Siriniran
นางสาว ศิรินิรันดร์ ปัญญาพูนตระกูล

การจัดการความรู้ KM (Knowledge Management)


การจัดการความรู้ KM (Knowledge Management)

การจัดการความรู้  KM (Knowledge  Management)

การสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาการจัดการความรู้ขององค์กรนำร่อง  ซึ่งได้แก่

  1.  โรงพยาบาลศิริราช
  2.   บริษัท  สแปนชั่น  (ไทยแลนด์)  จำกัด
  3.   บริษัท  ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  4.   สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

มีดังต่อไปนี้

     1.  โรงพยาบาลศิริราช   ประสบความสำเร็จจากการทำ KM  โดยเริ่มจากการวิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กรเพื่อเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมของการจัดการความรู้   ซึ่งทีมงานในการจัดทำ KM นั้นจะมีผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมกิจกรรมด้วย  เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่า การจัดทำ KM ครั้งนี้จะไม่เกิดช่องว่างระหว่างการทำงานแน่นอน   การสร้างชุมชนแห่งการปฏิบัติ  คือ สร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนความรู้  โดยการสื่อสารหลาย ๆ ช่องทาง  เช่น Web site , Intranet , Internet  และ  KM  Call  Center   เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในองค์กร

     2.  บริษัท  สแปนชั่น  (ไทยแลนด์)  จำกัด     ประสบความสำเร็จจากการทำ KM   โดยการประเมินพฤติกรรมของพนักงานในองค์กร  เพื่อปรับให้ทุกคนเป็นผู้ที่แสวงหาความรู้อยู่เสมอ   และได้แลกเปลี่ยน    กระจายความรู้ซึ่งกันและกัน    ซึ่งนำเอา IT เข้ามามีบทบาทสำคัญ   ในการทำ KM   เช่น  E-mail  ,  Net meeting ,  E-Library  เพื่อให้การติดต่อสื่อสารรวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น   จึงสามารถทำให้การแลกเปลี่ยนความรู้นั้นส่งผลให้เกิดความร่วมมือกันในองค์กร

     3.  บริษัท  ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)    ประสบความสำเร็จจากการทำ  KM  โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในองค์กร  เพื่อสร้างความเข้าใจในการจัดทำ KM  และในมีทัศนคติไปในทิศทางเดียวกัน   ซึ่งให้คนในองค์กรได้รู้สึกเป็นเจ้าของโครงการและมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้    การติดต่อสื่อสารที่ใช้ มีหลากหลายรูปแบบ  ได้แก่  E-Card , E-mail ,  Poster  , Paper  card  , KM  web  สิ่งที่แตกต่างจากสององค์กรแรก  คือ  การที่ส่งเสริมและการให้รางวัลพนักงานที่มีความรู้  ซึ่งมีส่วนนำความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ถือเป็นการจัดตั้งศูนย์รวมของความรู้

     4.  สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ    ประสบความสำเร็จจากการทำ  KM   เริ่มจากการที่ปรับเปลี่ยนและจัดการพฤติกรรมของคนในองค์กรเช่นกัน   แต่จะแสดงให้เห็นถึงความผูกพัน  และมีส่วนร่วมในโครงการ  อีกทั้งยังมีการจัดบรรยายเกี่ยวกับ KM   เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้   ทำการสำรวจความคิดเห็นในการจัดทำโครงการนี้    โดยมีการนำเอาการสร้างแรงจูงใจในให้กับพนักงานที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในองค์กร     คือ  การให้รางวัลเป็นตั๋วเครื่องบิน พร้อมที่พัก   หรือเช็คของขวัญ  เป็นต้น    การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะสามารถบูรณาการจัดการความรู้ให้เข้ากับการปฏิบัติงานประจำวันได้อีกด้วย  คือ  บุคลากรจะเห็นประโยชน์จากการที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความรู้กัน    การติดต่อสื่อสารที่ใช้ ก็ได้แก่  KM  Web  , KM corner  ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการแลกเปลี่ยนความรู้ในองค์กร

        จากองค์กรนำร่องทั้ง  4  องค์กร ที่ได้กล่าวมานั้น       สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกค์ใช้กับโรงเรียนได้ ดังนี้   คือ    ความมีการวิเคราะห์พฤติกรรมของคนในองค์กร  เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวัฒนธรรมในเป็นไปในทิศทางเดียวกัน     ที่สำคัญต้องสร้างความสามัคคี และให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการจัดทำ KM      จัดตั้งทีมงานที่มีตัวแทนจากหลาย  ๆ  สายงานเพื่อให้ไม่มีช่องว่างระหว่างหน่วยงาน     มีการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยรวดเร็ว      โดยใช้  Internet  เข้ามามีบทบาทสำคัญ   มีศูนย์กลางการเรียนรู้    เพื่อให้ทุกคนได้เข้าไปแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน    อาจจะผ่าน web site  หรือ  Intranet   และสุดท้ายการเสริมแรง  หรือสร้างแรงจูงใจในการทำงานที่ดีควรต้องมีการยอมรับและให้รางวัล    แก่ผู้ที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร     ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงใจการปฏิบัติงานประจำวัน

หมายเลขบันทึก: 376611เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2010 00:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท