แผนการจัดการเรียนรู้ ม.3 (สุขศึกษา)


การจัดการเรียนรู้

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 

รายวิชา สุขศึกษา                รหัส พ 33101                                                      ช่วงชั้นที่ 3            ชั้นปีที่ 3

หน่วยการเรียนรู้                 วัยทองสู่วัยสูงอายุ             

เรื่อง       วัยทองและวัยสูงอายุ                                                                         เวลา 50 นาที

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553                                                                        ชื่อผู้สอน

 

สาระที่   1                                              การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์

มาตรฐานกลุ่มสาระที่                        1.1 เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ 

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น             เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของแต่ละช่วงวัย

มาตรฐานด้านผู้เรียน                         ข้อที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์  คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์  คิดไตร่ตรอง  และมีวิสัยทัศน์ 

ตัวบ่งชี้ 4.1                                           สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์  สรุปความคิดรวบยอด  คิดอย่างเป็นระบบ และมีการคิดแบบองค์รวม

ตัวบ่งชี้  4.2                                          สามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมาย  และแนวทางการตัดสินใจได้

ตัวบ่งชี้  4.3                                          ประเมินและเลือกแนวทางการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างมีสติ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                อธิบายลักษณะการเจริญเติบโตและความเสื่อมของอวัยวะของวัยผู้ใหญ่วัยทองและวัยสูงอายุได้

1.ความคิดรวบยอด

                วัยผู้ใหญ่วัยทองเป็นบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 45-60 ปี บุคคลวัยสูงอายุ คือบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือวัยที่เกษียณอายุราชการแล้ว เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมอย่างมาก จึงควรเรียนรู้แนวทางในการส่งเสริมสุขภาพของคนวัยดังกล่าว

2.จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. นักเรียนสามารถบอกลักษณะความเสื่อมของอวัยวะในบุคคลวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุได้ถูกต้อง
  2. นักเรียนเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลบุคคลวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ
  3. นักเรียนสามารถบอกแนวทางการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลบุคคลในวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุได้อย่างเหมาะสม

3.สาระการเรียนรู้

ผู้ใหญ่วัยทอง

                ผู้ใหญ่วัยทองเป็นบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 45-60 ปีขึ้นไป ในวัยผู้ใหญ่นั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมีลำดับขั้นตอน ดังนี้

  1. 1.              ประสิทธิภาพทางกาย

                วัยนี้อวัยวะต่างๆ เริ่มเสื่อมถอยลงค่อนข้างชัดเจน ดังนี้

1.1       ระบบทางเดินอาหาร มักจะเกิดอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร บางรายอาจมีอาการท้องผูกบ่อยๆ ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่นการเคลื่อนไหวของลำไส้มีน้อย

1.2       สายตา บุคคลเมื่อมีอายุประมาณ 40 ปี สายจะเริ่มยาวขึ้น จึงต้องใช้แว่นสายตา ในการอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่วัยทองจึงเป็นผู้ที่มีสายตายาว นอกจากนี้บางคนก็เป็นต้อกระจก ต้อหิน ต้อเนื้อ ทั้งนี้เพราะสายตาได้ผจญภัยกับลม ฝุ่นละออง น้ำ สารเคมีต่างๆ และยังเกิดจากความเสื่อมของดวงตาที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ

1.3       ผิวหนัง ผิวหนังจะเหี่ยวย่น ไม่เต่งตึง เนื่องจากผิวหนังได้บางลง แต่บางจุดก็เริ่มหนา และผิวหนังจะแห้ง เลือดมาหล่อเลี้ยงผิวหนังได้น้อยกว่าแต่ก่อน ไขมันที่มีอยู่ภายใต้ผิวหนังก็ลดลงมาก จึงทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น ในการเปลี่ยนแปลงของเปลี่ยนแปลงของผิวหนังนี้ บางคนจะเกิดจุดด่างดำ ตุ่ม เม็ด และริ้วรอยของกระเกิดขึ้น จะมากหรือน้อยก็แล้วแต่บุคคล

1.4       เส้นผม ผมเริ่มหงอก คือ มีผมสีขาวเกิดขึ้นบ้างแล้ว บางรายอาจเกิดก่อนที่จะเข้าสู่วัยทองนอกจากนี้เส้นผมก็เริ่มบางลงเพราะมีการหลุดร่วงไปเรื่อยๆ บางรายผมร่วงมากจนเกิดศีรษะล้าน ซึ่งมักจะเกิดกับผู้ชาย

1.5       ฟัน หลายรายจะมีอาการฟันโยกคลอนจนกระทั่งบางซี่หลุดออกมาเอง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับฟันจนต้องถอนฟันทำให้ต้องใส่ฟันปลอม

1.6       ระบบไหลเวียนเลือด หลอดเลือดจะแข็งตัวและผนังของหลอดเลือดจะหนากว่าเดิมเพราะมีไขมันเข้าไปสะสมอยู่มาก บางรายถึงกับหลอดเลือดบีบตันทำให้เกิดโรคต่างๆได้ เช่น หลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน

1.7       ระบบหายใจ เนื่องจากอวัยวะต่างๆเสื่อมสภาพลง รวมทั้งปอดและหัวใจได้รับออกซิเจนน้อยลง รวมทั้งมีโอกาสติดเชื้อในระบบหายใจเนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง

1.8       การได้ยิน เกิดการผิดปกติของหูชั้นกลางและชั้นใน ทำให้เกิดการได้ยินเสียงไม่ชัดเจน บางคนหูตึง หูแว่ว

1.9       ระบบสืบพันธุ์ เริ่มมีความเสื่อมพลัง รวมไปถึงต่อไร้ท่อที่ผลิตฮอร์โมนเพศน้อยลงสมรรถภาพทางเพศลดลง

  1. 2.              ประสิทธิภาพทางสมอง

บุคคลวัยนี้จะมีประสบการณ์และวุฒิภาวะสูงจึงมักคิดและตัดสินใจในการแก้ปัญหาได้อย่างรอบคอบและมีประสิทธิภาพ แต่มีการเสื่อมถอยทางสมอง ความจำลดลง เพราะเซลล์ของสมองเริ่มเสื่อม อาจแสดงออกด้วยการหลงลืม คิดช้า นอกจากนี้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองอาจไม่เพียงพอมีการอุดตันของหลอดเลือด หลอดเลือดแข็งตัวทำให้หลอดเลือดในสมองแตกอย่างเฉียบพลัน ทำให้เกิดอาการอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้

บุคคลวัยสูงอายุ

                บุคคลวัยสูงอายุ คือบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือวัยที่เกษียณอายุราชการแล้ว เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมอย่างมาก

                1.  ประสิทธิภาพทางกายของบุคคลวัยสูงอายุ ระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะเสื่อมถอยลงอย่างมากตามอายุที่มากขึ้น 

                1.1 ระบบทางเดินอาหาร มักจะเกิดอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

                1.2 สายตา มักมีวงแหวนขุ่นขาวเกิดขึ้น ที่รอบ ๆ ตาดำ เนื่องจากการเกาะจับของเนื้อเยื่อโดยรอบของไขมัน แต่จะไม่เป็นอันตรายต่อสายตาและการมองเห็น สายตาจะมองเห็นไม่ชัดเจนอาจเกิดโรคต้อชนิดต่าง ๆ

                1.3 ผิวหนัง ผิวหนังและเนื้อเยื่อไม่เต่งตึงและไม่ยืดหยุ่น แห้งและเหี่ยวย่น

                1.4 เส้นผม มีผมหงอกทั่วทั้งหัว เส้นผมร่วงและแห้งได้ง่าย ในผู้ชายบางคนจะศีรษะล้าน

                1.5 ฟัน ฟันจะหลุดร่วงไปหลายซี่ บางคนต้องใส่ฟันปลอม

                1.6 ระบบไหลเวียนเลือด หลอดเลือดจะแข็งตัว เปราะ ความยืดหยุ่นน้อยลง

                1.7 ระบบหายใจ ปอดจะมีความเสื่อม อาจมีเสมหะอยู่ภายในปอดมากขึ้นทำให้เหนื่อยหอบ อ่อนเพลีย

                1.8 การได้ยิน บางคนอาจถึงขั้นหูตึง การรับเสียงของหูทั้งสองข้างอาจไม่เท่ากัน

                1.9 กระดูก ข้อต่อและไขข้อ หลายคนเดินผิดปกติ เดินช้า หมอนรองกระดูกสันหลังจะเสื่อมลงทำให้หลังโค้งงอ หรือหลังโกง

                1.10 ระบบทางเดินปัสสาวะ วัยนี้ผู้ชายจะมีอาการต่อมลูกหมายโต ปัสสาวะบ่อย เพราะความจุของปัสสาวะลดลง อาจกลั้นปัสสาวะไม่ค่อยอยู่

                1.11 ระบบสืบพันธุ์ ผู้ชายยังคงมีการหลั่งน้ำอสุจิอยู่ ส่วนผู้หญิงจะไม่สามารถสืบพันธุ์ได้เนื่องจากเป็นวัยที่หมดประจำเดือนแล้ว

                1.12 การรับกลิ่น และรับรส มีความไวต่อกลิ่นน้อยลง และลิ้นจะมีความไวต่อรสน้อยลง โดยเฉพาะรสหวาน และรสเค็ม

                1.13 หลอดเสียงและกล่องเสียง เสียงจะแหบและสั่น พูดช้า มีจังหวะหยุดบ่อย และหยุดนานขึ้น มีอาการอ้ำอึ้ง ตะกุกตะกัก

                2.  ประสิทธิภาพทางสมองของวัยสูงอายุ วัยนี้จะมีการเสื่อมถอยทางสมองมากกว่าวัยทอง แต่ถ้ายังได้ทำงานที่ใช้สมองอยู่ ก็จะทำให้ช่วยชะลอความเสื่อมของสมองได้บ้าง สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางสมองของบุคคลวัยสูงอายุ มีดังนี้

                2.1 ระบบประสาท เนื่องจากเส้นเลือดมีปัญหาเรื่องการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมอง บางรายมักเป็นลม บางรายเส้นเลือดในสมองอุดตัน หรือเส้นเลือดในสมองแตก

                2.2 เซลล์สมองเริ่มเสื่อม ทำให้ความคิดและความจำเสื่อมลง เรื่องปัจจุบันมักจะได้ไม่ดีเท่าเรื่องเก่าในอดีต การเรียนรู้เป็นไปได้ช้า ประสิทธิภาพทางสมองลดลง ประสาทสั่งงานช้าลง

การส่งเสริมสุขภาพทางร่างกายในวัยผู้ใหญ่วัยทองและวัยสูงอายุ

                1.  การรับประทานอาหาร ที่ถูกสุขลักษณะ มีคุณค่าทางอาหาร ต้องมีความหลากหลายโดยรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และต้องมีสัดส่วนและปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอ ควรรับประทานอาหารจำพวกข้าวหรือแป้ง ผักและผลไม้มาก ๆ ส่วนนมและเนื้อสัตว์ รวมทั้งน้ำมัน น้ำตาล และเกลือควรบริโภคแต่น้อย

                2.  การออกกำลังกาย ควรเลือกการออกลังกายที่เหมาะสม   หากขาดการออกกำลังกายจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางร่างกาย และอาการของโรคต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูก

                3.  การพักผ่อนและการนอนหลับ หากนอนได้ครบ 8-9 ชั่วโมงก็จะส่งผลดีต่อร่างกาย แต่ด้วยสภาพปัจจุบันหากนอนหลับสนิทนาน 6 ชั่วโมงก็ถือว่าเพียงพอ

4.  หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น การทำงานหนักหักโหม การรับประทานอาหารโดยไม่คำนึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสม การใช้สารเสพติดเพื่อระบายความเครียด การขาดจิตสำนึกในเรื่องของความปลอดภัย การขาดการออกกำลังกาย

                5.  การตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

4.กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ   

  1. ทักทายนักเรียน
  2. ครูและนักเรียนฟังเพลง “วัยทองรำลึก” ร่วมกัน
  3. ถามนักเรียนว่าหลังจากฟังเพลงแล้ว  นักเรียนคิดว่าเนื้อเพลงนี้กล่าวถึงอะไร
  4. เชื่อมโยงคำตอบของนักเรียนเข้าสู่บทเรียน “ผู้ใหญ่วัยทองและวัยสูงอายุ”

ขั้นสอน

(รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเกม “รับความรักจากเธอ”)

ขั้นชี้แจงการเล่นและกติกา  

  1. นักเรียนรับฟังครูชี้แจงกติกาการเล่นเกม โดยครูจะมีลูกบอลให้นักเรียน 3 ลูก (น้องกาก้า น้องจุก น้องเปีย) จากนั้นให้นักเรียนส่งลูกบอลทั้ง 3 ลูกไปเรื่อย ๆ ตามจังหวะเพลงเมื่อเพลงหยุด และลูกบอลอยู่ที่ใคร ให้ผู้ที่มีบอลอยู่ในมือ ค่อย ๆ เปิดปากลูกบอลออก และหยิบสลากจากลูกบอลออกมา ส่งให้เพื่อนที่อยู่ทางซ้ายมือ เพื่อนที่ได้รับสลากจะต้องเดินออกมาหน้าชั้นเรียน และปฏิบัติตามคำสั่งที่อยู่ในสลากนั้น ซึ่งลูกบอลแต่ละลูกจะมีข้อความเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย และสมองของผู้ใหญ่วัยทองและวัยสูงอายุ

ขั้นเล่มเกม

นักเรียนเล่นเกมตามคำชี้แจง

ขั้นอภิปรายหลังการเล่นและสรุปผล

  1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปหลังการเล่นเกมว่า วัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ เป็นวัยที่มีการเสื่อมโทรมของร่างกายในทุกด้าน และเป็นวัยที่ต้องการความรัก ความห่วงใยและการดูแลจากลูกหลาน  หลายคนมักจะละเลยและไม่เห็นความสำคัญของบุคคลทั้งสองวัยนี้
  2. ชมเชยการทำกิจกรรมของนักเรียน

ขั้นสรุป

  1. สรุปเกี่ยวกับความเหมือนและแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงระหว่างวัยรุ่นตอนต้นกับวัยสูงอายุ
  2. มอบหมายงานให้นักเรียน สัมภาษณ์บุคคลวัยทองและวัยสูงอายุ
  3. เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัย

5.สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

  1. ลูกบอล 3 ลูก (น้องกาก้า น้องจุก น้องเปีย)

 

 

6.กระบวนการวัดและประเมินผล

รายการประเมิน

วิธี/เครื่องมือประเมิน

เกณฑ์การประเมิน

3 (ดีมาก)

2 (ดี)

1 (พอใช้)

0 (ต้องปรับปรุง)

1.ผลงานกลุ่ม (K)

ตรวจผลงาน/เกณฑ์การประเมิน

24 – 30

คะแนน

17 – 23

คะแนน

10 – 16คะแนน

0 – 9

คะแนน

2.การปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม (A)

สังเกต/แบบสังเกต

24 – 30

คะแนน

17 – 23

คะแนน

10 – 16คะแนน

0 – 9

คะแนน

3.การสัมภาษณ์ (P)

การซักถาม/แบบสอบถาม

ผ่าน

5 รายการ

ผ่าน

4 รายการ

ผ่าน

3 รายการ

ผ่าน

0 – 2รายการ

 

 

 

 

 

ใบงานที่ 2

เรื่อง สัมภาษณ์บุคคลวัยทองและวัยสูงอายุ 

 

คำชี้แจง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสัมภาษณ์บุคคลวัยทอง และบุคคลวัยสูงอายุ พร้อมตามหัวข้อดังต่อไปนี้

  1. ชื่อ-สกุล
  2. อายุ
  3. ที่อยู่
  4. อาชีพ
  5. แนวทางการดูแลสุขภาพของตนเอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 376665เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2010 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท