนที่ดี

คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎี
หมายเลขบันทึก: 37710เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2006 18:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท