สมศักดิ์
พระ สมศักดิ์ ศักดิ์ อินทร์ดี

หน้าที่ชาวพุทธ


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ภายในวัด                    

                วัดเป็นสถานที่สำคัญของพระพุทธศาสนา หรือเป็นสถานที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะวัดในพระพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย อยู่ภายใต้การคุ้มครองแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 วัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

                1.วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เป็นวัดที่ได้รับการอนุญาตถูกต้องและมีการฝังลูกนิมิตหรือผูกพุทธสีมาเรียบร้อย

                2. สำนักสงฆ์ สถานที่ที่ยังไม่ได้รับอนุญาตถูกต้องและยังไม่ได้ผูกพุทธสีมาหรือฝังลูกนิมิต

เขตพุทธาวาส

                เขตพุทธาวาส เป็นส่วนหนึ่งของวัด ซึ่งประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร ใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรมหรือเป็นวัดที่สร้างขึ้นเป็นที่ประกอบสังฆกรรมโดยเฉพาะ ไม่มีสังฆาวาส เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

เขตสังฆาวาส      เขตสังฆาวาส เป็นเขตที่อยู่อาศัยของพระภิกษุ เช่น กุฏิ เป็นต้น

วิหาร      เป็นสถานที่ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และเป็นที่อยู่ของพระภิกษุ

โบสถ์     เป็นสถานที่ที่พระสงฆ์ใช้ประชุมกันทำสังฆกรรมต่าง ๆ เช่น ทำพีธีอุปสมบทและสวดปาฏิโมกข์ทุก ๆ ครึ่งเดือน

เขตเจดียสถาน    เป็นสิ่งก่อสร้างขึ้นเพื่อบรรจุสิ่งที่นับถือ เช่น ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา พระพุทธรูป พระพุทธฉายา พระบรมสารีริกธาตุ เป็นต้น

การปฏิบัติตนต่อสถานที่ต่าง ๆ ภายในวัด

                วัด เป็นสถานที่ที่ชาวพุทธควรให้ความเคารพนับถือ เมื่อเข้าไปในบริเวณวัดควรปฏิบัติตน ดังนี้

                1. ไม่ส่งเสียงดัง

                2. ไม่วิ่งเล่น

                3. ไม่ทำลายสิ่งของภายในวัด

                4. ไม่ดื่มสิ่งเสพติด

                5. ไม่เล่นการพนัน

การบรรพชาในพระพุทธศาสนา

                ผู้ชายที่มีอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ เมื่อประสงค์จะบวชในพระพุทธบัญญัติกำหนดให้บวชเป็นสามเณร ซึ่งเรียกว่า บรรพชา คือ ต้องรักษาศีล 10 ส่วนผู้ชายที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ (ขึ้นไป) เมื่อประสงค์จะบวชในพระพุทธศาสนา ตามพระพุทธบัญญัติกำหนดให้บวชเป็นพระภิกษุซึ่งเรียกว่า อุปสมบท คือ ต้องรักษาศีล 227 ข้อ

          ในปัจจุบันมีสถานศึกษาหลายแห่งนิยมจัดบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ในช่วงปิดภาคเรียนเป็นเวลา 10 วันบ้าง 15 วันบ้าง และ 30 วันบ้าง และในการบรรพชาแต่ละครั้งมีจุดประสงค์ ดังนี้

                1. เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน

                2. เพื่อให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

                3. เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

                4. เพื่อให้นักเรียนได้ใกล้ชิดกับศาสนาที่ตนนับถือ

                5. เพื่อให้นักเรียนรู้จักนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

                6. เพื่อให้นักเรียนรู้จักปรับตนในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น

การเข้าค่ายคุณธรรม

            ปัจจุบันโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาหลายแห่งนิยมจัดให้นักเรียนนักศึกษาได้เข้าค่ายคุณธรรม โดยใช้ชื่อว่า ค่ายจริยธรรมบ้าง ค่ายพุทธบุตรบ้าง ค่ายแผ่นดินธรรมบ้าง และใช้ระยะเวลาในการเข้าค่าย 3 วัน 2 คืนบ้าง และ 5 วัน 4 คืน บ้าง ขึ้นอยู่กับโอกาส

การเข้าค่ายคุณธรรมแต่ละแห่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

                1. เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสอยู่ค่ายคุณธรรม ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังจนเกิดการพัฒนาจิตใจและกิจนิสัยที่ดี

                2. เพื่อให้นักเรียนเกิดเจตคติที่ดี เกิดความสำนึกในการรับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือตนเอง สามารถร่วมกันได้ดี และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

                3. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างถูกต้อง

                4. เพื่อให้นักเรียนประพฤติปฏิบัติตนในบทบาทที่ถูกต้อง ถึงการเป็นบุตรที่ดี การเป็นศิษย์ที่ดี การเป็นเพื่อนที่ดี การเป็นพลเมืองที่ดี ตลอดทั้งการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี

                5. เพื่อฝึกความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการแสดงออกที่ดี

                ส่วนสถานที่ในการเข้าค่ายนั้นบางแห่งจัดที่วัด บางแห่งจัดที่โรงเรียน ไม่มีกำหนดแน่นอน ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการดำเนินงานพิจารณาความเหมาะสม

การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

                การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ คือ การประกาศตนของผู้แสดงว่าเป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าเป็นของตนเป็นการแสดงตนให้ปรากฏว่ายอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชีวิตของตนนั่นเอง

การแสดงตนเป็นพุทธมามกะของนักเรียน

                ผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้แทนโรงเรียนเตรียมรายชื่อนักเรียน ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องไทยทาน นำนักเรียนไปพบพระสงฆ์ที่วัด หรือนิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย 4 รูป มาทำพิธีที่ห้องประชุมของโรงเรียนก็ได้

วิธีการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

                ตัวแทนนักเรียนนั่งคุกเข่ายกพานดอกไม้ ธูปเทียน ประเคนต่อพระสงฆ์พร้อมรายชื่อนักเรียนที่เข้าร่วมพิธีทั้งหมด

                ผู้เข้าร่วมพิธี นั่งคุกเข่า หัวหน้าจุดธูปเทียน กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ สงบจิตใจระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย หัวหน้ากล่าวนำคำบูชาพระรัตนตรัย คนอื่นกล่าวตามทีละวรรค

 

อิมินา สักการะเรนะ                           พุทธัง ปูเชมิ

ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า                              ด้วยเครื่องสักการะนี้ (กราบ)

อิมินา สักกาเรนะ                                                ธัมมัง ปูเชมิ

ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรม                  ด้วยเครื่องสักการะนี้

อิมินา สักกาเรนะ                                                สังฆัง ปูเชมิ

ข้าเจ้าขอบูชาพระสงฆ์                       ด้วยเครื่องสักการะนี้ (กราบ)

แล้วกล่าวคำนมัสการพระพุทธเจ้า และคำขอแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า อรหังสัมมา สัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น (3 จบ)

เอเต (ชายป มะยัง ภันเต สุจิรปรินิพุตัมปิ ตังภะคะวะนตัง สะระณัง คัจฉามิ

เอเต (หญิง) ธัมมัญจะ สังฆัญจะ พุทธะมะ     มะ (ชาย)     กาติ โน สังโฆ ธาเรตุ

คำแปล

                ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึง พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น แม้ปรินิพพานนานแล้ว ทั้งพระ

ธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ ขอพระสงฆ์จงรับข้าพเจ้าไว้เป็นพุทธมามกะด้วยเถิด

          เมื่อกล่าวจบ พระสงฆ์ทั้งหมดประนมมือรับ “สาธุ” ผู้เข้าร่วมพิธีนั่งพับเพียบ ประนมมือฟังโอวาท

จากประธานสงฆ์ จบแล้ว หัวหน้านักเรียนนำกล่าวอาราธนาศีล 5 และสมาทานศีล 5 (กล่าวตามพระเป็นตอน ๆ) แล้วกล่าวสรุปหลังจากสมาทานศีลพระสงฆ์บอก 1 ครั้งว่า ว่าตาม 3 ครั้ง

อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทามิ สามาทิยามิ

ผู้เข้าร่วมพิธีหรือตัวแทน รับพุทธมามกบัตรถวายเครื่องไทยทาน พระสงฆ์อนุโมทนากรวดน้ำรับพร

แล้วคุกเข่ากราบพระสงฆ์ 3 ครั้ง เป็นเสร็จพิธี หรือหลังจากเสร็จพิธี อาจมีการทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ก็ได้

หมายเลขบันทึก: 375938เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2010 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท