โรงพยาบาลห้วยแถลง
พญ. วิภา โรงพยาบาลห้วยแถลง อุทยานินทร์

สรุปเนื้อหาจากการอบรม


เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ประหยัด ปลอดภัย ไร้รอยต่อ

สรุปเนื้อจากจากการอบรม

เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ประหยัด  ปลอดภัย  ไร้รอยต่อ

ระหว่างวันที่ 21-25  มิถุนายน  2553  ณ  โรงแรมเอเชีย  กรุงเทพฯ

 

 

วันที่ 21 มิถุนายน 2553

การแพทย์ฉุกเฉิน  ประหยัด  ปลอดภัย  ไร้รอยต่อ(Emergency Medicine:Lean,Safe and Seamless)

“การแพทย์ฉุกเฉิน”  หมายความว่า  การปฏิบัติการฉุกเฉิน  การศึกษาวิจัย  การฝึกอบรม    เกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน

“ประหยัด”  หมายความว่า   ยับยั้ง  ระมัดระวัง  ในที่นี้หมายถึง  มีประสิทธิภาพแบะประสิทธิผลที่คุ้มค่า

“ปลอดภัย”  หมายความว่า  พ้นภัย  ในที่นี้หมายถึง  ไม่เพิ่มหรือเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย ผู้ช่วยเหลือ  และผู้อื่น

“ไร้รอยต่อ”  ในที่นี้หมายความว่า    การป้องกันและบำบัดรักษาในทุกขั้นตอน  สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง  สะดวก  รวดเร็ว  และทันการณ์

“รอยต่อ”  ในที่นี้หมายความว่า  ส่วนเชื่อมต่อระหว่าง  ผู้ป่วยฉุกเฉิน  ญาติ  ผู้พบเห็น  และองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในทุกระดับ

 

การแพทย์ฉุกเฉิน  จะประหยัด  ปลอดภัย  ไร้รอยต่อได้  จะต้องประกอบด้วยระบบต่างๆ  ดังนี้เป็นอย่างน้อย

1.ระบบป้องกันการเจ็บป่วยฉุกเฉิน(ทั้งในภาวะทั่วไปและภาวะภัยพิบัติ)  ซึ่งประกอบด้วยระบบการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรครวมทั้งการบาดเจ็บ  การป้องกันการกำเริบของโรครวมทั้งการบาดเจ็บ และระบบหยุดยั้งการกำเริบของโรคหรืออาการได้ทันท่วงที

2.ระบบบำบัดรักษาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน  ประกอบไปด้วย  ระบบปฐมพยาบาล  ระบบรับ-แจ้งเหตุฉุกเฉิน  ระบบรักษาพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุและการคัดแยกผู้ป่วย  ระบบเคลื่อนย้ายและส่งต่อผู้ป่วย  ระบบห้องฉุกเฉิน  ระบบเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉิน  ระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการแพทย์ฉุกเฉิน  และระบบประกันสุขภาพยามฉุกเฉินที่เป็นเอกภาพ

แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี 2553-2555

วัตถุประสงค์ทั่วไป

  • เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นฉุกเฉินให้เกิดน้อยที่สุด
  • เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินให้ได้มาตรฐานจนพ้นภาวะฉุกเฉินหรือได้รับการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงที  ทั่วถึง  และเท่าเทียม

เป้าหมายทั่วไป

อัตราป่วยตาย(Case fatality rate)  เหตุจากเหตุภายนอก  การบาดเจ็บจากสาเหตุภายนอกในทุกอายุและโรคระบบไหลเวียนเลือด ได้แก่  กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และโรคหลอดเลือดสมองก่อนวัยอันควร(น้อยกว่าอายุ 70 ปี)  ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 30

วัตถุประสงค์เฉพาะ

  • เพื่อสร้างและจัดการความรู้เพื่อรองรับการตัดสินใจเชิงนโยบาย
  • เพื่อพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านการแพทย์ฉุกเฉิน
  • เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบการป้องกันการเจ็บป่วยฉุกเฉิน
  • เพื่อพัฒนาความสามารถของประชาชนในการร้องขอความช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  • เพื่อพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินทั้งในและนอกโรงพยาบาล
  • เพื่อพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินให้พร้อมรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินในภาวะภัยพิบัติได้อย่างประสานสอดคล้องกับการจัดการภัยพิบัติโดยรวม
  • เพื่อส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรและองค์กรที่เกี่ยวข้องในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
  • เพื่อส่งเสริมการมีบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายอื่นในระบบการแพทย์ฉุกเฉินให้เข้มแข็ง
  • เพื่อพัฒนาโครงสร้าง  กลไกการจัดการและอภิบาลระบบการแพทย์ฉุกเฉินในทุกระดับให้มีประสิทธิภาพ

 

การป้องกันภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน

การป้องกันการบาดเจ็บแบ่งเป็น 3  ประเภทคือ

  1. Primary Prevention  คือการป้องกันอย่าให้เกิดการบาดเจ็บ  เช่น  การใช้ไฟจราจรแยกตามถนน  การใช้รั้วป้องกันการพลัดตก
  2. Secondary Prevention  ต้องยอมรับว่าการบาดเจ็บนั้นอาจเกิดขึ้นได้  ดังนั้นจึงควรมีวิธีป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของการบาดเจ็บ  เช่น  การใส่เข็มขัดนิรภัย  ถุงลมนิรภัย  การสวมหมวกนิรภัย
  3. Tertiary Prevention  คือ  การลดผลกระทบที่ตามมาหลังเกิดการบาดเจ็บ  โดยการจัดระบบการดูแลผู้บาดเจ็บ  เช่น  ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน  ศูนย์อุบัติเหตุ  การฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

ยุทธศาตร์ในการป้องกันการบาดเจ็บ

                การป้องกันการบาดเจ็บต้องกระทำโดยตรงต่อมนุษย์(Host)  พาหะ (Vehicle) และสภาพแวดล้อม (Environment)  โดยใช้หลักการของ 4Es  คือ

  1. Education  จุดประสงค์หลักคือให้มีการปรับเปลี่ยนนิสัย  โดยให้ความรู้ในกลุ่มเสี่ยงและสาธารณชน
  2. Enforcement  การบังคับใช้กฎหมายเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการบาดเจ็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้อย่างทันท่วงที
  3. Engineering  ยุทธศาตร์ด้านวิศวกรรมเป็นการลงทุนที่ใช้งบประมาณสูง  แต่ระยะยาวคุ้มค่า  เช่น  การพัฒนาระบบถุงลงนิรภัย  การสร้างถนน เป็นต้น
  4. Economics invention   การสร้างแรงจูงใจที่ถูกต้องสามารถช่วยเรื่องป้องกันการบาดเจ็บได้  เช่น ลดค่าประกันภัยในปีต่อไปถ้าไม่มีการเคลมประกัน

 

การดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บ มีกลวิธีในการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บ 5 ขั้นตอนดังนี้

  1. ค้นหาปัญหา(Define the problem)
  2. ค้นหาสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง(Define cause and risk factors)
  3. พัฒนาโครงการและทดสอบ(Develop and test interventions)
  4. ปฏิบัติตามโครงการ(Implement injury-Prevention strategues)
  5. ประเมินโครงการ(Evaluate impact)

 

วันที่ 22 มิถุนายน 2553

ประสบการณ์การประยุกต์ใช้แนวคิด LEAN ในทางคลินิก(รวดเร็วลดรอยต่อเพื่อผู้ป่วยอุบัติเหตุ)

Lean  เป็นหลักการที่มีประโยชน์ในการนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย  สามารถปรับลดขั้นตอนที่สูญเปล่า  สร้างมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยและส่งผลดีต่อการรักษาพยาบาล  โดยมีขั้นตอนต่างๆ  ดังนี้

  1. การเลือกหัวข้อที่ต้องการจะดำเนินการ เป็นตัวกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน  ควรเลือกหัวข้อที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
  2. การเขียนแผนผังการทำงาน (Pre-Lean stream mapping)  โดยเขียนกระบวนการดูแลผู้ป่วยทั้งหมดตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ารับบริการที่ห้องฉุกเฉินจนกระทั่งออกจากห้องฉุกเฉิน
  3. การร่วมปรึกษาร่วมกันในทีมผู้ดำเนินงาน  โดยให้มีการร่วมระบุปัญหาต่างๆ  ที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการดูแลผู้ป่วย  พร้อมทั้งเสนอแนวทางการแก้ไขที่มีความเป็นไปได้
  4. การเขียนแผนผังงานใหม่ (Lean value stream mapping)  เป็นการเขียนผังงานใหม่ให้มีความเหมาะสมมากที่สุด  พร้อมทั้งประเมินความเป็นไปได้  ในทางปฏิบัติอีกครั้ง
  5. การวางแผนดำเนินงาน เป็นการปรับเปลี่ยนผังงานใหม่ให้มีความเหมาะสมมากที่สุด 
  6. การดำเนินงาน  เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด  แจ้งเป้าหมายการปฏิบัติงานที่ชัดเจน  การเก็บข้อมูลก่อนเริ่มโครงการเพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ   การเก็บข้อมูลระหว่างการปฏิบัติงาน และการรวบรวมพร้อมจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัตงาน
  7. การประเมินผลการปฏิบัติงาน
  8. การสรุปผลการดำเนินงานโดยทีมผู้ดำเนินงาน

 

วิธีการจัดการและถ่ายทอดความรู้

ประโยชน์ของการจัดการความรู้

  • สร้างนวัตกรรม  โดยการส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่
  • เพิ่มคุณภาพการบริการลูกค้าโดยการลดเวลาการตอบกลับ
  • ลดอัตราการลาออก  โดยการให้ความสำคัญกับความรู้ของพนักงานและให้ค่าตอบแทนและรางวัลที่เหมาะสม
  • ลดเวลาการบริการและลดค่าใช้จ่าย  โดยกำจัดกระบวนการที่ไม่สร้างคุณค่าให้กับงาน
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตให้กับทุกภาคส่วนขององค์กร

กระบวนการจัดการความรู้

  1. การบ่งชี้ความรู้
  2. การสร้างและแสวงหาความรู้
  3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
  4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้
  5. การเข้าถึงความรู้
  6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
  7. การเรียนรู้

กระบวนการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลง

  1. การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  2. การสื่อสาร
  3. กระบวนการและเครื่องมือ
  4. การเรียนรู้
  5. การวัดผล
  6. การยกย่อมชมเชยและให้รางวัล

 

การเผชิญภัยพิบัติ:การยกตัวอย่างสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร

ผู้นำเสนอได้นำเสนอเนื้อหาสาระที่ครอบคลุมประเด็นคือ

  1. เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น
  2. การวางแผนรับสถานการณ์ในภาพรวม
  3. การรับข้อมูลข่าวสารในภาพรวม
  4. การประเมินวิเคราะห์ข้อมูลและข่าว
  5. การวางแผนรับสถานการณ์ของโรงพยาบาล
  6. การสร้างระบบต่างๆ  ที่เกี่ยวข้อง
  7. ปัญหาอุปสรรคแบะการแก้ไข
  8. บทเรียนและข้อค้นพบ
  9. สิ่งที่ภาคภูมิใจ

สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 2 เดือน  ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะดานการแพทย์ฉุกเฉิน  ตระหนักและให้ความสำคัญในการเตรียมพร้อมรับมือ  ซึ่งการวางแผนต้องทำให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์  ต้องใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเพราะสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

บทเรียนจากเหตุการณ์ครั้งนี้  ทำให้ได้เรียนรู้การเตรียมความพร้อมในด้านการแพทย์ฉุกเฉินและด้านที่เกี่ยวข้องที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน  อย่างไรก็ตาม  จำเป็นต้องมีการเรียนเพิ่มเติมต่อไป 

 

วันที่ 23  มิถุนายน 2553

การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างโรงพยาบาล

ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการในเรื่องระบบส่งต่อในภูมิภาค

  1. ขนาดและศักยภาพของโรงพยาบาลบางแห่งยังไม่ถึงกรอบที่กำหนด
  2. ความคาดหวังของสังคมของระบบบริการมีมากขึ้น
  3. การกระจายของบุคลากรทางการแพทย์ยังไม่เหมาะสมและขาดแคลน
  4. เตียงรองรับหรือห้องผู้ป่วยหนักมีไม่เพียงพอ
  5. การประสานงานส่งต่อเพื่อเชื่อมโยงการดูแลอย่างต่อเนื่องทั้งด้านแนวทางปฏิบัติและการติดตาม

 

แนวทางเพื่อการพัฒนาระบบส่งต่อ

  1. การเข้าถึงสถานพยาบาลอย่างมีมาตรฐานและปลอดภัย(Safety)
  2. รู้เขา  รู้เรา  รู้แนวทางปฏิบัติ  รู้ศักยภาพของสถานพยาบาลที่อยู่ข้างเคียง  ทุ่มเทร่วมกัน(Utility)
  3. การวางแผนการนำส่งทั้งขาเข้าและขาออกในแต่ละสถานพยาบาล(Lean and seamless)
  4. มีความสมานฉันท์และเออาทร  ให้บริการแก่ประชาชนเสมือนหนึ่งเป็นทีมเดียวกัน  ทั้งในระดับจังหวัดและเขต(Utility,Lean and seamless)

 

วันที่ 24  มิถุนายน 2553

การสร้างนวัตกรรมในเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

แผนหลักของการสร้างนวัตกรรม  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์กรมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

แผนหลักที่ 1  ยกระดับนวัตกรรม “สร้างธุรกิจใหม่”

แผนหลักที่ 2 ส่งเสริมวัฒนธรรมนวัตกรรม “สร้างคน”

แผนหลักที่ 3 สร้างองค์กรและระบบนวัตกรรม  “สร้างระบบ”

 

                สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ  ที่ตั้งขึ้นจากพรบ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551  ได้กำหนดแนวทางการกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคตประการหนึ่งคือ  การสร้างนวัตกรรม  พยาบาลเวชซาสตร์ฉุกเฉินจึงมีขอบเขตกว้างขวางในการสร้างนวัตกรรม  ทั้งในการสร้างความรู้ใหม่ในการปฏิบัติการฉุกเฉินตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ

 

วันที่ 25  มิถุนายน  2553

End of life  Care in ER

                ในปัจจุบันการตายของคนๆ หนึ่ง  ผู้ป่วยอาจไม่มีโอกาสสั่งเสียและยังและผู้ที่มาเกี่ยวข้องมากมายทั้งแพทย์  พยาบาล  ซึ่งมีจรรยาบรรณ  มีหน้าที่  มีความรับผิดชอบที่ต้องช่วยสุดความสามารถด้วยเครื่องมือ  ด้วยยาสารพัด  ลูกหลานก็ไม่ได้อยู่ร่วมกับผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเช่นในอดีต  ความคิดก็ต่างกันไป  ญาติบางคนก็ต้องการให้ผู้ป่วยได้ตายอย่างสงบ  บางคนต้องการให้ช่วยผู้ป่วยเต็มที่   ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นการเข้าใจผิด  หรืออาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ทรมานทางกายและจิตใจว่าจะจัดการอย่างไรกับความต้องการของผู้ป่วยจึงต้องทำความเข้าใจในเจตนาของผู้ป่วยที่ประสงค์จะตายอย่างสงบ  จึงต้องมีการแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขซึ่งจะเกิดประโยชน์คือ

  1. ผู้ทำหนังสือได้แสดงเจตนาช่วยให้ผู้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง
  2. เลี่ยงความทรมานจากการรักษาที่ไม่เป็นประโยชน์
  3. ผู้จะตายอาจจะได้บอกลา
  4. ไม่ทิ้งภาระค่ารักษาพยาบาลให้แก่ลูกหลาน

               

แผนการจำหน่ายผู้ป่วยฉุกเฉิน

การรับผู้ป่วยวิกฤตเข้าห้องฉุกเฉินง่ายกว่าการจำหน่ายผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินออกไป  ที่สำคัญที่สุดถ้ายังแก้ไขปัญหาที่ผู้ป่วยมาไม่สำเร็จ  อย่าเพิ่งปล่อยให้ผู้ป่วยออกไปจากห้องฉุกเฉิน  และที่สำคัญถ้าเรายังไม่คิดจะเพิ่มมุมมองว่าคนไข้น่าจะยังจำหน่ายไม่ได้เพราะยังมีโอกาสเสี่ยงสูง

                ในปัจจุบันผู้รับบริการต่างก็มีความคาดหวังในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้นเรื่องยๆ   และโรคที่ผู้ป่วยเป็นก็มีความยุ่งยากในการรักษามากขึ้น  ทำให้เราต้องหาทางออกหรือหาคำตอบให้กับคำถามต่อไปนี้

  1. ทำอย่างไร  ผู้ป่วยและญาติออกจาห้องฉุกเฉินแล้วกลับมาอีกด้วยท่าทีที่ยิ้มแย้มด้วยกันทั้งคู่คือทั้งเขาและเรา
  2. ทำอย่างไร  ผู้ป่วยบางรายที่จำเป็นต้องการอยู่โรงพยาบาล แต่ไม่ต้องการอยู่
  3. ทำอย่างไร  ให้ผู้ป่วยยินยอมเข้ารับการรักษา
  4. ทำอย่างไร  จึงจะป้องกันการหนีกลับโดยมาบอกกล่าว
  5. ทำอย่างไรให้ผู้เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยเสียชีวิตยอมรับได้ว่าเป็นการตายอย่าง “สมศักดิ์ศรี”

 

 

 

ผู้สรุปนื้อหาการอบรม

นายพสิษฐ์  วิริยะสิริกร

นายสมโภชน์  สังสีแก้ว

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 373190เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2010 08:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท