โรงพยาบาลห้วยแถลง
พญ. วิภา โรงพยาบาลห้วยแถลง อุทยานินทร์

สรุปเนื้อหาจากการอบรมการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน


สวัสดีค่ะ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลห้วยแถลงทุกท่าน เนื่องด้วยดิฉัน นาวสาวกัลยา อินทะวุธและนางสาวเสงี่ยม เลไธสง ได้ไปอบรมวิชาการเรื่องการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 7-11   มิ.ย.2553 เป็นเวลา 5วัน ณ โรงแรมดิเอมเมอรัล กรุงเทพ ซึ่งก็ได้เก็บความรู้และเนื้อหาที่น่าสนใจมาฝากทุกท่านด้วยค่ะ

 

วันที่ 7มิ.ย.2553 ซึ่งเป็นวันแรกของการอบรม จะมีการอบรมเรื่องต่างๆดังนี้

 

1. การวางแผนรับสถานการณ์ฉุกเฉินและอุบัติภัยหมู่ โดยอาการอุบล ยี่เฮง

 

    อาจารย์จะสอนในเรื่องของการคัดแยกผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ(field Triage)

 

เพื่อจัดลำดับความเร่งด่วนในการช่วยเหลือที่เหมาะสม ในกรณีมีผู้เจ็บป่วยเป็นจำนวนมาก

 

      วัตถุประสงค์การคัดแยกผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ

 

         1. กรณีผู้ช่วยเหลือมีเพียงพอ จะทำการคัดแยกเพื่อจัดกลุ่มผู้เจ็บป่วยตามระดับความรุนแรงและนำส่งยังโรงพยาบาลที่เหมาะสม

 

         2. การณีผู้เจ็บป่วยมีเป็นจำนวนมากเกินกำลังของผู้ที่ให้การช่วยเหลือ จะคัดแยกผู้เจ็บป่วยเพื่อช่วยเหลือกลุ่มที่มีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุดบนพื้นฐานของทรัพยากรที่มีอยู่ในขณะนั้น ซึ่งในส่วนนี้อาจารย์จะเปิดวิดีโอเกี่ยวกับการซ้อมแผนอุบัติเหตุหมู่ให้ดู

 

2. เรื่องพยาบาลกับนิติวิทยาศาสตร์ โดยอาจารย์พรทิพย์ โรจนสุนันท์ ซึ่งอาการจะสอนเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องการชันสูตรศพ การสังเกตลักษณะการถูกยิงในระยะต่างๆ โดยในโรงพยาบาลชุมชน อาจารย์จะเน้นเรื่องการถ่ายรูปศพไว้ในลักษณะต่างๆที่สำคัญ การเก็บสิ่งส่งตรวจที่ถูกต้องเพื่อเป็นหลักฐานในการชันสูตร เช่นเสื้อผ้าของผู้ป่วยต้องเก็บไว้ในลักษณะที่ให้คงสภาพเดิมมากมากที่สุด

 

3.เรื่อง Emergency management for pediatric patients โดยอาจารย์ นายแพทย์ศักดา อาจองค์ ซึ่งอาจารย์จะสอนในเรื่องของภาวะฉุกเฉินต่างๆในเด็กที่พบบ่อยและควรรู้ ได่แก่ 

 -ภาวะไข้ฉุกเฉิน

    ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสารก่อให้เกิดไข้ หรือที่เราเรียกว่า pyrogen ซึ่งสารนี้อาจเป็นเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส สารประกอบบางอย่างที่สร้างจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย โดยเฉพาะแบคทีเรียต้องนึกถึงและพลาดไม่ได้ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ที่มารักษาด้วยอาการไข้ฉุกเฉิน

 -ภาวะฉุกเฉินของระบบทางเดินหายใจ ทั้งส่วนต้นและส่วนล่าง ภาวะสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ ภาวะปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ

     โดยการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน มักมีอาการเยบพลัน มาด้วยอาการพิการแต่กำเนิดและแย่ลงมากขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุความพิการนั้นมาก่อน อาจทราบหรือไม่ทราบความผิดปกติ หรือความพิการนั้นๆมาก่อน แต่การติดเชื้อแบบเฉียบพลันเสริมทำให้อาการแย่ลง หรือมาด้วย upper airway obstruction จากการสำลักสิ่งแปลกปลอม

 -ภาวะแพ้แบบ anaphylaxis

 -ภาวะฉุกเฉินของโรคทางเดินระบบประสาท

 -ภาวะฉุกเฉินทางระบบทางเดินอาหาร

วันที่ 8  มิ.ย.2553

1. การบรรยายเรื่อง Cardiopulmonary emergencies โดย อาจารย์ ดร.สิริรัตน์ ลีลาจรัส

  - cardiac emergency

      =>acute coronary syndrome ผู้ป่วยจะมีอาการเจ้บแน่นหน้าอก  ปวดบีบรัดหน้าอกร้าวไปถึงขากรรไกรและแขนซีกซ้าย คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออกมาก ใจสั่นสะอึก

      =>acute heart failure เป็นภาวะหัวใจที่ไม่สามารถทำหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ตามปกติ ผู้ป่วยมักมีอาการหายใจลำบากอย่างรุนแรง Orthopnea อ่อนล้า อ่อนเพลีย  บวม จากการมีน้ำสะสมในร่างกาย

       การดูแลและการพยาบาล

1.การเตรียมทางเดินหายใจให้โล่ง

2. การช่วยการหายใจ

3.การดูแลเรื่องระบบไหลเวียนโลหิต

4.วัดสัญญาณชีพ

5.EKG monitor

6.oxygenation

      =>acute pericarditis เกิดได้จากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน การได้รับการบาดเจ็บ การติดเชื้อ การเกิดจากเนื้อร้าย ผู้ป่วยมักมาด้วย อาการเจ็บแน่นหน้าอกอย่างแรงขณะหายใจเข้าและมีกิจกรรมต่างๆเพิ่มขึ้นและอาการจะเพิ่มขึ้นเมื่อผู้ป่วยโน้มตัวไปด้านหน้ามีไข้ หนาวสั่น หายใจลำบาก

       การดูแลรักษาและการพยาบาล

1. การให้ออกซิเจน 3-6 LPM/min

2. การให้ยาทำให้สงบ

3.การให้ยาแก้ปวด

4.การให้ผู้ป่วยได้พัก

5.การให้ยาลดการอักเสบหรือสเตรียรอยด์

2. การบรรยายประกอบการสาธิตเรื่อง cardiopulmonary resuscitation

โดยอาจารย์นายแพทย์ปริญญา คุณาวุฒิ

การ CPR แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

1.การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน(basic life sopport)

2.การกู้ชีพขั้นสูง(Advance cardiovascular life support)

วันที่ 9 มิ.ย.2553

 1.การบรรยายเรื่อง Emergency in orthopedics,Psychiatric emergencies โดยรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญยุทธศุภชาติวงศ์

2.การบรรยายเรื่อง Emergency management in neurological patient โดยศาสตราจารย์นายแพทย์สุพจน์ ตุลยาเดชานนท์

3.การบรรยายเรื่อง Gynaecologic and obstetric emergencies โดยผู้ช่วยศษสตราจารย์ ดร.จันทิมา ขนบดี

วันที่ 10  มิ.ย. 2553

1. อาจารย์จะมีการบรรยายเรื่อง eye emergencies โดยอาจารย์ ดร.มุกดา เดชประพนธ์

และต่อด้วยเรื่อง Poisoning and drug overdose โดยรองศาสตราจารย์นายแพทย์วินัย วนานุกูล และนางสาวจารุวรรณ ศรีอาภา

2.ฟังการบรรยายเรื่อง Ear,nose and throat emergencies

3.Endocrine Emergencies โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิง ยุวเรศมคฐ์สิทธิชาญบัญชา

วันที่ 11 มิ.ย.2553

เป็นวันสุดท้ายของการฟังประชุมวิชาการซึ่งจะเป็นการอบรมเรื่อง Emergency management in surgical and traumatic patients โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ไสว วรสาร ซึ่งเนื้อหารายละเอียดต่างๆถ้ามีท่านใดต้องการทราบติดต่อได้ที่กัลยาและเสงี่ยมที่ ER นะคะ

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 373291เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2010 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 06:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท