Entry Journal Week 5


สวัสดีค่ะอาจารย์ดร.ประเสริฐ  1 เดือนผ่านไปแล้วอย่างรวดเร็ว สัปดาห์นี้รู้สึกว่าเรียนสนุกเกือบทุกวิชา ยกเว้นวิชาสถิติขั้นสูงที่มีงานและการบ้านที่ดิฉันไม่เข้าใจและทำไม่ได้ จึงเกิดความรู้สึกเครียดขึ้นมาทันที ดิฉันเป็นนักเรียนที่เรียนสายศิลป์-ภาษามา ดังนั้นเรื่องตัวเลขจึงเป็นคู่อหริกับดิฉันเป็นอย่างยิ่ง การบ้านของสัปดาห์ยังไม่ทราบว่าจะหาทางออกอย่างไรดี ก็คงต้องรอเพื่อนๆสอนให้อีกเช่นเคย วันนี้ดิฉันได้อ่านบทความเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่ดิฉันมีความสนใจไปศึกษาต่อ โดยเนื้อหามีดังนี้

นิวซีแลนด์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะ อยู่ทางตอนใต้ของประเทศออสเตรเลีย มีประชากรประมาณ 3 ล้าน 6 แสนคน พลเมืองมี 2 กลุ่มใหญ่ คือ ชนพื้นเมืองเรียกว่า เมารีและชนผิวขาวซึ่งเป็นผู้อพยพมาจากยุโรป

การจัดการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์ก่อนปี ค.ศ. 1989 เป็นการจัดการศึกษาที่อยู่ในลักษณะของการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง (Centralization) มีระดับของการจัดการการศึกษาหลายระดับหลายขั้นตอน มีความหลากหลายขององค์กรและหน่วยงานที่รับภาระในการจัดการศึกษา นับตั้งแต่กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานศึกษาธิการส่วนภูมิภาค คณะกรรมการบริหารการศึกษาประเภทต่าง ๆ และสภาการศึกษา เป็นต้น เป็นผู้รับภาระบริหารการศึกษาและสถานศึกษารับภาระในการให้การศึกษา อำนาจการตัดสินใจทั้งการบริหารแผนงาน โครงการงบประมาณ บุคลากร อยู่ที่ส่วนกลางจากสภาพปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำ ให้รัฐมีความคิดในการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ บนพื้นฐานปรัชญา “การศึกษาเพื่อชีวิต” ภายใตัหลักการ “การกระจายอำนาจทางการศึกษา (Decentralization of Education) การมีส่วนร่วมของประชาชน (A Charity Communication) และการตรวจสอบและถ่วงดุลย์ (Check and Balance)” ในเรื่องของการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา มีการลดขั้นตอนทางการบริหาร เหลือเพียง 2 ระดับ คือ

1. ระดับกระทรวง มีสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยบริหารงานกลางของกระทรวง มีหน้าที่เกี่ยวกับการเสนอแนะรัฐบาลในการกำหนดนโยบายทางการศึกษาทุกระดับ จัดสรรงบประมาณ สนับสนุน ส่งเสริมและประสานงานให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและเกิดประสิทธิผล

2. ระดับสถานศึกษา สถานศึกษาทุกระดับตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนกระทั่งถึงมหาวิทยาลัย จะมีความเป็นอิสระในการจัดการศึกษาของตนเองในระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษา มีคณะกรรมการบริหารโรงเรียน (Board of Trustees) เป็นองค์กรบริหารและมีอาจารย์ใหญ่ (Principal) เป็นผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งมาจากการจ้างโดยการสรรหาและแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารโรงเรียน

ในส่วนของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน/สถานศึกษาเป็นคณะกรรมการ ซึ่งได้รับการสรรหาและแต่งตั้งจากชุมชน ผู้ปกครอง อาจารย์ใหญ่ ครูและนักเรียน (เฉพาะระดับมัธยมศึกษา) เพื่อทำ หน้าที่รับนโยบายจากกระทรวงศึกษาธิการมาปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบาย เป้าหมายทางการศึกษาของชาติ หลักสูตร ธรรมนูญของโรงเรียน ตลอดจนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการทางการศึกษาของชุมชน โดยยึดหลักการบริหารแบบใช้คุณค่าร่วมกัน (A Community of Share Values) และการตัดสินใจโดยองค์คณะบุคคล สำหรับการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษา รัฐจัดสรรโดยตรงให้แก่โรงเรียนเป็นเงินก้อน (Block grant) เพื่อจ่ายเป็นเงินเดือนครู งบดำเนินการและเงินสนับสนุน ทั้งนี้การจัดสรรงบประมาณของรัฐจะให้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนนักเรียน ซึ่งหากโรงเรียนที่อยู่ในระดับยากจน หรือโรงเรียนที่มีนักเรียนชาวเมารีจะได้รับเงินเพิ่มเป็นพิเศษ นอกจากนี้รัฐจะจัดสรรให้ตามที่คณะกรรมการบริหารโรงเรียนจัดทำ แผนงาน/โครงการเสนอ และหากคณะกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่าโรงเรียนมีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างอื่น ก็อาจนำไปดำเนินงานในกิจการเร่งด่วนนั้นได้

ระบบบริหารการศึกษาของนิวซีแลนด์หลังการปฏิรูปการศึกษา อาจเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจสำหรับประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้หลักการ School Based Management นอกจากนี้วิธีการแก้ปัญหาบางอย่างของนิวซีแลนด์ก็อาจนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยได้ เช่น การจัดให้มีโรงเรียนที่สอนไม่ครบชั้น เป็นต้น

จากบทความข้างต้น ก็ทำให้เรา (ประเทศไทย) น่าที่จะมาทบทวนถึงระบบการศึกษาไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ปัญหาเด็กอ่านไม่ออก – เขียนไม่ได้ก็ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก กระบวนการขั้นตอนของระบบการศึกษาไทยก็ดูยุ่งยากและซับซ้อน มีการทุจริต คอรัปชั่นเงินงบประมาณที่นักเรียนควรมี ควรได้ ทำให้ระบบการศึกษาไทยไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น ปัญหานี้เราจะแก้ไขอย่างไร และจะเริ่มจากจุดไหน เราคนไทย (โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษา)คงต้องร่วมมือกันแล้วหละค่ะ แล้วพบกันใหม่สัปดาห์หน้านะคะอาจารย์

 

คำสำคัญ (Tags): #entry journal week 5
หมายเลขบันทึก: 373338เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2010 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • อาจารย์ครับ
  • ผมเคยไปเรียนที่ Auckland ด้วยครับ
  • เอาอันนี้มาฝาก
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/356126
  • ดีใจที่พบอาจารย์ครับ 

ทำแบบฝึกหัดจากเพลงชื่อเพลง proud of you ที่นี่ครับ สามารถฟังเพลง proud of you ได้ที่นี่และเพลงLover concertoมาเพิ่ม ใบงานเพลงA Lover's concerto

 

 เพลงTake me to your heart   ใบงานTake me to your heart

 

เพลงWhen you say nothing at all   ใบงานWhen you say nothing at all

 Auckland

http://gotoknow.org/blog/yahoo/25856

http://gotoknow.org/blog/yahoo/25677?class=yuimenuitemlabel

http://gotoknow.org/blog/yahoo/25834

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท