พัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่


    ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจะพัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่ โดยกำหนดหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการศึกษานิเทศก์ทุกคน กำหนดเป็น 3 ระยะคือ

ระยะที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการตามหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น ระยะเวลา 4 วัน  และให้เลือกพัฒนาตามความสนใจผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (e – training)10 Module  (รายละเอียดจะแจ้งให้ทราบภายหลัง กำลังปรับใหม่)

ระยะที่ 2 ปฏิบัติงานจริงภาคสนามเพื่อฝึกการนิเทศเชิงลึก ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 45 วัน และ

ระยะที่ 3 สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการนิเทศ ต่อยอด เติมเต็ม ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน

สำหรับการพัฒนาศึกษานิเทศก์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

  1. กรพัฒนาศึกษานิเทศก์แกนนำ

ระยะที่ 1  อบรมเชิงปฏิบัติการตามหลักสูตรที่กำหนด วันที่ 8 – 13 กรกฎาคม 2553

ระยะที่ 2 ปฏิบัติงานจริงภาคสนามเพื่อฝึกการนิเทศเชิงลึกเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ ระยะเวลา 45 วัน ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม ถึงวันที่ 3 กันยายน 2553

ระยะที่ 3 สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการนิเทศจากการปฏิบัติงานจริงภาคสนาม วันที่ 2 – 4 กันยายน 2553

  1. การพัฒนาศึกษานิเทศก์ทุกคน ทำการพัฒนาเป็น 3 ระยะเช่นเดียวกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ระยะที่ 1  อบรมเชิงปฏิบัติการตามหลักสูตรที่กำหนด โดยจำแนกตามภูมิภาค ๆ ละ 4 วัน  ตั้งแต่วันที่ 2 ถึงวันที่ 6 สิงหาคม 2553

ระยะที่ 2 ปฏิบัติงานจริงภาคสนามเพื่อฝึกการนิเทศเชิงลึกเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ ระยะเวลา 45 วัน ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม ถึงวันที่ 30  กันยายน  2553

ระยะที่ 3 สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการนิเทศจากการปฏิบัติงานจริงภาคสนาม วันที่ 2 – 4 กันยายน 2553

  1. การพัฒนาบุคลากรผ่าน e – training  10 module เปิดให้ศึกษานิเทศก์เข้าศึกษาตามความสนใจ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 30 กันยายน 2553  และภายหลังที่ สพฐ. ประเมินผลแล้ว ก็ยังคงเปิดให้ศึกษาต่อไปได้
  2. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจะเลือกผลงานการวิจัยของศึกษานิเทศก์เข้าร่วมการนำเสนอในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับนานาชาติที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นเจ้าภาพ ตั้งแต่วันที่ 17  19 กันยายน 2553
  3. สพฐ.  จะจัดให้มีการคัดเลือกผลงานการนิเทศดีเด่น (Best Practice)  

     ระดับ สพท. ตั้งแต่วันที่ 6 – 8 ตุลาคม 2553

     ระดับ สพฐ. ตั้งแต่วันที่ 13  - 15 ตุลาคม 2553

4. สพฐ. คัดเลือก Master Supervisor วันที่ 26 ตุลาคม ถึงวัน  

    ที 5 พฤศจิกายน 2553

5. สพฐ. พัฒนา Master Supervisor วันที่ 15 - 19 พฤศจิกายน

    2553

6. สพฐ. จัดสัมมนาทางวิชาการ (Symposium) ผลงานการนิเทศที่เป็นเลิศ (Best Practice) วันที่ 24 – 26 พฤศจิกายน 2553

กำหนดการต่าง ๆ ยังไม่ลงตัว อาจมีการปรับเลื่อนเข้า เลื่อนออกได้ตามความจำเป็น และรายละเอียด

เกี่ยวกับ e –training 10 module อยู่ระหว่างการปรับปรุงให้เหมาะสมอยู่ จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง ถ้ามีความก้าวหน้า  ดังนั้น พวกเราควรเตรียมตัวในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย

สิ่งที่ศึกษานิเทศก์จะต้องเตรียมตัวก่อนเข้ารับการพัฒนา มีอย่างน้อย 3 รายการคือการจัดทำแผนพัฒนาตนเอง (ID Plan) การจัดทำแผนนิเทศ และโครงร่างการวิจัยปฏิบัติการ 1 โครงร่าง

หมายเลขบันทึก: 374139เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2010 23:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ขอบคุณท่าน ศน มากครับ
  • ที่บันทึกให้อ่าน
  • สนใจเรื่อง  e – training  10 module ครับ

เรียน อ.ขจิต

10 module มศว.ประสานมิตรกำลังเขียนอยู่ครับ

เรียน ท่านศน.กสิณธารา

ดิฉันเป็น ศน.ใหม่ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลโรงเรียนถ่ายโอนจากสพฐ.มา มีความสนใจเรื่องการพัฒนาการนิเทศการศึกษาแนวใหม่มาก เพราะปัญหาคือ ในเรื่องการนิเทศการศึกษา นั้น เป็นเรื่องใหม่มากของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ ทำให้ไม่มีนโยบายการพัฒนางานนิเทศเลย เป็นอปท.แต่ละแห่งเองที่ต้องดูแลตัวเอง ดิฉันจึงขอความกรุณารบกวน ศึกษาเรียนรู้จากท่านศน.ทั้งหลายทางblog อีกทางหน่ึงนะคะ ช่วยอนุเคราะห์ให้คำแนะนำเป็นวิทยาทานด้วยค่ะ ไม่เคยเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาเลย (ทำหน้าที่ ศน.มา 2 ปีแล้ว) อาศัยศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ถามผู้รู้ไปเรื่อย ๆ อ่านตำรา และwebsite ต่าง ๆ แล้วนำมาปรับใช้ ทำโครงการต่าง ๆ เพื่อดูแลช่วยเหลือโรงเรียนและเพื่อนครูเป็นcase ไป ทำงานแบบไม่มีใครโยนนโยบายให้ ทุกอย่างคิดเอง เสนอผู้บริหารระดับสูงเอง ไม่ทราบว่าจะถูกหรือผิด แต่ก็อยู่ในช่วงยังมีแรง ก็อยากทำงานให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรให้เต็มที่ ยังไงขอความกรุณาท่านศน.ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ

การพัฒนาศึกษานิเทศก์ : E training 10 โมดูล

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จ้างมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพัฒนา

ระบบนิเทศแนวใหม่ และกำหนดให้ศึกษานิเทศก์ได้พัฒนาตนเองตามความสนใจ โดยการศึกษาผ่านระบบ

e – training ซึ่งจะมีโมดูลให้เลือกศึกษา 10 โมดูล ประกอบด้วย การวิจัยเพื่อความก้าวหน้าของการศึกษาไทย

สื่อ แหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีทางการศึกษา การวางแผนการนิเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา การนิเทศแนวใหม่ การพัฒนางานสู่มาตรฐานวิชาชีพ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ การคิดวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษาอังกฤษสำหรับศึกษานิเทศก์ ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ในสถานศึกษา และสุขกับการทำงานด้วยความคิดเชิงบวก ลองเลือกดูว่าจะสนใจเข้าศึกษาในโมดูลไหนบ้าง

ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://www/sornor-leader Google Groups

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท