มหาตมะ คานธี สุดยอดผู้นำการเปลี่ยนแปลง


มหาตมะ คานธี สุดยอดผู้นำการเปลี่ยนแปลง

มหาตมะ คานธี สุดยอดผู้นำการเปลี่ยนแปลง

posted on 02 Oct 2009 09:20 by leadership  in World-Leader

เขียนโดย อิศราวดี (แอมมี่) ชำนาญกิจ

       มหาตมะ คานธี สุดยอดผู้นำทางความคิดและผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ที่แม้ว่าท่านจะเกิดที่อินเดีย  แต่แนวความคิด "การต่อสู้แบบอหิงสา" หรือการต่อสู้ด้วยการไม่ต่อสู้ ไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ แต่ดื้อแพ่งต่อกฎหมายของรัฐ ก็เป็นแนวคิดที่ได้รับการยกย่องไปทั่วโลกท่านคานธีได้ต่อสู้ในหลายๆ เรื่องที่สำคัญสำหรับเราชาวเอเชียเป็นอย่างยิ่ง  และถ้าไม่ได้ท่าน ชาวเอเชียอย่างเราก็คงไม่ได้เดินทางไปไหนทั่วโลกได้อย่างเสรี  ด้วยความภาคภูมิใจ  และได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน

เรื่องที่ทำให้คานธีลุกขึ้นมาต่อสู้นั้น ก็เช่น เมื่อครั้งที่ท่านเดินทางด้วยรถไฟในแอฟริกา (ในขณะนั้น อินเดียอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษ และชาวอินเดียถือเป็นชนชั้นสอง) ท่านโดนเหยียดเชื้อชาติ จากทั้งๆ ที่ท่านก็ซื้อตั๋วรถไฟชั้นหนึ่ง แต่กลับโดนไล่ให้ไปนั่งชั้นสาม (อาจจะเพราะว่า คนอังกฤษรังเกียจที่จะนั่งชั้นหนึ่งร่วมกับคนอินเดีย) แต่ท่านก็ปฏิเสธไม่ยอมไป จนต้องถูกไล่ลงจากรถไฟ (แหม เป็นเรา เราก็คงจะทั้งโกรธ ทั้งโมโห ทั้งแค้นใจมากๆด้วย ตั๋วก็เสียเงินซื้อ ชั้นหนึ่งก็น่าจะแพงด้วย แล้วยังมาโดนดูถูก โดนไล่ลง ใครจะยอม นะคะ) บางครั้งก็ถึงขั้นโดนทุบตีที่ไม่ยอมย้ายไปนั่งที่ที่จัดไว้ให้แทน

แล้วอีกหลายครั้งเลยที่ท่านโดนปฏิเสธการเข้าพักจากโรงแรมหลายแห่ง เพียงเพราะท่านเป็นชาวอินเดีย (น่ารังเกียจ) หรือโดนขอให้ถอดหมวก turban (คล้ายๆ หมวกที่ชาวซิกข์ชอบสวม) ออก

เราเรียนกันมาว่า ผู้นำที่ยิ่งใหญ่นั้น จะต้องกล้าหาญ ยึดมั่นในความคิดความเชื่อที่ตนเองเห็นว่าถูกต้องและเป็นธรรม คานธีเริ่มต้นต่อต้านอังกฤษโดยจัดประชุมผู้อพยพชาวอินเดียขึ้นในแอฟริกาเป็นครั้งแรก ด้วยวัยเพียง 24 ปี หลังจากเพิ่งจะเรียนจบกฎหมายมาจากลอนดอน

ในปี 1906 คานธีอายุ 37 ปี อังกฤษออกกฎหมายมาฉบับหนึ่ง กำหนดให้ชาวอินเดียทุกคนจะต้องเข้ารับการจดทะเบียนและพิมพ์ลายนิ้วมือด้วย ซึ่งข้อบังคับนี้ รวมถึงการให้สตรีชาวอินเดียทุกคนต้องเปลื้องผ้าต่อหน้าตำรวจผิวขาว เพื่อกรอกตำหนิรูปพรรณลงในทะเบียนด้วย  ซึ่งทำให้ชาวอินเดียหลายพันคนโกรธแค้นมาก และรวมพลังร่วมกับคานธีเพื่อต่อต้านกฎหมายฉบับนี้ ด้วยวธีอหิงสา  เขากล่าวว่า "เราจะสวดขอต่อพระเป็นเจ้าว่า เราจะเข้าคุก และเราจะอยู่ในนั้นจนกว่ากฎหมายนี้จะถูกเพิกถอน และเราจะยอม"

คำพูดของเขาจุดประกายให้เกิดการต่อต้านครั้งยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ของมวลชนซึ่งไม่ได้กะเกณฑ์มาก่อน ผู้ประท้วงกระทำตามอย่างคานธี พวกเขาอดทนต่อการทุบตีของตำรวจ ยอมรับความเจ็บปวดอย่างกล้าหาญโดยไม่ตอบโต้

คานธีใช้คำว่า "สัตยาคฤห" (Satyagraha) ซึ่งเป็นการสมาสคำในภาษาสันสกฤตที่แปลว่า "ความจริง" คำหนึ่ง และ "การตามหา" คำหนึ่ง เพื่ออธิบายแนวคิดในการปฏิวัติของเขา เป้าหมายของอหิงสาเก่าแก่เท่าๆ กับปรัชญาของมนุษย์ ความเข้าใจของคานธีก็คือ ต้องประยุกต์แนวคิดนั้นให้เข้ากับสถานการณ์ทางการเมืองที่ปฏิบัติได้จริง เขารู้สึกว่าการที่จะปฏิบัติตามลัทธิอหิงสาที่แท้จริงนั้น ในจิตใจต้องมีการพัฒนาสันติภาพ หรือมีเมล็ดพันธุ์แห่งการประนีประนอมให้เกิดขึ้นเสียก่อน เพราะถ้าไม่มีสิ่งนี้ เราจะมีอหิงสาได้อย่างไรกัน

ประวัติชีวิตของคานธี น่าสนใจ และน่าติดตามอ่าน คุณนก รัตติกาล เรียบเรียงไว้ได้สนุกน่าอ่าน ที่นี่  ถ้าคานธีไม่ได้ริเริ่มเปลี่ยนแปลงความคิดหลายๆ อย่าง และเหนื่อยยากต่อสู้เพื่อความเท่าเทียม โดยวิธีการต่อสู้แบบสันติที่ไม่ใช้อาวุธใดๆ ซึ่ง

"คานธีรู้ดีว่าการใช้วิธีต่อต้านแบบอหิงสา จำเป็นต้องแสดงความกล้าหาญออกมาให้เห็น จึงจะดึงความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในตัวมนุษย์ออกมาได้ เขาสอนให้ชาวอินเดียรู้จักต่อต้านผู้กดขี่ และต่อสู้กับตัวเองด้วย"

โลกก็คงไม่รู้จักว่า วิธีอสิงหา หรือการต่อสู้โดยไม่ใช้อาวุธนั้นสามารถสร้างความสามัคคีและเรียกร้องในสิ่งที่ต้องการได้เช่นกัน

 

หมายเลขบันทึก: 374948เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2010 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท