สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังหลงแถว


“ สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังหลงแถว” (สัตว์แม้นมีตั้งสี่เท้ายังพลาดพลั้งได้อาจล้มได้แม้มีตั้งสี่เท้า และนักปราชญ์ที่เก่งๆยังมีเวลาที่หลงวรรคหลงบรรทัด จำได้แล้วยังมีลืมหลง พิจารณารอบคอบแล้วยังอาจผิดพลาด)

           ยามเกิดความรักอะไรๆมันก็ดีหน้ามืดตามัวดังคนโบราณกล่าวว่า “มักเจ้าแล้ว ขาบักเฮงกะแบกแล่น น้ำบักเหลืองไหลจ้นๆกะซิโซ้นแบกเอา” (รักคุณแล้วแม้นว่าคุณมีโรคร้ายมีน้ำเหลืองเต็มตัวก็จะอุ้มเอาไปอยู่ด้วยหมายถึงคุณจะเป็นอะไรสกปรกแค่ไหนเช็ดอุจราระปัสสาวะก็ทำให้คุณได้ แต่นานๆเข้าคำนี้ก็ตรงกันข้ามขึ้นได้) 

           “ฮักเจ้าเด้ ขาเป๋ลืมเบิ่ง ได้เจ้าแล้วขอแป้วจั่งค่อยเห็น” (รักคุณมากจนลืมดูคุณสมบัติของคุณ เมื่อได้เสียเป็นเมียผัวแล้วจึงเห็นความไม่ดีของคุณที่ปิดบังไว้” เรื่องความรักแม้คนสมัยก่อนก็ยอมรับว่า

               “ สี่ตีนยังก้าวพลาด นักปราชญ์ยังหลงแถว”  (สัตว์แม้นมีตั้งสี่เท้ายังพลาดพลั้งได้อาจล้มได้แม้มีตั้งสี่เท้า และนักปราชญ์ที่เก่งๆยังมีเวลาที่หลงวรรคหลงบรรทัด จำได้แล้วยังมีลืมหลง พิจารณารอบคอบแล้วยังอาจผิดพลาด)

             ภาษาอีสานดูเหมือนว่าคำว่ารักจะพูดกันสองคำคือ "ฮัก" "มัก" คำว่า “ฮัก” จะมีความหมายดีสักหน่อย“ฮักคือการมีใจผูกพันด้วยความห่วงใย” เช่นพ่อแม่รักลูก เป็นที่น่าเสียดายว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ภาษาอีสานถูกห้ามสอนในดรงเรียน โดยคำสั่งของรัฐบาลไทยและโรงเรียนก็เริ่มออกจากวัด พระสงฆ์เริ่มหมดหน้าที่จากการเป็นครูแต่คนที่มาเป็นครูก็จะถูกจ้างจากรัฐบาลโดยเอาคนที่เคยบวชมีความรู้ทางศาสนาได้นักธรรมชั้นโท หรือชั้นเอกขึ้นไป เข้ามาเป็นครูสอนหนังสือให้ให้พูดภาษาไทยในโรงเรียนกลับบ้านพูดได้ในห้องต้องพูดภาษากลาง ครูที่สอนนั้นการสอนมีค่าตอบแทนเป็นเดือนๆและหลายปีต่อมาก็เริ่มเปลี่ยนจากวุฒินักธรรมเป็นวุฒิการศึกษาทางโลกเต็มตัวเช่นเป็นครูจบชั้น ป. ๔  ครู พ. ครู พม. ครู พกศ. ครูปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์ ปัจจุบันครูที่ได้วุฒินักธรรมครูยุคแรกๆหมดอายุตายไปหรือเกษียณกันหมดแล้วยังเหลือลูกหลานที่ก็เรียนปริญญาตรีจึงได้เข้าสู่วิชาชีพครู  

                 เวลาผ่านไปเกือบร้อยปีเมื่อไม่มีการสอนตัวอักษรอีสาน ภาษาอีสานจึงเหลือแต่ภาษพูดและถึงทุกวันนี้ภาษาเดิมก็หายไป คนอีสานแท้ๆก็มีน้อยคนที่จะอ่านภาษาตัวธรรมอีสานได้คงเหลืออยู่แต่ภาษาพูดและคำพูดบางคำก็เริ่มปนเปกับภาษาไทยกลางเช่น สิ่งเค็มๆใส่อาหารเดิมอีสานเรียกว่า “เกีย” แต่ปัจจุบันต้องพูดว่า "เกลือ" ตามภาษากลาง ใครพูดว่าเกียก็โดนเย้ยหยันว่าพูดผิด....

                 ส่วนคำว่า “มัก” มีความหมายถึงการรักโดยไม่คิดถึงความเหมาะสมไม่คิดถึงควมพอดี อยากให้คนที่เรารักเป็นไปตามที่เราคิดหวังมากกกว่าที่เราจะให้ความหวังเขามากกว่าที่เขาคิด เราหลายคนจะยังไม่อิ่มเอมไม่สมปรารถนากับนิยามความรัก? แล้วทุกวันนี้เรากำลังอยู่ในความรักแบบ ฮักหรือมัก? แม้นคำอีสานจะไม่ถูกสอนหรือคุณจะเป็นคนภาคใด แต่คำนี้ยังต้องถูกพูดถึงต่อไปโดยภาษาใดก็ได้จนกว่าคุณจะหมดรักการเลือกคู่ชีวิตต้องคิดให้ดีถี่ถ้วนรอบคอบ

หมายเลขบันทึก: 374557เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2010 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะอาจารย์

...ดูเหมือนจะเข้าใจความรักแบบไม่มีที่ติเลยนะคะ...นับถือๆๆๆๆๆๆ

...ทุกวันนี้ขออยู่กับคำว่า "ข่อยฮักเจ้าหล้ายหลายเด้อจ้า"

...ขอให้ทุกคนได้พบกับความฮักที่แท้จริงและมีความสุขกับความฮักนะคะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท