เศรษฐกิจของประเทศไทย


คำว่า “โลกาภิวัตน์” ฟังดูเหมือนกับว่าเศรษฐกิจทุกประเทศกำลังพัฒนาไปในแนวทางเดียวกัน เป็นระบบเศรษฐกิจเดียวกันแต่จริง ๆ แล้วเป็นเศรษฐกิจที่ผูกขาดและบงการโดยแระเทศพัฒนาอุตสาหกรรมเพียงสิบกว่าประเทศ ควบคุมการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ กิจการค้า การขนส่ง การประกันภัยระหว่างประเทศ โดยผ่านบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งเรียกกันว่า บริษัททุนข้ามชาติ (Transnational Corporation) บริษัทข้ามชาติแต่ละแห่งมีสาขาตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

เศรษฐกิจของประเทศไทย

        ประเทศไทยเมื่อราวร้อยปีที่แล้วเป็นระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง ผลผลิตที่สำคัญที่สุดคือ ผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งนอกจากการกสิกรรมแล้ว ยังรวมถึงผลผลิตจากป่าไม้ การเลี้ยงสัตว์และจับสัตว์น้ำด้วย แต่เมื่อเศรษฐกิจเปลี่ยนเป็นแบบผลิตเพื่อขายหรือระบบทุนนิยมมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา มูลค่าผลผลิตอุตสาหกรรมมีสัดส่วนสูงเพิ่มขึ้นตามลำดับจนแซงหน้าเกษตรในปี พ.ศ.2524

        ในปัจจุบันแม้ว่าการเกษตรจะเป็นอาชีพหลักของประชากรไทยในแง่ที่ว่าแรงงานร้อยละ 50 ยังคงทำงานภาคเกษตร แต่มูลค่าของผลผลิตจากการเกษตร (รวมทั้งปศุสัตว์ ประมง ป่าไม้) ที่คิดอยู่ในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ มีเพียงราวร้อยละ 10 ของผลผลิตรวมเท่านั้น

        โครงสร้างการผลิตของไทยในปัจจุบันเศรษฐกิจสาขาที่มีมูลค่าสูงสุด คือ อุตสาหกรรม รองลงมาคือ การค้าส่งและค้าปลีก และบริการ (ที่รวมถึงการท่องเที่ยว การให้บริการต่าง ๆ ) การขนส่งและการคมนาคม สาขาการธนาคาร ประกันภัยและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ

        แต่การที่ประชากรไทยส่วนใหญ่ ยังอยู่ในภาคเกษตร ทำให้จริง ๆ แล้วเศรษฐกิจภาคเกษตรของไทยยังมีความสำคัญสูงอยู่ ภาคเกษตรทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในกิจการค้า การแปรรูปอุตสาหกรรม และอื่น ๆ สูง และเกษตรกรเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ การที่โครงสร้างการผลิตของคนไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาคเกษตรที่ประสิทธิภาพการผลิตล้าหลังและมีรายได้ต่ำ ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยเติบโตอย่าไม่สมดุลและถึงจุดหนึ่งก็เริ่มมีปัญหาเศรษฐกิจถดถอย

ปัญหาภาคการเกษตรล้าหลังและการกระจายรายได้ไม่เป็นธรรม

        นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกภายใต้โครงสร้างเศรษฐกิจระบบตลาดแบบผูกขาด ไม่มีการแข่งขันเสรีเป็นธรรมจริง ทำให้คนมีรายได้ปานกลางและสูงมีรายได้สูงเพิ่มขึ้นกว่าคนมีรายได้ต่ำหลายเท่า เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนในอัตราที่สูงกว่าเดิม

        สาเหตุของปัญหาการกระจายทรัพย์สินรายได้ที่ไม่ทั่วถึงนั้นเป็นผลมาจากนโยบายและโครงการพัฒนาของรัฐบาล ซึ่งเน้นการเร่งรัดพัฒนาความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโดยส่วนรวม โดยมุ่งส่งเสริมการลงทุนต่างชาติ การพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจภาคในเมืองเพื่อนายทุนขนาดใหญ่ขนาดกลาง มากกว่าที่จะกระจายการพัฒนาสู่ภาคเกษตรหรือภาคชนบท รวมทั้งรัฐไม่ได้พัฒนาเรื่องการศึกษาอบรมการพัฒนาฝีมือแรงงาน และการยกระดับประสิทธิภาพและค่าจ้างของคนงานอย่างจริงจัง

        สาเหตุของปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม ยังมีพื้นฐานมาจากระบบโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีลักษณะการกระจายการถือครองปัจจัยการผลิตและทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน ทุน ที่มีความไม่เป็นธรรมสูง คนที่มีที่ดินมากเป็นร้อยเป็นพันไร่ หรือมีที่ดินในกรุงเทพฯ มูลค่าหลายพันล้านบาทซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคม ยิ่งนับวันก็ยิ่งได้ประโยชน์จากค่าเช่า และการที่ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นในอัตราสูงมาก โดยเฉพาะค่าเช่าและราคาที่ดินในเมืองย่านการค้า อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ขณะที่คนส่วนใหญ่ซึ่งไม่มีที่ดินหรือมีที่ดินเพียงเล็กน้อย นอกจากจะไม่มีทางหารายได้จากทรัพย์สินตัวนี้แล้ว ยังจะต้องเป็นเสียรายจ่ายในรูปของค่าเช่าหรือการซื้อที่อยู่อาศัยแบบผ่อนส่งด้วย

        ในเรื่องทุนก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน มีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นเจ้าของกิจการมีหุ้น มีเงินฝากธนาคารและเงินทุนในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งสามารถให้ดอกผลในรูปกำไร เงินปันผล ดอกเบี้ย ในอัตราทวีคูณ ยิ่งคนมีทุนมากหรือมีอำนาจในเชิงผูกขาดหรือกึ่งผูกขาดก็ยิ่งได้ดอกผลมาก และสามารถสะสมสืบทอดให้ลูกหลานสร้างความมั่งคั่งในอัตราสูง ขณะที่คนส่วนใหญ่ซึ่งไม่มีทุน นอกจากจะไม่ได้ดอกผลเหล่านี้แล้ว ยังมักต้องเป็นลูกนี้เงินกู้ เป็นฝ่ายเสียดอกเบี้ย ทำให้ต้นทุนการทำงานและเลี้ยงชีพสูงขึ้น

            

โลกาภิวัฒน์

                       

        คำว่า โลกาภิวัตน์ฟังดูเหมือนกับว่าเศรษฐกิจทุกประเทศกำลังพัฒนาไปในแนวทางเดียวกัน เป็นระบบเศรษฐกิจเดียวกันแต่จริง ๆ แล้วเป็นเศรษฐกิจที่ผูกขาดและบงการโดยแระเทศพัฒนาอุตสาหกรรมเพียงสิบกว่าประเทศ ควบคุมการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ กิจการค้า การขนส่ง การประกันภัยระหว่างประเทศ โดยผ่านบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งเรียกกันว่า บริษัททุนข้ามชาติ (Transnational Corporation) บริษัทข้ามชาติแต่ละแห่งมีสาขาตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

        ประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย ฯลฯ ยังเป็นประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้ทุนอุดหนุนภาคเกษตรของตนและใช้นโยบายกีดกันสินค้าเกษตรจากประเทศอื่น ๆ 

        เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อังกฤษ ญี่ปุ่น เป็นเศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับผลกำไรที่ได้จากการลงทุนและการค้ากับต่างประเทศมาก ประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมสามารถขายสินค้าอุตสาหกรรม หรือแม้แต่สินค้าเกษตรกรรมบางอย่างของตนได้ในราคาสูงกว่าที่ประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถขายวัตถุดิบและสินค้าเกษตรของตนได้ เพราะประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมมีอำนาจต่อรองในตลาดโลกสูงกว่า ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ต้องขาดดุลการค้า คือ ซื้อสินค้าเข้าเป็นมูลค่าสูงกว่าที่ส่งออกไปขายได้ และต้องเป็นหนี้สินต่างประเทศเพิ่มขึ้นตามลำดับ

ที่มา: กฎหมายการค้าโลกว่าด้วยสินค้าเกษตร อาหาร และเครื่องดื่มที่คนไทยควรรู้ โดย ดร. สุธาบดี สัตตบุศย์

         เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก โดย วิทยากร เชียงกูล   

หมายเลขบันทึก: 37381เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2006 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

 

รักน่ะ

จุ๊บๆ

บาย

 

  ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ให้ความรู้และยังได้นำไปเป็นรายงานประกอบการเรียนด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่เก่งจังค่ะ เรียนนิติฯธรรมศาสตร์ด้วย หนูอยู่ ม.5ค่ะอยากเรียนนิติฯที่ธรรมศาสตร์เหมือนกัน แต่กลัวว่าคงยาก ตอนนิหนูเรียนรามฯไปด้วยค่ะ คณะนิติฯเช่นกัน คือว่าอยากทราบถึงการเตรียมตัวค่ะ แรวอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม ยังไงพี่ช่วยตอบกลับมาได้มั้ยค่ะ หรือว่า085-1901038 ค่ะหนูชอบกฎหมายค่ะ พี่ก็เป็นไอดอลของหนูแรวคนนึงนะค๊ะ ยังไงก็เป็นกำลังใจให้พี่ค่ะ เรียน ป.โทแรวด้วย สู้ๆนะค๊ะเป็นกำลังใจให้ ขอบคุณค่ะ.........เพชรลัดดา

ขอบคุณคร้า

มีประโยชน์สำหรับผู้ที่ค้นหามากมายเลยจร้า

ขอบคุณมากนะค่ะ ที่เป็นข้อมูลให้กับรายงาน และการบ้านเราเนเนะค่ะ ^_^V

ขอบคุนนะครับได้ข้อมูลที่ดีมากเลย

อารา€วะ lครียส มากมา€ lราlรียนตั้Jllต่ 6 โมJ ครึ่J ถึง 2 ทุ่ม ครึ้J ง่าส์

กำ กำ กำ กำ กำ กำ............ สม๏ง ระlบิด lล€ โว้€ โอ้วววววว....

ดีมากสำหรับข้อมูล

อริยะ วิมุกติบุตร

ขอบคุณมากสำหรับข้อมูล

เศรษฐกิจไม่ค่อยดีช่วงนี้เป็นกำลังใจให้นะค่ะทุกคน

ทำไมเศรฐกิจไม่ดเลย ข้าวของเเพง

ขอคุณที่ให้ความรู้ค่ะ

ขอบคุณค่ะที่ให้ข้อมูลจะนำเอาไปใช้ให้ดีที่สุด

ขอบคุนนะค่ะ

  • ดีมากครับ ละเอียดเข้าใจง่าย. สุดยอดจริงครับ. ติดตามตลอดนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท