เปิดแล้ว"หลักสูตรนักบริหารงานเวชระเบียน รุ่น2"


นักบริหารงานเวชระเบียน

 

 

โครงการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

หลักสูตรนักบริหารงานเวชระเบียน รุ่นที่ 2

: การจัดการเวชสารสนเทศ เวชระเบียน เวชสถิติ สู่มืออาชีพ

โดย

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต   สาขาวิชาเวชระเบียน   ภาควิชาสังคมศาสตร์

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์   มหาวิทยาลัยมหิดล

ระหว่างวันที่ 1-3 กันยายน พ.ศ.2553

ณ  ห้องอัมรินทร์ โรงแรม เอส ดี อเวนิว กรุงเทพมหานคร

------------------------------------------------------------

 

หลักการและเหตุผล

              ปัจจัยที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในงานทุกประเภทขององค์กรที่ให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐ หรือเอกชน นั้นมีปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร ซึ่งหมายถึงผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด โดยองค์รวม ซึ่งต้องมีความรู้ ความสามารถเพียงพอที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบให้เป็นไปตามเป้าหมาย  หรือเป้าประสงค์ขององค์กรเป็นสำคัญ ประกอบกับสภาวการณ์ในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงในการบริหารจัดการงานด้านเวชสารสนเทศ เวชระเบียน เวชสถิติ การให้รหัสโรค และงานวิจัยด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นงานที่ต้องการความรู้ด้านยุทธศาสตร์ และการบริหารจัดการ ตามนโยบายของรัฐบาลที่มีการปฏิรูประบบราชการอย่างต่อเนื่อง

              การพัฒนาคนถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่จะเอื้ออำนวยให้การดำเนินงานขององค์กรบรรลุเป้าหมาย ดังนั้นในภาวการณ์ปรับเปลี่ยน  การพัฒนาคนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง  จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ในปัจจุบันงานด้านเวชระเบียน ซึ่งครอบคลุมงานทั้ง ด้านเวชสารสนเทศ เวชระเบียน เวชสถิติ การให้รหัสโรค และงานวิจัยด้านการแพทย์ กำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงหลายๆ ด้าน เช่น การปรับโครงสร้าง การปรับเปลี่ยนกลไกระบบบริหารทรัพยากรบุคคล และแนวคิด แนวปฏิบัติที่เปลี่ยนแปลงไปมากมาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และปรับทัศนคติเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มบุคลากรที่เป็นผู้บริหารงานด้านเวชระเบียน ซึ่งจะเป็นกลุ่มแกนนำให้กับหน่วยงานเหล่านั้นต่อไป

              สาขาวิชาเวชระเบียน มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้มีการจัดการอบรมหลักสูตรนักบริหารงานเวชระเบียนขึ้นโดยเริ่มในปี 2552 เป็น รุ่นที่ 1 ในหัวข้อ ยุทธศาสตร์ด้านข้อมูลข่าวสารเพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน มีผู้ต้องการเข้าอบรมเป็นจำนวนมากจนหลักสูตรไม่สามารถที่จะรับเข้าอบรมได้ทั้งหมด ดังนั้นในปี 2553 นี้ทางหลักสูตรฯ ได้ดำเนินการจัดอบรมเพื่อการรองรับกลุ่มผู้ต้องการเข้ารับการอบรมดังกล่าว และเพื่อการพัฒนาการทางด้านนี้อย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรนักบริหารงารเวชระเบียน รุ่นที่ 2 ในหัวข้อ การจัดการเวชสารสนเทศ เวชระเบียน เวชสถิติ สู่มืออาชีพขึ้น

วัตถุประสงค์

              1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถของผู้เข้ารับการอบรม ให้มีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการมากขึ้น และสามารถพัฒนาศักยภาพตนให้เป็นผู้นำด้านเวชระเบียน

              2. เพื่อเสริมสร้างแนวคิด ประสบการณ์ วิสัยทัศน์ในด้านการบริหารงาน สามารถนำองค์ความรู้ ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กร ทั้งด้าน การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) การพัฒนาคุณภาพงานบริการ (Service Quality Improvement) และการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ในการบริหารจัดการและบริหารงานอย่างเหมาะสม

              3. ผู้เข้าอบรมได้แนวทางในการปรับปรุงขีดความสามารถของงานเวชระเบียน เวชสถิติ และเวชสารสนเทศ เพื่อการก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพและสนับสนุนองค์กรในการแข่งขันในโลกข้อมูลข่าวสารของสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข

กลุ่มเป้าหมาย

                  1.  หัวหน้างานเวชระเบียน ในสถานบริการสาธารณสุขสังกัด มหาวิทยาลัย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม กระทรวงอื่น ๆ  และโรงพยาบาลเอกชน

              2. แพทย์ หรือบุคลากรที่ดูแลงานด้านเวชระเบียน เวชสถิติ และเวชสารสนเทศ

              3. คณะกรรมการเวชระเบียน หรือบุคลากรด้านการแพทย์ อื่น ๆ ที่สนใจ

              * ผู้เข้ารับการอบรมไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐานด้านการบริหารงานมาก่อน

จำนวนผู้เข้ารับการอบรม

50 – 100 คนต่อรุ่น 

สถานที่การฝึกอบรม

              ห้องปิ่นเกล้า โรงแรม เอส.ดี.อเวนิว ปิ่นเกล้า  เขตบางพลัด กทม.

วิธีการฝึกอบรม

  1. การบรรยายแบบปฏิสัมพันธ์จากวิทยากร
  2. การอภิปรายเป็นคณะโดยมีวิทยากรนำ
  3. การทบทวนความเข้าใจในแนวคิดด้วยกรณีศึกษาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้
  4. การฝึกปฏิบัติโดยใช้การเรียนแบบให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

 ระยะเวลา   3  วัน  (รุ่นที่ 2 จัดระหว่างวันที่  1-3 กันยายน 2553 ตั้งแต่เวลา 9.00 น.–16.00 น.)

ค่าลงทะเบียน คนละ 4,500 บาท

ประโยชน์ที่จะได้รับ

              1. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถทำแผนยุทธศาสตร์ที่บูรณาการความรู้ในด้านการวางแผน        กลยุทธ์ (Strategic Planning) การพัฒนาคุณภาพงานบริการ (Service Quality Improvement)

              2. ผู้เข้ารับการอบรมได้แนวทางในการปรับปรุงขีดความสามารถในการปฏิบัติงานด้านเวชระเบียน

              3. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพงานบริการที่ประยุกต์ใช้กับหน่วยงานเวชระเบียน

              4. เป็นฐานความรู้ในการปรับขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรด้านเวชระเบียน และด้านการบริหาร

คณะวิทยากร

              1. รองศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์  ศิริสรรหิรัญ         มหาวิทยาลัยมหิดล

              2. รองศาสตราจารย์ นพ.ศิริพงศ์ สัวัสดิ์มงคล           คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

              3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประกายรัตน์ สุขุมาลชาติ      มหาวิทยาลัยมหิดล

              4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทร์ พลอยแหวน               มหาวิทยาลัยมหิดล     

              5. อาจารย์ ดร.แสงเทียน อยู่เถา                         มหาวิทยาลัยมหิดล

              6. อาจารย์อรรถพล กาญจนพงษ์พร                     มหาวิทยาลัยมหิดล

              7. อาจารย์ ดร.ฐิตารีย์ ศิริศรีศรชัย                       มหาวิทยาลัยมหิดล

              8. อาจารย์ชัยวัฒน์ พันธ์รัศมี                             วิทยาลัยเทคโนโลยี

                                               ทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก

              9. อาจารย์ ดร.เสรี วรพงษ์                               มหาวิทยาลัยมหิดล

             

 

ผู้ประสานงานหลัก

              1. คุณศศิธร ลบล้ำเลิศ       email : [email protected]                   

                   หมายเลขโทรศัพท์       02-8002840-78 ต่อ 1234, 1219

                   หมายเลขโทรสาร        02-4419324,  02-4419738

              2. คุณภาณุการณ์ คงเวียง  email : [email protected]                   

                   หมายเลขโทรศัพท์       02-8002840-78 ต่อ 1263

                   หมายเลขโทรสาร        02-4419324,  02-4419738

 

การประเมินผล

                  1. ผู้รับผิดชอบโครงการสังเกตการณ์ระหว่างการอบรมเพื่อประเมินการเรียนรู้ และการมี

ส่วนร่วมของผู้เข้ารับการอบรม

              2. ผู้เข้ารับการอบรมตอบแบบประเมินผลโครงการหลังเสร็จสิ้นการอบรม

              3. ผลการปฏิบัติงานระหว่างอบรม

          4. การนำเสนอผลงานของผู้เข้าอบรม

หมายเลขบันทึก: 376093เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2010 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

รบกวนสอบถามข้อมูลคะ อยากทราบว่าถ้าเกิดเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลไม่ได้จบหลักสูตรเวชสถิติโดยตรง และเมื่อทางสำนักงานประกันสังคมมาตรวจสอบพบว่าไม่มีเจ้าหน้าที่ซึ่งผ่านการศึกษาหลักสูตรเวชสถิติปฏิบัติงานประจำ จึงทำให้เสียคะแนนตรงนี้ไป ไม่ทราบว่าทางเราสามารถส่งบุคลากรที่มีอยู่สมัครเข้าร่วมโครงการนี้ จะสามารถได้รับใบรับรอง หรือใบยืนยันที่จะใช้เป็นหลักฐานแก่สำนักงานประกันสังคม เพื่อไม่ให้เสียคะเเนนทางเวชระเบียนได้มั้ยค่ะ ขอบคุณค่ะ

รบกวนสอบถามข้อมูลคะ อยากทราบว่าถ้าเกิดเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลไม่ได้จบหลักสูตรเวชสถิติโดยตรง และเมื่อทางสำนักงานประกันสังคมมาตรวจสอบพบว่าไม่มีเจ้าหน้าที่ซึ่งผ่านการศึกษาหลักสูตรเวชสถิติปฏิบัติงานประจำ จึงทำให้เสียคะแนนตรงนี้ไป ไม่ทราบว่าทางเราสามารถส่งบุคลากรที่มีอยู่สมัครเข้าร่วมโครงการนี้ จะสามารถได้รับใบรับรอง หรือใบยืนยันที่จะใช้เป็นหลักฐานแก่สำนักงานประกันสังคม เพื่อไม่ให้เสียคะเเนนทางเวชระเบียนได้มั้ยค่ะ ขอบคุณค่ะ

ถ้ามีโครงการจัดฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารงานเวชระเบียน รุ่นที่ 3

: การจัดการเวชสารสนเทศ เวชระเบียน เวชสถิติ สู่มืออาชีพ

ขอความกรุณาส่งเอกสารมาให้น้องด้วยนะค่ะ...ส่งถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี 84160 นะค่ะรบกวนด้วยค่ะ .....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท