การแบ่งผู้นำตามพฤติกรรม (Leadership behavior)


การแบ่งผู้นำตามพฤติกรรม (Leadership behavior)

การแบ่งผู้นำตามพฤติกรรม (Leadership behavior)

                ผู้นำนอกจากแบ่งตามวิธีการที่ได้มา แล้วยังแบ่งเป็นประเภทตามพฤติกรรมที่ผู้นำคนนั้นแสดงออก ดังนั้นทฤษฎีภาวะผู้นำส่วนใหญ่ในปัจจุบัน พฤติกรรมของผู้นำจะเกี่ยวข้องกับ 3 เรื่องสำคัญ (1) มุ่งงาน (2)มุ่งคน และ (3) เข้าใจสถานการณ์และรู้จักปรับบทบาทตนเองให้เหมาะสม

และผู้นำที่มีพฤติกรรมต่าง ๆ  ได้แก่ผู้นำแบบบุรุษเหล็ก / สตรีเหล็ก (Strongman) ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Transactor) ผู้นำแบบนักวิสัยทัศน์ (Visionary hero) และผู้นำแบบชั้นยอด (SuperLeader)

         ผู้นำแบบบุรุษเหล็ก / สตรีเหล็ก (Strongman) เป็นผู้นำที่ใช้คำสั่งหรือคำแนะนำเป็นเครื่องมือทำให้เกิดอิทธิพลต่อผู้ตาม  ผู้นำแบบนี้ได้แก่ การออกคำสั่ง การบอกวิธีปฏิบัติ การกำหนดเป้าหมายเอง การข่มขู่ การตำหนิ การคาดโทษ เป็นต้น

       ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Transactor) เป็นผู้นำที่ใช้รางวัล (rewards) เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนกับการปฏิบัติตามของผู้ตามรางวัลหรือผลประโยชน์แลกเปลี่ยนจึงเป็นแหล่งสำคัญที่ทำให้ผู้นำมีอิทธิพลต่อผู้ตามให้ยินยอมปฏิบัติตามที่ผู้นำปรารถนา

      ผู้นำแบบนักวิสัยทัศน์ (Visionary hero) เป็นผู้นำที่ใช้บุคลิกภาพและความสามารถพิเศษ (charisma) ของตนเป็นเครื่องมือ เกิดอิทธิพลกระตุ้นให้เกิดแรงดลใจขึ้นแก่ผู้ตามให้อยากทำตามอย่างที่ผู้นำทำ

     ผู้นำแบบชั้นยอด (SuperLeader) เป็นผู้นำที่มุ่งพัฒนาผู้ตาม เพื่อให้สามารถนำตนเอง จนในที่สุดผู้ตามก็แปรสภาพไปเป็นผู้นำโดยอัตโนมัติ มีบางคนเรียกผู้นำแบบนี้ว่า “ผู้นำแบบมอบอำนาจเบ็ดเสร็จ” (empowering leader)

     ดังนั้นในการบริหารของแต่ละหน่วยงานไม่สามารถที่จะใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งแล้วจะสร้างทีมงานประสบความสำเร็จได้แต่ต้องขึ้นอยู่กับสภาพบริบท ว่าจะเลือกใช้วิธีการหรือทฤษฎีใดในการบริหารหรือหลาย ๆ ทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ร่วมกันจึงจะสร้างทีมงานได้ประสบความสำเร็จ ถือว่าการสร้างทีมงานเป็นสิ่งที่สำคัญต่อหน่วยงานมากอย่างหนึ่ง

………………………………………..

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ (2545) ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บุ๊คลิ้งค์

 

หมายเลขบันทึก: 376629เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2010 07:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท