สรุปงานวิจัย


สรุปผลการศึกษางานวิจัย

การเรียนวิชาระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง ท่านอาจารย์ รศ.ดร.อรุณี อ่อนสวัสดิ์  มอบหมายงานให้ไปศึกษาวิทยานิพนธ์ที่ตนสนใจแล้วสรุปมาเตรียมนำเสนอ ก็เลยไปค้นคว้าหาดูวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกเกี่ยวกับหลักสูตรและการสอน พอเห็นชื่อเรื่องนี้ก็สนใจว่ารูปแบบที่ใช้ชุมชนและประสบการณ์มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ สามารถพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้อย่างไร  การวิจัยเรื่องนี้มีกระบวนการในดำเนินการวิจัยหลายขั้นตอน และเครื่องมือเก็บข้อมูลหลากหลายน่าสนใจ แต่เสียดายว่าในภาคผนวกไม่ได้ลงตัวอย่างเครื่องมือไว้ให้ศึกษาเป็นแบบอย่าง สรุปประเด็นจากงานวิจัยได้ดังนี้

ชื่อเรื่องวิจัย       การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาสังคมโดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์

ชื่อผู้วิจัย         พัชรี  ศรีสังข์  รองศาสตราจารย์  ภาควิชาสังคมวิทยา  
                      คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วิทยานิพนธ์           ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร   
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ปี พ.ศ.ที่ทำวิจัย      2551

ความเป็นมาและความสำคัญ 

จากการศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาจิตวิทยาสังคมของอาจารย์ผู้สอนและคุณลักษณะของผู้เรียนที่เรียนวิชานี้ ซึ่งผู้วิจัยซึ่งเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาจิตวิทยาสังคมในระดับปริญญาตรี ได้ศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 4 แห่ง พบว่า มีความคล้ายคลึงกัน ใน 2 ประเด็น คือ 1) จัดสาระการเรียนรู้เป็นบทเรียน ตามลำดับเนื้อหาจากหนังสือ ตำราที่ใช้สอน 2) กระบวนการสอนใช้การบรรยายเป็นส่วนใหญ่มีกิจกรรมเสริมบ้าง 3) ผู้เรียนมีมุมมองแบบแยกส่วน มีความรู้พัฒนาด้านสติปัญญามากกว่าด้านอื่น ส่วนพฤติกรรมหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เกิดบางเพียงพฤติกรรม และไม่คงทนถาวร จึงมีความจำเป็นที่สะท้อนให้อาจารย์ผู้สอนวิชาจิตวิทยาสังคมต้องปรับปรุงวิชาที่สอน โดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์และให้นิสิตนักศึกษาสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยวิเคราะห์จากกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน  

วัตถุประสงค์ 

1. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาสังคมโดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์

2. ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาสังคมโดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์

คำถามวิจัย 

1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาสังคมโดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ มีลักษณะอย่างไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

2. ผลที่เกิดจากการใช้รูปแบบสามารถเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ได้หรือไม่ อย่างไร และทำให้สมาชิกชุมชนที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนิสิตตามกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน ทำให้สมาชิกในชุมชนเกิดการเรียนรู้หรือไม่

กรอบแนวคิดการวิจัย 

 

 

 สมมุติฐาน

            นิสิตมีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์หลังการทดลองใช้รูปแบบฯ และสมาชิกในชุมชนเกิดการเรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการทดลองใช้รูปแบบฯ

ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาสังคมโดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์

ตัวแปรตาม  ได้แก่

         1) คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ 3 ด้าน ได้แก่

             1.1) ด้านสติปัญญา มีพฤติกรรม ได้แก่

                      1. มีความรู้ความเข้าใจ

                      2. มีความคิด

            1.2) ด้านอารมณ์ ความรู้สึก ได้แก่

                      1. มีการควบคุมอารมณ์

                      2. มีค่านิยม การรับรู้ ตระหนักในคุณค่า

                      3. มีคุณลักษณะที่ควรแสดงออก

           1.3) ด้านทักษะ ได้แก่

                     1. ทักษะการสังเกต

                     2. ทักษะทางสังคม

                     3. ทักษะการทำงานกลุ่ม

                     4. ทักษะการแก้ไขปัญหา

                     5. ทักษะการทำงาน

                     6. ทักษะการคิดวิเคราะห์

          2) ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับสมาชิกในชุมชน 3 ด้าน ได้แก่

                2.1) ด้านสติปัญญา

                       1. มีความรู้ความเข้าใจ

                       2. มีความคิด

               2.2) ด้านอารมณ์ ความรู้สึก

               2.3) ด้านทักษะ

                      1. ทักษะการสังเกต

                      2. ทักษะทางสังคม

                      3. ทักษะการทำงานกลุ่ม

                      4. ทักษะการแก้ไขปัญหา

                      5. ทักษะการทำงาน

                      6. ทักษะการคิดวิเคราะห์

แนวคิดที่นำมาใช้

แนวคิดที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาสังคมโดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ มี 3 แนวคิด ได้แก่

1. แนวคิดการวิจัยปฏิบัติการสร้างสรรค์ความรู้ร่วมกัน

2. แนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน

3. แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์

ประชากร

นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระดับปริญญาตรี สังกัดคณะต่างๆของมหาวิทยาลัยที่ลงทะเบียนเรียนวิชาจิตวิทยาสังคมในภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2549 ที่ผู้วิจัยรับผิดชอบสอน จำนวน 52 คน

กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ

1. นิสิต จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 86.54 ได้มาจากประชากร นิสิตที่มีเวลาเรียนวิชาจิตวิทยาสังคมเต็มเวลา และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ครบถ้วน นิสิตที่ขาดคุณสมบัติยังคงมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น แต่ผู้วิจัยไม่นำนิสิตส่วนนี้มาศึกษาวิจัย

2. สมาชิกชุมชน  ได้มาโดยผู้วิจัยร่วมกับประธานชุมชนฯ และประธานชมรมฯ ร่วมกันคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรแบบเจาะจง(Purposive Sampling)  ประกอบด้วย

1) สมาชิกจากชุมชนที่เป็นหน่วยหนึ่งของสังคม ได้แก่ สมาชิกชุมชนยาดองจำนวน 10 คน ที่มีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศึกษาจิตวิทยาสังคมระดับบุคคล  และสมาชิกชุมชนยาดอง จำนวน 10 คนที่มีส่วนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศึกษาจิตวิทยาสังคม ระดับคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

2) สมาชิกจากชุมชนประชาสังคม ได้แก่ สมาชิกชมรมออกกำลังกาย กีฬาลีลาศ เฟิสท์ด้านซ์  จำนวน 17 คน ที่มีส่วนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศึกษาจิตวิทยาสังคมระดับกลุ่มคน ที่มีความสนใจ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในชุมชนยาดอง หรือสมัครเข้าเป็นสมาชิกชมรมฯ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน สามารถติดต่อสื่อสาร สนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จิตวิทยาสังคมกับนิสิตได้

เกณฑ์การคัดเลือกชุมชนในฐานะหน่วยทางสังคม ที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นฐานการเรียนรู้  มี 4 ข้อ คือ

1. การเข้าถึงชุมชน ต้องสามารถเข้าถึงชุมชนได้ง่าย มีการคมนาคมสะดวก ใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 30 นาที

2. ขนาดของชุมชน มีขนาดเล็ก มีจำนวนประชากร ไม่เกิน 300 คน

3. มีกรรมการชุมชนชัดเจน มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการและมีการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนด

4. ชุมชนมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยสมาชิกชุมชนได้เข้าร่วมทำกิจกรรมด้วย

ผลการคัดเลือก ได้ชุมชนยาดอง ซอยเอกมัย ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร

ส่วนชุมชนตามรูปแบบประชาสังคม(Civil Society) ได้ชมรม 3 ชมรม ได้แก่ ชมรมออกกำลังกาย  ชมรมกีฬาลีลาศ ชมรมเฟิส์ทด้านซ์ ณ สวนลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

รูปแบบการวิจัย

เป็นการวิจัยปฏิบัติการ(Action Research)

แบบแผนการวิจัย

แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังใช้รูปแบบฯ(One Group Pre-Post Test Design) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะของนิสิตก่อนและหลังการใช้รูปแบบฯ และใช้แบบแผนหนึ่งกลุ่มเฉพาะกรณี (One-Shot Case Study) วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับสมาชิกชุมชนที่มีส่วนร่วมจัดการเรียนรู้หลังเสร็จสิ้นการใช้รูปแบบฯ

เครื่องมือวิจัย

1) เครื่องมือช่วยพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้  ประกอบด้วย

1.1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้จิตวิทยาสังคมโดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์

1.2) แผนการจัดการเรียนรู้จิตวิทยาสังคมโดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่

หน่วยที่ 1 พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับวิชาจิตวิทยาสังคม 

หน่วยที่ 2 ศึกษาจิตวิทยาสังคมระดับบุคคล 

หน่วยที่ 3 ศึกษาจิตวิทยาสังคมระดับคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

หน่วยที่ 4 ศึกษาจิตวิทยาสังคมระดับกลุ่มคน

1.3) แบบสังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายของนิสิต

เป็นแบบตรวจสอบรายการวัดทักษะกระบวนการการปฏิบัติ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ

1.4) แบบสังเกตพฤติกรรมการสะท้อนความคิดในเรื่องที่ได้กระทำและการสะท้อนการกระทำ 

1.5) แบบสัมภาษณ์เจาะลึกศึกษาจิตวิทยาสังคมระดับบุคคล

มีลักษณะเป็นแนวคำถามปลายเปิดครอบคลุมจิตวิทยาสังคมระดับบุคคล

1.6) แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์เจาะลึกศึกษาจิตวิทยาระดับบุคคล

มีลักษณะเป็นหัวข้อบันทึกผลการสัมภาษณ์ ประกอบด้วยหัวข้อคำถาม และหัวข้อคำตอบ

1.7) แบบสนทนากลุ่มศึกษาจิตวิทยาสังคมระดับคนตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป

มีลักษณะเป็นแนวคำถามปลายเปิดครอบคลุมการศึกษาจิตวิทยาระดับคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

1.8) แบบสนทนากลุ่มศึกษาจิตวิทยาระดับกลุ่มคน

มีลักษณะเป็นแนวคำถามปลายเปิดครอบคลุมการศึกษาจิตวิทยาระดับกลุ่มคน

1.9) แบบบันทึกผลการสนทนากลุ่มศึกษาจิตวิทยาสังคมระดับคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และระดับกลุ่มคน

1.10) แบบบันทึกผลการเรียนรู้ของนิสิต

มีลักษณะเป็นคำถามปลายเปิด ให้นิสิตเขียนบรรยายข้อความผลการเรียนรู้ 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านสติปัญญา 2. ด้านอารมณ์และความรู้สึก 3. ด้านด้านทักษะที่ได้จากการศึกษาจิตวิทยาสังคมในแต่ละหน่วยการเรียนรู้  และปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

1.11) คู่มือการจัดการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาสังคมโดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ สำหรับนิสิต อาจารย์และสมาชิกชุมชน

1.12) เครื่องบันทึกเสียง หรือเทปบันทึกเสียง

2) เครื่องมือที่ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้  ประกอบด้วย

2.1) แบบทดสอบความสามารถด้านสติปัญญา

เป็นแบบวัดชนิด 5 ตัวเลือก จำนวน 90 ข้อ วัดความสามารถเกี่ยวกับ 1)ความรู้ความเข้าใจ บอกอธิบายข้อมูลสถานการณ์  2) ความคิด แยกแยะเปรียบเทียบข้อมูล ความรู้ที่พบในสถานการณ์ แปลความหมายพฤติกรรม ระบุสาเหตุของพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ตัดสินเลือกวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ไขสถานการณ์และสามารถสร้างสรรค์ความรู้ใหม่จาการสรุปอ้างอิง สร้างความคิดรวบยอด หลักการ หรือวิธีการใหม่ได้

2.2) แบบสอบถามวัดอารมณ์ ความรู้สึก

เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น 3 ลักษณะ คือ 1) การควบคุมอารมณ์ความรู้สึก 2) มีค่านิยม การรับรู้ ตระหนักในคุณค่า 3) มีคุณลักษณะที่ควรแสดงออก

2.3) แบบวัดทักษะ

วัดทักษะกระบวนการจากการฝึกปฏิบัติของนิสิต 6 ด้าน คือ 1) มีทักษะการสังเกต 2) มีทักษะทางสังคม 3) มีทักษะการทำงานกลุ่ม  4) มีทักษะการแก้ปัญหา  5) มีทักษะการทำงาน 6) มีทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 45 ข้อ

2.4) แบบสอบถามผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับสมาชิกชุมชน

เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นปลายเปิด ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ความรู้สึก และด้านทักษะ

วิธีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล

ทดลองใช้กับนิสิต เป็น เวลาประมาณ 2 เดือน จำนวน 48 ชั่วโมง ส่วนการเก็บข้อมูลผลการเรียนรู้ของสมาชิกในชุมชนเก็บข้อมูล หลังจากทดลองใช้ ประมาณ 1 เดือน

1. ก่อนใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้

1.1 จัดปฐมนิเทศผู้ช่วยผู้วิจัยให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ ขั้นตอน การปฏิบัติภารกิจในฐานะผู้ช่วยผู้วิจัย เป็น เวลา 1 วัน

1.2 วัดความสามารถทางสติปัญญาของนิสิต ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที  ตอบแบบสอบถามวัดอารมณ์ ความรู้สึก ภายใน เวลา 30 นาที เมื่อ 28 มีนาคม 2550 ัญญาของนิสิต ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาทีาทหน้าที่ ขั้นตอน การปฏิบัติภารกิจในฐานะผู้ช่วยผั้ทักษะการทำงาน 6)

2. ขณะใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้

2.1 ขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน

1) รอบที่ 1 รวบรวมข้อมูลคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับนิสิต โดยสังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรม และการสะท้อนความคิดในเรื่องที่ได้กระทำของนิสิต ตามใบงานที่ 1-2

2) รอบที่ 2 รวบรวมข้อมูลคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับนิสิต โดยสังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรม และการสะท้อนความคิดในเรื่องที่ได้กระทำของนิสิต  ตามใบงานที่ 3-4

3) รอบที่ 3 รวบรวมข้อมูลคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับนิสิต โดยสังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรม และการสะท้อนความคิดในเรื่องที่ได้กระทำของนิสิต ตามใบงานที่ 5-6

2.2 ขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชน

1) รอบที่ 1 รวบรวมข้อมูลนิสิตด้วยแบบสังเกตพฤติกรรม ขณะ 1)เข้าสัมภาษณ์เจาะลึกระดับบุคคล  2) รวบรวมจากเอกสารแบบบันทึกผลการสัมภาษณ์เจาะลึกระดับบุคคลที่กลุ่มนิสิตช่วยถอดเทปบันทึกผล 3) รวบรวมขณะกลุ่มนิสิต สมาชิกชุมชนยาดองและผู้วิจัยและผู้วิจัยร่วมกันสะท้อนผล โดยแบ่งนิสิต เป็น 10 กลุ่มๆละ 5-6 รวม 52 คน สมาชิกชุมชนยาดอง 10 คน

2) รอบที่ 2 รวบรวมข้อมูลนิสิตด้วยแบบสังเกตพฤติกรรม ขณะ 1) ขณะจัดสนทนากลุ่มระดับคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป  2) รวบรวมจากเอกสารแบบบันทึกผลการสัมภาษณ์เจาะลึกระดับบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่กลุ่มนิสิตช่วยถอดเทปบันทึกผล 3) รวบรวมขณะกลุ่มนิสิต สมาชิกชุมชนยาดองและผู้วิจัยและผู้วิจัยร่วมกันสะท้อนผล ตัวแทนนิสิต 10 กลุ่ม  กลุ่มละ 1 คน เป็น 10 คน  สมาชิกชุมชนยาดอง 10 คน

3) รอบที่ 3 รวบรวมข้อมูลนิสิตด้วยแบบสังเกตพฤติกรรม ขณะ 1) จัดสนทนากลุ่มศึกษาจิตวิทยาสังคมระดับกลุ่มคน จากสมาชิกชมรม 17 คน แบ่งเป็น 2-3 คนต่อกลุ่ม ให้นิสิต 10 กลุ่มหมุนเวียนกันจัดสนทนากลุ่ม 2) รวบรวมจากเอกสารแบบบันทึกผลการสนทนากลุ่มศึกษาจิตวิทยาสังคมระดับกลุ่มคนที่กลุ่มนิสิตช่วยถอดเทปบันทึกผล 3) รวบรวมขณะกลุ่มนิสิต สมาชิกชมรมออกกำลังกาย กีฬาลีลาศ เฟิสท์ด้านซ์  จำนวน 17 คน

3. ภายหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้

3.1 ใช้แบบทดสอบวัดความสามารถด้านสติปัญญา ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที และนิสิตตอบแบบสอบถามวัดอารมณ์ ความรู้สึก ใช้เวลา 30 นาที เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2550

3.2 ใช้แบบวัดทักษะขณะทำกิจกรรมกลุ่มอภิปรายปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาวัยรุ่นในปัจจุบัน ใช้เวลา 30 นาที สรุปผลร่วมกัน 10 นาที

3.3 รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก สมาชิกชุมชนยาดอง ระหว่างวันที่ 2-9 มิถุนายน 2550 สมาชิกชมรม ระหว่างวันที่ 10-24 มิถุนายน 2550

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. วิเคราะห์ข้อมูลศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที(t-dependent test)  ข้อมูลเชิงคุณภาพ ตรวจสอบคุณภาพข้อมูล  แล้วนำไปวิเคราะห์ตามเนื้อหา(Content Analysis)

ผลการวิจัย

การสรุปผลการวิจัยได้ตอบคำถามตามวัตถุประสงค์ ทั้ง 2 ข้อ ดังนี้

1. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีกระบวนการพัฒนาในลักษณะวิจัยปฏิบัติการสร้างสรรค์ความรู้ร่วมกัน(The Co generative Action Research) ตามแนวคิดของเดวิดและมอร์เท็น(Greenwood, J Davydd & Leven Morten, 1988) 2 ระยะ เป็นวงจรวัฏจักรต่อเนื่องกัน 3 รอบ ได้แก่ 

ระยะแรก    : การให้ความหมายหรือการทำความชัดเจนกับคำถามแรกเริ่มวิจัย(รอบที่ 1)

ระยะต่อเนื่อง :  การวิจัยปฏิบัติการแก้ไขปัญหาที่ได้รวบรวมมิติต่างๆ(รอบที่ 2 และรอบที่ 3) ได้กรอบแนวคิดเชิงโครงสร้างชี้แนะแนวทางลักษณะการจัดการเรียนรู้ไว้อย่างเป็นระบบ 8 องค์ประกอบ ได้แก่

1) ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้

2) หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้

3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้

4) ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

5) สาระการเรียนรู้

6) กิจกรรมการเรียนรู้

7) การวัดผลประเมินผลรูปแบบ

8) แหล่งเรียนรู้

รูปแบบการจัดการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนเป็นวงจรวัฎจักรต่อเนื่อง

1) การประเมินความต้องการจำเป็น

2) การกำหนดเป้าหมายและวางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน

3) การมีส่วนร่วมในประสบการณ์ที่ได้วางแผนไว้ร่วมกัน

4) การสะท้อนคิด

5) การสรุปอ้างอิงแนวความคิดรวบยอด หลักการ หรือวิธีการ หรือสร้างความรู้ใหม่

6) การประยุกต์ความรู้ที่ได้ในสถานการณ์ใหม่ในชุมชน

 2. คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับนิสิตภายหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้  สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีดังนี้

ด้านสติปัญญา   :  มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ก่อนใช้รูปแบบฯอยู่ในระดับปรับปรุง

ด้านอารมณ์ ความรู้สึก : มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ก่อนใช้รูปแบบอยู่ในระดับปานกลาง

ด้านทักษะ  : ทุกทักษะมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ยกเว้นทักษะการสังเกตอยู่ในระดับมากที่สุด ก่อนใช้ทุกทักษะอยู่ในระดับเล็กน้อย ยกเว้นทักษะการสังเกตอยู่ในระดับพอใช้

3. สมาชิกชมชุนยาดอง ที่มีส่วนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้รอบที่ 1 และรอบที่ 2 สมาชิกชมรมออกกำลังกาย กีฬาลีลาศ เฟิส์ทด้านซ์  ที่มีส่วนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้รอบที่ 3 ทุกคนเกิดการเรียนรู้ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ ความรู้สึก และด้านทักษะทุกทักษะได้ด้วย ยกเว้นทักษะการทำงานกลุ่มที่สมาชิดชุมชนยาดองทุกคนในรอบที่ 1 ไม่เกิดการเรียนรู้ ส่วนรอบที่ 2 ส่วนรอบที่ 2 สมาชิกชมชนยาดองส่วนใหญ่เกิดการเรียนรู้

การอภิปรายผลการวิจัย

ผู้วิจัยนำผลการวิจัยมาอภิปรายผล ในประเด็นกระบวนการพัฒนารูปแบบได้ตรงตามจุดประสงค์ เนื่องจาก 1)มีการสร้างขึ้นมาถูกต้องตามหลักวิชาการ 2) กระบวนการพัฒนารูปแบบได้ใช้ลักษณะการวิจัยปฏิบัติการสร้างสรรค์ความรู้ร่วมกัน

ประเด็นต่อมาที่นำมาอภิปราย คือ ประสิทธิผลของรูปแบบ คุณลักษณะของนิสิตด้านความสามารถทางสติปัญญา ยังไม่สามารถพัฒนาขึ้นไปถึงระดับดีมาก ระดับดีเยี่ยมเนื่องจาก เหตุผล 2 ประการ คือ 1) การคิดอย่างมีเหตุผลในการแก้ปัญหาต้องอาศัยระยะเวลา แบบทดสอบมีเวลาให้คิดจำกัด 2) การคิดแก้ปัญหาของกลุ่มเกี่ยวกับความถูกต้องของคำตอบจะเหนือกว่าระดับปัจเจกบุคคล  ส่วนทักษะการสังเกตเกิดการพัฒนาในระดับมากที่สุด เนื่องจากได้จัดกิจกรรมให้นิสิตได้ฝึกทักษะการสังเกตซ้ำๆผ่านการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกระดับบุคคล, 2 คน และกลุ่มคน

ข้อเสนอแนะที่พบจากการวิจัย

ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลไว้ว่า  ผลจากการรวบรวมข้อมูลด้านอารมณ์ความรู้สึก และด้านทักษะที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจิตวิทยาสังคมระดับบุคคล แบบบันทึกผลการสนทนากลุ่ม ระดับ 2 คน และระดับกลุ่มคน และผลการเก็บข้อมูลด้านทักษะการทำงาน ได้ข้อมูลไม่สอดคล้องกับแบบบันทึกผลการเรียนรู้ของนิสิตและแบบสังเกตพฤติกรรมสะท้อนคิด ดังนั้น อาจารย์ผู้สอนที่ต้องการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ผล ควรมีความระมัดระวังในการเลือกใช้เครื่องมือการวิจัยที่สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิผล โดยเฉพาะการใช้การใช้เครื่องมือวิจัยหรือแบบวัดเพียงแบบเดียว อาจทำให้ได้ข้อมูลไม่ถูกต้อง และทำให้ผลการวิจัยเกิดความคลาดเคลื่อน ส่งผลต่อการสรุปผลการวิจัยที่ไม่ถูกต้องตามมาด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 373241เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2010 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นเรื่องที่ยากมากเลยค่ะ

ยังงัยขอเป็นกำลังใจให้นะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท