ประสบการณ์ดี ๆ ที่บ้านเหมาะ


คิดก่อนทำ ทำ ทำ ทำแล้วคิด คิด คิด ทำซ้ำ ๆ เกิดทักษะ

  ตอนที่ 3

การเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของบ้านคลองนูน

โดย นิพันธ์  ดำเนินผล

           ลุงจรูญ  แห่งบ้านคลองนูน พร้อมด้วยสมาชิกกองทุนหมุนเพื่อการเกษตร ไปศึกษาดูงานที่กลุ่่มธนาคารหมู่บ้านบ้านเหมาะ ต.เหมาุะ อ.กะปง จ.พังงา โดยมีนายธวัชชัย อริสโร ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน และนางสาวนิพันธ์  ดำเนินผล ผู้ประสาน

           22  สิงหาคม  2548  คณะผู้ศึกษาดูงานได้ไปศึกษาดูงานกลุ่ม ธนาคารหมู่บ้าน บ้านเหมาะ ได้พบกับคุณลุงบุญลาภ พิรมณ์  เป็นผู้จัดการธนาคาร ตัวอาคารสำนักงานมีความสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย เมื่อคณะได้เข้าไปในห้องได้พบกับความเย็นฉ่ำของเครื่องปรับอากาศและคุณลุงบุญลาภ ที่คอยต้อนรับคณะด้วยความอบอุ่น คุณมีเวลาให้พวกเราไม่มากนัก แต่พวกเราก็ได้รับความรู้จากคุณลุงอย่างมากมาย พอสรุปได้ว่า

           การกำเนิดก่อตั้งของธนาคารของคุณลุงเริ่มมาจากการฝากเงินออมทรัพย์ของสมาชิกกลุ่มเพื่อนำไปให้สมาชิกกู้ยืม ในวันแรกที่ระดมทุนมาจากเงินทุนของญาติพี่น้อง  รวมได้ 700,000 กว่าบาท นำมาให้สมาชิกกู้ยืมในวันเดียว ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มของลุงจรูญมาก  กลุ่มของลุงจรุญมาจากผู้ยากจน ปัจจุบันนี้กลุ่มลุงบุญลาภ เป็นธนาคารหมู่บ้าน มีเงินออมและเงินหุ้นประมาณ 30 ล้านบาท มีการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม เช่น ปั๊มน้ำมัน ทำสวนปาล์ม เป็นกลุ่มที่เข้มแข็ง และคุณลุงยังได้ให้ความรู้อื่น ๆ อีกมากมาย พอสรุปได้ดังนี้

            1. หลัการรวมกลุ่มมาจากญาติพี่น้อง

            2.  การวางแผน คือการทำงานของคุณลุงต้องมีแผนงานชัดเจน

            3. หลักการอยุ่ร่วมกัน มีสวัสดิการ ทำงานอยู่อย่างพี่อย่างน้อง

            4.  ความโปร่งใส มีความซื่อสัตย์ สุจริต ทุกคนมีความจริงใจตั้งใจ

             ข้อคิดอีกอย่างหนึ่ง ที่คุณลุงบุญลาภได้ให้ไว้ว่า คนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน จะต้องหมุนเงินที่มีอยู่ทำให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มและหมุ่บ้าน และอีกอย่างคือ เงินเป็นของล่อใจ ลุ่อตา อย่าไว้ใจตนเอง ต้องสร้างระบบการควบคุมให้ชัดเจน ไม่ใช่ "เงินไม่มีบัญชียัง" 

             หลักการทำงานในชีวิตจริงของคุณลุงบุญลาภได้ีชี้แนะไว้ว่า "คิดก่อนทำ ทำ ทำ ทำ แล้ว คิด คิด คิด ทำซ้ำ ๆ  เกิดทักษะ"  ก่อนที่คุณลุงจะจบคำบรรยายความรู้คุณลุงได้ให้ข้อคิดไว้สำหรับผู้ที่ประสบผลสำเร็จไว้เรียกว่า "ตัวชี้วัดคน"  มีดังนี้

            ตัวชี้วัดที่ 1  อาย  คนที่ประสบผลสำเร็จของชีวิต ต้องมีอายุเกิน 72 ปี

            ตัวชี้วัดที่  2  วรรณะ  หมายถึง  วรรณะตามอินเดีย ต้องมีฐานะ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น วรรณะตามอินเดียคือ วรรณะกษัตริย์  พราหมณ์  แพทย์  สูตร จันทาล

             ตัวชี้วัดที่ 3  สุข  หมายถึง  ความสุขที่เกิดมาได้มาอยู่ในระดับที่ดี

             ตัวชี้วัดที่ 4  พละ  หมายถึง มีพละกำลัง สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย

             ตัวชี้วัดที่ 5  ปฏิภาณ  หมายถึง ความรู้วิชา เป็นที่เคารพ กราบไหว้ ของลูกหลานและให้ความรู้แก่ผุ้อื่นได้

              จากช่วงระยะเวลาอันสั้น ๆ    แต่ทางคณะของลุงจรูญ  ก็ไ้ด้รับความรู้อย่างมากในการมาเืยือนกลุ่มของคุณลุงบุญลาภในครั้งนี้ กลุ่มของผู้มาเยือนจะำนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มคนจนผุ้ยิ่งใหญ่แห่งบ้านคลองนูนต่อไป

 

คำสำคัญ (Tags): #บันทึกกิจกรรม#km
หมายเลขบันทึก: 3731เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2005 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท