โสภณ เปียสนิท
นาย โสภณ เปียสนิท ตึ๋ง เปียสนิท

หลักธรรมคำคมข้อคิดชีวิตรักจากแดจังกึม 16


หลักธรรมคำคมข้อคิดชีวิตรักจากแดจังกึม 16
โสภณ เปียสนิท
........................................
“จงอย่าโกรธเกลียดใคร ถ้ารู้สึกเกลียดผู้อื่น ที่ต้องพิษก่อนก็เป็นตัวเจ้า ก่อนจะลามไปหาผู้อื่น พิษเหล่านั้นจะทำลายหัวใจของเจ้าก่อนเป็นแน่” (แดจังกึม/หน้า62/เล่ม3)

 

หลักการของพุทธศาสนาว่า “การฆ่าความโกรธเสียได้เป็นสุข” สำนวนหลวงพ่อพระพยอมก็ว่า “เกลียดคือโง่ โมโหคือบ้า ชังน้ำหน้าเขา ก็เท่ากับจุดไฟเผาใจเราเอง” คนมักโกรธใช้ความโกรธเป็นกำลัง นึกว่าเมื่อแสดงความโกรธแล้วจะมีอำนาจ ทำให้การงานสำเร็จ แต่เปล่า ความโกรธจึงเป็นเหมือนไฟเผาลนตัวเองและคนรอบข้าง การฆ่าความโกรธทำได้ง่ายๆ ด้วยการแผ่เมตตา เช่น โกรธเขาทำไม อีกไม่นานทั้งเขาและเราก็เจ็บ ก็แก่ ก็ตายเหมือนกัน หรือโกรธทำให้แก่เร็ว หรือ ชาติไหนๆ ที่ผ่านมาเราก็โกรธ ชาตินี้เราก็โกรธอีก ชาติต่อไปเราก็โกรธอีก เราจะโกรธแล้วโกรธอีกไปอีกนานเท่าใด
“ทั้งหมดบนดินล้วนแต่เป็นสมุนไพร มิใช่หรือ? จงอย่าพยายามสิ่งที่มองไม่เห็น จงหาที่อยู่นัยน์ตาของเจ้า จำไว้ว่า สิ่งที่หาได้ง่ายที่สุดเป็นสมุนไพรที่ดีที่สุด”  (แดจังกึม/หน้า63/เล่ม3)

 

                ช่างเป็นคำที่คล้ายคลึงกับคำของหมอชีวกโกมารภัจ หมอประจำพระพุทธองค์ตอนที่อาจารย์แพทย์ให้เดินหาทั่วป่าว่ามีต้นไม้ใดไม่อาจทำเป็นยาได้บ้าง แต่หมอชีวกกลับมาด้วยความผิดหวัง และรายงานอาจารย์แพทย์ว่า ไม่อาจหาต้นไม้ต้นหญ้าที่ทำยาไม่ได้แม้สักต้นเดียว
“แต่เนื่องจากมีธรรมเนียมการบูชางู ทำให้ไม่สามารถฆ่าหรือแตะต้อง งูจึงทวีจำนวนขึ้นมาก” (แดจังกึม/หน้า66/เล่ม3)

 

                ธรรมเนียมนี้เหมือนกับการบูชางูบูชาพญานาคในประเทศอินเดีย เมืองไทยนิยมการบูชาพญานาค โดยถือคติว่า นาค (งูใหญ่ประเภทหนึ่ง) เป็นสัตว์กึ่งเทพอาศัยอยู่ตามน้ำถ้ำป่าเขา สามารถทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลได้ และอาจดลบันดาลให้ผลดีร้ายแก่ผู้พบเห็นได้อย่างกว้างขวาง
“แม้มิได้ยินคำขอบคุณ แต่หลังเหตุการณ์วันนั้น ชังตอกเริ่มยอมรับจังกึมมากขึ้น ทั้งเริ่มให้ติดตามไปรักษาผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งเริ่มพาออกไปขุดหาสมุนไพร ตลอดทั้งฤดูใบไม้ผลิ ขณะเดินตามชังตอกไปมาตามป่าเขาจังกึมได้เริ่มก้าวเข้าสู่โลกแห่งการแพทย์โดยไม่รู้ตัว” (แดจังกึม/หน้า66/เล่ม3)

 

                ชังตอกหมอหญิงแห่งเกาะเชจูโดซาบซึ้งใจที่จังกึมแม้ภายนอกดูกระด้าง แต่กลับช่วยเหลือกำจัดงูทำให้เธอรอดตาย เธอเห็นความดีงามของจังกึมและยอมรับ โดยให้โอกาสแก่จังกึมเป็นผู้ช่วย คล้ายเป็นศิษย์ศึกษาหาความรู้ทางการแพทย์อย่างไม่เป็นทางการ จังกึมใช่โอกาสนี้ศึกษาวิชาแพทย์อย่างดื่มด่ำจนความรู้เพิ่มมากขึ้น
“...อายุของเจ้านั้น หากเปรียบกับต้นไม้ ย่อมเป็นยามออกดอกมิใช่หรือ? แต่กลับมิมีผู้ชายหากไม่มีผู้ชายย่อมไม่อาจมีบุตร สตรีโดยทั่วไป แม้ดอกร่วงโรยจนสิ้น แต่ยังมีสามีและบุตรเป็นใบไม้ต่อไป ส่วนเจ้ามีสิ่งใดเป็นใบไม้แห่งชีวิต?” (แดจังกึม/หน้า69/เล่ม3)

 

                ทัศนคติของคนในโลกมองชีวิตว่ามีวงจรไปตามครรลอง เมื่อเกิดมาแล้วศึกษาเล่าเรียน ทำการงาน แต่งงานมีสามี แล้วมีบุตรสืบสายโลหิตก่อนตายจากไป ส่วนจังกึมกลับมีชีวิตที่ต่างไป เพราะไม่อาจมีสามีเนื่องจากยังคิดว่าตนมีตำแหน่งนางวัง เป็นหญิงที่มีพันธะอยู่กับจักรพรรดิ ไม่อาจแต่งงานกับใครได้ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีดอก น่าเชยชม แต่กลับไม่มีผู้เชยชม ขาดบุตรหลานสืบต่อวงศ์ตระกูล
“...อาหารนั้นต่อให้ปรุงดีอย่างไรก็มิอาจรักษาชีวิตคนได้ ตรงข้ามที่คร่าชีวิตนั้น มิใช่อื่นใด นอกจากอาหาร” (แดจังกึม/หน้า70/เล่ม3)

 

                ข้อความนี้สอนให้มองสรรพสิ่งสองมุมเสมอ “สิ่งใดมีคุณมักมีโทษคู่มาด้วย” เหมือนเช่นอาหารที่แม้จะได้รับการปรุงรสอย่างดี แต่ก็เป็นไปเพื่อบำรุงร่างกายให้ดำรงอยู่ชั่วระยะเวลาอันเหมาะสมเท่านั้น ไม่นานนักก็ร่วงโรยเสื่อมถอยไป แต่หากผู้ปรุงและผู้รับประทานไม่ระมัดระวัง อาหารอาจกลับกลายเป็นผู้ร้ายทำลายคนผู้หลงในรสชาติได้อย่างง่ายดาย
“...ทางเดินที่มองเห็นได้ลาดลงสู่หุบเหวแล้ว เช่นนั้น จะเบิกทางเดินที่มองไม่เห็นได้เช่นไรกัน?” (แดจังกึม/หน้า71/เล่ม3)

 

                ชีวิตของจังกึมช่วงเวลาที่เป็นทาสกวานบี (เก็บขี้ม้า) ที่เกาะเชจูโดระยะแรกเหมือนมืดมิดอับจนหนทาง มองไปข้างหน้าไม่เห็นจึงเหมือนมีปลายทางลาดลงสู่ที่ต่ำ หนทางใหม่ที่จะอาศัยก้าวเดินก็ยังมองไม่เห็น ความรู้สึกนึกคิดจึงเหมือนตีบตันมองไม่เห็นทางออกใดๆ
“...ยิ่งขึ้นที่สูง ดอกไม้มีขนาดเล็กลง แต่กลับยิ่งมีสีสันมากขึ้น” (แดจังกึม/หน้า71/เล่ม3)

 

                เนื้อความในหนังสือชวนชี้ให้เห็นแง่มุมอีกด้าน ดอกไม้ในที่สูงมีขนาดเล็กลง และแถมยังมีสีสันสวยงามมากยิ่งขึ้น มองเห็นการปรับตัวของสรรพสิ่งในโลก แม้ดอกไม้ยังมีการปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสม ชีวิตคนก็เช่นกัน ควรปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสม
“...ทั้งมิเคยทราบว่า สมุนไพรเหล่านี้สามารถเข้าในร่างคน ก่อให้เกิดสรรพคุณมากมายเพียงนี้ แม้วัยเด็กที่เรียกได้ว่า กินนอนในป่าเขา ที่เห็นเข้าตามีเพียงสัตว์ป่า หรือดอกไม้เท่านั้น” (แดจังกึม/หน้า72/เล่ม3)

 

                หลักแห่งกรรม (คือการกระทำ) ในพุทธศาสนาเป็นเรื่องจริงที่เข้าใจง่าย ในวัยเยาว์จังกึมเข้าป่าสนใจสัตว์ป่าและดอกไม้ มองเห็นแต่สองสิ่งนั้น ยามนี้ตามหมอหญิงเข้าป่าจึงเห็นสมุนไพร พนักงานเก็บขยะ มักมองหาแต่ขยะ ช่างตัดผมมองศีรษะคนแล้วมักคิดว่าควรตัดผมทรงไหนอย่างไร อาการอย่างนี้คือผลของกรรมที่คนทำสิ่งใดหนักเข้า จะถนัดและคุ้นกับการกระทำนั้น ด้วยความเคยชิน
“...ที่ยื่นขึ้นจากแผ่นดินเป็นเขา ที่ยื่นขึ้นจากผืนน้ำเป็นเกาะ เส้นทางลงจากภูเขาอย่างไรก็ทอดลงผืนน้ำ ต่อให้ขึ้นมาสูงเพียงใด มองไปผืนน้ำก็ไม่มีที่สิ้นสุด” (แดจังกึม/หน้า73/เล่ม3)

 

                นึกภาพตามมุมมองของจังกึมที่ขึ้นไปอยู่บนยอดเขามองลงไปด้านล่าง เห็นภาพภูเขาคือที่จังกึมยืนอยู่ เห็นเขาที่อยู่กลางน้ำ มองเส้นทางที่ตัวเองเดินหรือไต่ขึ้นมาที่ทอดตัวคดโค้งลดหลั่นลงไปตามไหล่เขาถึงผืนน้ำทะเลสีคราม ยิ่งขึ้นสูงยิ่งมองเห็นได้ไกล อ่านแล้วเกิดจินตนาการตามตัวละครได้ดี
“เช่นนั้น ทาสกับแพทย์ต่างกันอย่างไร?  ...หนึ่งนั้นหุงข้าวซักผ้าไปจนแก่ตายอีกหนึ่งนั้นช่วยคลายทุกข์ทรมาน บางครั้งก็รักษาชีวิตให้ผู้คน ไม่แน่ว่าไปรับใช้ในงานเลี้ยงจนได้เป็นบ้านเล็กของขุนนาง” (แดจังกึม/หน้า74/เล่ม3)

 

                หลักความคิดของชังตอก หมอหญิงบนเกาะช่างแหลมคมนัก เป็นที่พึ่งทางปัญญาให้แก่จังกึมยามท้อแท้ไร้ปัญญา แต่ได้หมอหญิงช่วยชี้นำ คนเราต่างกันตามหน้าที่ คนมีปัญญาย่อมเลือกบทบาทหน้าที่ของตนตามคุณค่าของงาน จังกึมได้ฟังแล้วเกิดปัญญาแจ่มชัดและเลือกเป็นแพทย์หญิง เพราะเห็นบทบาทและคุณค่า เพราะได้มีโอกาสช่วยเหลือผู้คน และ “การช่วยเหลือผู้อื่นนับเป็นบุญอันสูงส่ง”
“...ช่วยคลายทุกข์ทรมาน บางครั้งก็รักษาชีวิตให้ผู้คน จังกึมดูราวกับหาทางเดินได้พบ ไม่แน่ว่านี่อาจเป็นเหตุผลให้เหยียบน้ำข้ามทะเล กลับไปแผ่นดินใหญ่ได้อีกครั้ง” (แดจังกึม/หน้า74/เล่ม3)

 

                เมื่อได้ฟังคำของหมอหญิง จังกึมเกิดปัญญามองเห็นหนทางใหม่ที่มืดมิดอยู่นาน บัดนี้เส้นทางสายใหม่ทอดยาวแจ่มชัดสว่างไสวสวยงาม แต่แม้มีเส้นทางให้เดินได้อย่างนี้ ก็มิใช่ว่าทุกคนจะสามารถเดินไปได้อย่างง่ายดาย แม้จังกึมต้องใช้ความมานะพยายามอย่างสุดกำลัง เป้าหมายเด่นชัดคือการได้กลับคืนแผ่นดิน และวังหลวงถิ่นที่จากมาเมื่อหลายปีก่อนด้วยความระทม
“...มือข้างหนึ่งที่เคยหั่นผักเปลี่ยนเป็นมือที่บดตำสมุนไพร มืออีกข้างที่เคยปรุงอาหารเปลี่ยนเป็นมือที่สัมผัสร่างผู้ป่วย กลางคืนศึกษาจากตำราการแพทย์ กลางงวันศึกษาจากการรักษาผู้ป่วย” (แดจังกึม/หน้า76/เล่ม3)

 

                ความคิดเปลี่ยนไป บทบาทหน้าที่เปลี่ยนไป สถานที่เปลี่ยนไป ชีวิตก็เปลี่ยนไปด้วย เมื่อชีวิตมีความหวัง ความฟุ้งซ่านที่บงการให้คอยหลบหนีไปจากเกาะ ก็หมดไป อีกครั้งที่ให้แง่คิดมุมมองถึงการดำรงตนในโลกต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปอย่างไร ความมุ่งมั่นพยายามไม่ควรเปลี่ยน จังกึมยังศึกษาทั้งกลางวันและกลางคืน
หมายเลขบันทึก: 373135เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2010 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 13:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เรียนท่านอาจารย์โสภณ

     มานั่งดูหนังต่อค่ะอาจารย์ วันนี้สติดีปานกลางค่ะ อิอิ

มาเร็วนะครับคุณยาย

สมัยผมเป็นวัยรุ่นตอนปลายชอบอ่านเพชรพระอุมา

สมัยตอนชราชอบอ่านแดจังกึม

ทั้งสองเรื่องมีข้อหนึ่งที่คล้ายกัน

ในความรู้สึกของผม

คุณยายว่า "ด้านไหนครับที่คล้ายกัน"

นั่นแน่ เล่นถามคำถามยากแล้วครับบบบบบ

มาชม

อ่านแล้วเห็นสัจธรรมคำคม ๆ นะครับผม

สวัสดีครับ มาเรียนรู้หลักธรรมคำสอนที่มีประโยชน์ครับ

แม้ผมเป็นชาวพุทธ แต่ผมชอบมุสลิม

แต่ไม่ชอบฝ่ายที่ชอบความรุนแรงนะครับ

ชอบตรงที่เขาทำละหมากวันละห้าครั้ง

อยากให้ชาวพุทธไหว้พระวันละห้าครั้งบ้างจังเลยครับ

คุณเบดูอิน

สวัสดีครับอาจารย์

เเวะมาอ่านสาระดีๆ สัจธรรมของชีวิตครับ พร้อมเอาดอกคูณสวยๆมาให้กำลังใจครับ

  • เพลงโปรดอาจารย์(หรือเปล่า)
  • ฮ่าๆๆ

เพลง Eternal Frame

http://khajit.multiply.com/video/item/7/External_Flame_.mp3

ใบงานเพลงEternal Frame

http://gotoknow.org/file/khajitfoythong/eternalframe.doc

Key เพลง Eternal frame

http://gotoknow.org/file/khajitfoythong/KeyEternalframe.doc

เรียนคุณพิธากร

ส่งดอกคูณสีเหลืองมาให้ชมสวยมาก ขอให้นึกว่า เป็นการบูชาธรรมของพระพุทธเจ้าก็แล้วกัน เพราะหลักธรรมที่นำมาเขียนนั้น พระพุทธเจ้าสอนไว้ ผมเพียงอ่านและลองปฏิบัติดูบ้างเล็กน้อย และนำเผยแพร่ ตามหลักที่ว่า "ให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง" เห็นดอกไม้สีเหลือง นึกถึงเรื่องในพระสูตรที่เพียงคิดว่าจะนำดอกไม้ไปบูชาพระ ยังไม่ทันได้บูชาก็ตาย ตายแล้วไปสวรรค์ทันที ขอให้คุณได้อานิสงส์นั้นด้วยนะ สาธุ โปรดติดตาม เรื่องมีดังนี้.......ยังมีหญิงผู้หนึ่งมีปกติอยู่ในเมืองราชคฤห์มีจิตศรัทธาปรารถนาจะบูชาพระบรมธาตุ ได้เที่ยวแสวงหาดอกไม้ก็เจอดอกโกสาตกีอันมีสีเหลืองสดใส ภาษาไทยแปลว่าดอกบวบ นางก็ชื่นชมโสมนัสหรรษานำดอกไม้นั้นมาออกจากบ้านด้วยความศรัทธาปสาทะที่จะได้บูชาพระพุทธเจดีย์ ครั้งนั้นยังมีวัวแม่ลูกอ่อนพาลูกสัญจรมาตามมรรคาวิถี ก็ขวิดนางกุมารีล้มลงในมรรคา นางก็ทำกาลกิริยาตาย ยังไม่ทันเดินไปถึงทันได้ไหว้พระเจดีย์ ครั้นดับจิตลงด้วยอานิสงส์ที่นางมีเจตนาแก่กล้าจะไปไหว้ทำพุทธบูชาพระมหาเจดีย์ ด้วยกุศลจิตนี้จึงนำให้นางไปอุบัติบังเกิดเป็นนางฟ้าอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีเทพธิดาพันหนึ่งเป็นบริวาร เทพยดาทั้งหลายจึงได้เรียกนางว่า นางโกสาตกีเทพธิดา มีรูปอันงามโสภาน่าพึงชม อุดมไปด้วยสิริลักขณา มีอำนาจวาสนาอยู่ในภูมิอันเป็นทิพย์ ก็ด้วยผลจากที่มีจิตคิดจะไปบูชาพระบรมธาตุเจดีย์......

จากเว็บ http://palapanyo.com/files/anisong/dbucha.html

ต้องขอขอบคุณท่านอาจารย์ขจิตที่ส่งเพลง "ไฟรักร้อน" มาให้ฟังครับ

อ่านแล้วได้ข้อคิดมากค่ะ

จะนำ(หลักธรรม ข้อคิด ชีวิตรัก จากแดจังกึม)ไปปรับใช้ในการดำรงชีวิต

เพื่่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อคิดดีๆ

เป็นกำลังใจให้อาจารย์สร้างสื่อดีๆอย่างนี้ต่อไปนะคะ

อีกหนึ่งบันทึกสิ่งที่สะกิดใจ " ความคิดเปลี่ยน ชีวิตเปลี่ยน" ในทางดีหรือหรือเลวขึ้นอยู่กับการคิดนั้นๆ

เรียนคุณอุ้มบุญครับ

นิยายเรื่องนี้ผมอ่านแล้วประทับใจสุดๆ เพราะอ่านแล้วได้ทั้งอรรถรสและคุณธรรม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท