Soft Side Management


แอมมี่ ไปอ่านพบเรื่องนี้จากเว็บไซต์นึง เขียนโดยท่านอาจารย์ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ เกี่ยวกับการบริหารจัดการแบบ Soft Side Management ค่ะ

 

Avatar หนังแนว LO & KM ชัดๆ
ผม เขียน ลง วารสาร Productivity World ฉบับหน้า


ดู Avatar แล้ว จะเข้าใจ Soft side Management มากขึ้น

ผมอยากแนะนำให้ ท่านผู้อ่านได้มีโอกาส ไปดู ภาพยนต์ ที่ หลายคนถ้าไม่รู้จักการบริหารแนวสมดุล Hard & Soft side ก็คงจะ ได้แต่ ความมันส์ เท่านั้นเอง

หลายคนก็บอกว่า หนังเรื่องนี้ เป็น พล็อตเรื่องเดิมๆ แนว ทหารม้าอเมริกา เข้าไปถล่มชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกันอินเดียน ไม่เห็นจะแปลกเลย

ต่ ผม ชมภาพยนต์เรื่องนี้ แล้ว แทบจะร้องดังๆว่า “มาแล้ว … “ หนังสือทุกเล่มที่ผมได้เขียนๆเอาไว้ แทบจะโดนหนังเรื่องนี้ นำเอามาอธิบายได้อย่างสนุกสนาน

แนวการบริหารแนวสมดุลชีวิตกำลังมาแล้ว น่าสงสัยผู้บริหารในประเทศไทยหลายคน ที่ยังไม่ขยับความคิดเลยว่า แนวการบริหารแบบเดิมๆ ของตน ตกเทร็นด์ (Trend) เสียแล้วนะ

ผู้บริหารแนวงกๆเค็มๆ บ้า KPI จิกหัวพนักงานใช้ เห็นคนเป็นหมากตัวหนึ่งบนกระดานแข่งขัน ไม่เห็นคนเป็นคน คงต้องสำรวจตนเองมากขึ้นได้แล้ว

ชาวบ้าน และ ชุมชนในประเทศไทย คงไม่เสียรู้ ปล่อยให้นายทุนต่างชาติ มาสร้างโรงงาน แล้ว ทิ้งมลภาวะ โดย ผู้บริหารงกๆเค็มๆ ของไทยเรา ทำหน้าตาเฉยอ้างว่า “ก็ผม ทำตามกฏหมาย” ได้อีกแล้ว

ข้อสังเกต ที่ได้ จาก หนังเรื่อง อวตาร ในมุมของนักบริหาร ที่ผมคิดๆ เอาไว้คร่าวๆ เช่น

ก) การบริหารสมัยใหม่ ใช้ แนวคิดเชิง “อยู่รอด + อยู่ร่วมกัน + อยู่อย่างมีความหมาย” ไม่ใช่ ฉันรอดคนเดียว ฉันมีเงิน พรรคพวกฉันร่างกฏหมายเอง ฉันมีปืน ฉันมีอำนาจ ฯลฯ “ฉันอยากได้อะไร ฉันต้องได้” ซึ่ง คำพูดแบบเห็นแก่ตัว หรือ มองไม่เห็นตนเอง มองไม่เห็นคนอื่น ปรากฏในหนังเรื่อง “อวตาร” นี้ บ่อยมาก

เนื้อหาในหนัง แสดงให้นึกถึงว่า พวกเราชาวโลก เป็น ตัวประหลาด เป็นสัตว์ที่เรียนรู้ได้ยาก ทำลายดาวโลกของตนเอง แล้วยกพวก มาบุกรุก ดาว “แพนโดร่า” ที่มีแร่ธาตุราคาแพง และ มี “วัฒนธรรม” (Culture) ซึ่งเจ้านายงกๆเค็มๆ มองไม่เห็นความสำคัญ เพราะ พวกชนเผ่าของดวงดาวแพนโดร่านั้น เรียนรู้และสมดุลกับธรรมชาติได้ดียิ่ง ทำให้นึก ถึง ภาพนายทุน ที่บอกว่า ที่ดินตรงนี้เหมาะกับการทำโรงงาน แล้วก็ ไล่ชาวนา ออกไปจาก ผืนดินที่เหมาะกับการทำนาที่สุดในโลกออกไป ไล่ชาวประมงออกไป ไล่ชาวบ้านออกไป เพราะที่ ตรงนี้ สามารถ ส่งพลังงานไปให้ คนใน เมืองใหญ่ได้ใช้ แต่ ชาวบ้านตรงนี้ต้อง “เสียสละ” เจอมลภาวะหน่อยนะ

ในหนังอวตาร อดีตนางเอก ซีโกนี่ วีฟเวอร์ ได้ บอก พวกผู้บริหารมืออาชีพว่า “แร่ราคาแพง ที่ต้องแลกมาด้วย การตัดไม้ใหญ่ การฆ่า หรือ ขับไล่ชนพื้นเมือง มีค่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับ ชุดความรู้ ที่เรากำลังจะได้ จากธรรมชาติ” เพราะ ต้นไม้ใหญ่นั้น เปรียบเสมือน เครือข่าย (Network) ที่เชื่อมโยงกับต้นไม้ทุกต้นบนดวงดาวแพนโดร่า ธรรมชาติพัฒนาไปไกลกว่าวิทยาศาสตร์ปัจจุบันจะเข้าถึง การที่จะทำลายระบบนิเวศน์ตรงนั้น เพียงเพื่อขนแร่ธาตุราคาแพง เป็นแค่ ความ “มักง่าย” หรือ “ฉลาดแต่ไม่เฉลียว”

สุดท้าย ผู้บริหาร ที่มาแนว Hard side สุดโต่ง อ้าง KPI และ BSC ว่า ต้อง “เอาแร่นั้นมาให้ได้” เป็นคำสั่งจากเจ้าของธุรกิจ “เราต้องได้ ในสิ่งที่เราต้องการ” พวกเขา จึงส่ง ทหารรับจ้าง เข้าไป กวาดล้าง ชนเผ่านาวี (Navi) ทั้ง เด็ก ชรา ผู้หญิง ตายไปมากมาย

นึกถึง ผู้บริหาร งกๆเค็มๆ ที่ ฉันต้องได้ตาม KPI ของฉัน บันทัดสุดท้ายของฉัน คือ กำไร พนักงานคนไหนจะเดือดร้อน ทำงานกะติดกัน ฯลฯ พร้อมทั้ง มี ทัศนคติ แบบ งกๆเค็มๆ เช่น เจ็บป่วยก็ไปเบิกค่ารักษาเอา ใครทำไม่ได้ก็ลาออกไป มีคนอยากมาทำแทนมากมาย งานมาก่อนครอบครัว บริษัทต้องได้ตามเป้าหมายอย่ามาอ้างว่าลูกเมียไม่สบาย เงินของฉันแลกอวัยวะของเธอ (เจอ สารพิษ ทั้งวันในโรงงาน) ฉันทำตามกฏหมาย สารพิษ อยู่ในค่าที่กฏหมายอนุญาต ฯลฯ

๒) “เจค” ชื่อของพระเอก เป็น อดีตทหารนาวิกโยธิน แต่ พิการขาทั้งสองข้าง ถูกส่งมาทำงานแทนพี่ชาย ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ในโครงการ Avatar คือ ถอดวิญญาณของตน ลงไปใน ร่างมนุษย์ผสมร่างชาวนาวี เพื่อเอา ร่างที่เหมือนชาวนาวีนี้ ไป “ลวง” ความลับ ไปศึกษาพฤติกรรมของชาวนาวี หา “จุดอ่อน” เพื่อ จะได้ เอาไป วางแผน ย้อนมาจัดการชาวนาวี

นึกถึง ฝรั่ง ญี่ปุ่นมากมาย ที่ ทำเป็นมาวิจัย อาจารย์ แพทย์ สอนศาสนา ฯลฯ ที่เราไม่มีทางรู้เลยว่า ใครมาล้วงข้อมูลเรา สุดท้าย สมุนไพรไทย ภูมิปัญญาไทย โดนต่างชาติเอาไปจดทะเบียน (patent) อย่างที่ คนไทย “ได้ ไม่คุ้มเสีย”

แต่ เผอิญ เจค เป็นคนที่ มี “จิตวิญญาณ” ยิ่งเข้าไปใกล้ชิด ชาวนาวี ก็ เรียนรู้อะไรมากมาย เป็นแบบ Learn how to learn เจคพบว่า ชาวนาวี “เข้าใจ” ธรรมชาติ และ มี วิถีชีวิต แบบ สมดุลกับธรรมชาติมากๆ ไม่ทำลายร้างแบบมนุษย์จากดาวโลก

เจค หลงป่าตอนกลางคืน จากที่เคยเรียนมา
เจคจุดไฟ พอจุดไฟ เขาก็พบว่า มีหมาป่ามากมายรายล้อมเขา ด้วยความกลัว หรือ ที่ผม เรียกว่า เข้าโหมดต่อสู้ จิตเกิดอาการ ความคิดเฉโก ปรุงแต่ง มีอคติ ต่อสัตว์ ที่ เขาคิดว่าร้าย เจค กลัดแกว่งคบเพลิงไปมา ขับไล่เหล่าหมาป่า แต่ ผลของการทำเช่นนั้น เป็นการเข้าใจธรรมชาติผิดหมดเลย เหล่าสุนัขก็เลยตกใจ เข้าโหมดต่อสู้เช่นกัน สุนัขป่า จึงรุมกัดเจค และ บางตัว ก็บาดเจ็บ จนกระทั่ง นางเอกชาวนาวี ก็เข้ามาช่วย และ ง่ายๆเลย คือ “ดับไฟ” สุดท้ายหมาป่า ก็จากไป

๓) มีหลายฉาก ที่ แสดงให้เรื่อง การเชื่อมโยง (Connect) เราฆ่าสัตว์หนึ่งตัวเท่ากับเราฆ่าตัวเราเอง เรากับธรรมชาติเชื่อมโยงกัน

ฉาก พระเอก ใช้ หางเปีย เชื่อมโยงกับ เส้นผมของม้าป่า และ ขนของนกอินทรีป่า เป็นการเชื่อม “ใจ สู่ ใจ” ไม่ใช่ แบบ ฉันเป็นนาย เธอเป็นบ่าว ใน องค์กรของผู้บริหารงกๆเค็มๆ ทั่วไป

ถ้าเป็นการบริหารสมัยใหม่ เรียกว่า “เชื่อมใจ” กับ พนักงาน ไม่ใช่ เอา เงินมาฟาด เอาโบนัสมาล่อ ซึ่ง ผู้บริหารยุคอุตสาหกรรม วัตถุนิยม จะไม่เข้าใจเรื่องพวกนี้ ไม่เน้นในมหาวิทยาลัยที่เขาจบมา เจ้านายคนก่อนๆก็งกๆเค็มๆ ก็บ่มเพาะเขาให้ ขาด ปัญญาฐานใจอย่างแรง ดังนั้น ไม่แปลก ที่ หลายคนดูเรื่องนี้ แล้วบอกว่า “ไม่เห็นมีอะไรเลย แค่ Special effect เจ๋งแค่นั้นเอง”

ในขณะที่ เด็กๆ หลายคน ดูหนังเรื่องนี้แล้ว บอกว่า รักต้นไม้จังเลย รักธรรมชาติจังเลย และ หลายคน เริ่มเห็น “ความเห็นแก่ตัว” ที่ ผู้บริหารงกๆเค็มๆ กำลังทำลายธรรมชาติอยู่ทุกวัน

คนไทยมากมาย ไปเที่ยวน้ำตก ไปเดินป่า แต่ ก็ไม่ได้ “เชื่อมโยง” ตนเอง กับ ธรรมชาติเลย ไม่เข้าใจ (see) ตนเอง ไม่เข้าใจธรรมชาติ

แค่ ไปเดินๆๆ เร่งๆ หาที่นอน หาอะไรอร่อยๆกิน และ สะใจได้ขี่ช้าง ล่องเรือ ปีนภูเขาสูงสำเร็จ ฯลฯ

หลายคนเอาแต่ ถ่ายรูป ขี่จักรยาน สนุกกับ พูดจาตลก***ฮาในป่า ตั้งวง กินเหล้า ได้ แค่ เปลี่ยนบรรยากาศวงเหล้าเท่านั้นเอง ฯลฯ พวกเขา ยังไม่ “ เชื่อมโยง” เพราะ ยังไม่รู้จัก เรื่อง “ปัญญาฐานใจ”

ในหนังเรื่องนี้ ชาวเผ่านาวี ใช้คำทักทาย ว่า “ I see you” ซึ่ง ถ้าแปลตรงๆ ว่า ฉันเห็นเธอ ก็คงไม่ได้ ความหมายที่แท้จริง

ฉันเห็นเธอ ในหนัง กินความไปถึง ฉันเข้าใจเธอ ฉันเคารพความเป็นตัวเธอ เรา”เชื่อมโยง”กัน -----

ในหนังจะมีฉาก สวยๆ ที่ ชาวนาวี จับมือร่วมกันทั้งเผ่า หรือ พระเอก นางเอก ผูกเส้นผมของตนเองกับรากไม้ เพื่อ “เชื่อมโยง” กับธรรมชาติ

คนที่ศึกษา แนว เต๋า (Tao) และ เซน (Zen) ดูหนังเรื่องนี้ จะประทับใจมากๆ และ จะเห็นได้ว่า โลกตะวันตก เข้าใจ ศาสตร์และปรัชญาตะวันออกมากขึ้น ในขณะที่ ผู้บริหารงกๆเค็มของไทยเรา ยังล้าสมัย ตามสถานการณ์โลกไม่ทัน ยังคงใช้ ศาสตร์เดิมๆของตะวันตก ที่ชาวตะวันตก เริ่ม “คายทิ้ง” แล้ว

๔) พระเอก เป็นนักเรียนรู้ และ ใช้คำว่า ฉันมา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็น ภาษา ของ KM (Knowledge management) ชัดเจน และ ยัง ใช้คำว่า “ทำซ้ำ” ซึ่ง คำว่า ทำซ้ำนี้ นักบริหารสมัยใหม่ อย่างที่เขียนใน หนังสือ The Toyota Culture คือ ช่วงเริ่มต้นเรียนรู้ ต้องหัด Repeat without thinking ทำซ้ำๆๆๆๆ อย่าเพิ่งคิด อย่าเพิ่งวิจารณ์ ทำๆๆๆๆ จน เป็นทักษะแล้ว จึงค่อย ล้อมวง ระดมสมองกัน ใช้ ฐานกายก่อน อย่าด่วนใช้ฐานคิด

พลังของการเรียนรู้ร่วมกัน แม้นคนไม่ฉลาดหลายคน หาก “เชื่อมโยง” และ เข้าใจ (See) กัน จะได้ เกลียวความรู้ (Knowledge spiral) ออกมามากมายกว่า คนฉลาดหลายคน แต่เอาอัตตามาชนกัน

ยังมีถ้อยคำมากมาย ที่ใช้ในหนังเรื่องนี้ ที่โดนใจมากๆ เช่น “วิทยาศาสตร์ คือ การสังเกต” นี่เป็น สำนวนที่ บ่งบอกถึง การ ดูๆๆๆ รู้ๆๆๆ ห้อยแขวนคำพิพากษาเอาไว้ก่อน

) ที่ผม กระเทือนใจมากๆ คือ ตอนที่ พระเอก รู้ว่า เผ่านาวี ที่มีแต่ หอกและธนู คงไม่มีทางสู้ ทหารรับจ้างของเจ้าของเหมืองแร่จากดาวโลก ที่ มีอาวุธทันสมัยกว่า มีทหารหุ่นยนต์ตัวใหญ่ๆ เครื่องบินรบขนาดใหญ่ ฯลฯ เจค จึง ไป อ้อนวอน ต่อ Eva (เอวา) หรือ แบบไทยๆ คือ “แม่ธรณี” หรือ “มารดาโลก”

แต่ นางเอก บอก เจคว่า “เอวาไม่เข้าข้างใคร เธอ รักษาสมดุล” นั่นคือ ถึงเจค จะวิงวอนต่อเอวา แต่ เอวา ก็จะไม่ช่วย ทุกอย่างเอวา จะรักษาสมดุลให้

ผมสะอึกมาก เพราะ นึกถึงว่า อีกไม่กี่ปี เรา อาจจะได้เห็น กรุงเทพ จมหายไปกับคลื่นยักษ์ แบบที่ เฮติ แบบที่โดน แคทเธอลีน่า หรือ ซึนามิ ที่สะอึกเพราะ เรามีสิทธิ์ตายเป็นล้านคน โดยความนิ่งดูดายของพวกเราเอง

อากาศวิปริต แปรปรวน เดี๋ยวฝนตก เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวเย็น ทำนายได้ยาก เกิดขึ้นบ่อยๆ แต่ เรา ก็ ไม่รับรู้ หรือ รู้ทั้งรู้แต่ไม่คิดจะทำอะไร หรือ ช่างมัน หาเงินต่อไปดีกว่า ไร้สาระ ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ ฯลฯ

หาก เรามี “ปัญญาฐานใจ” ก็ลองไปถาม ความรู้สึก คนที่ผ่านภัยธรรมชาติหนักๆ โจมตี อย่างฉับพลัน แล้วเราจะ “เข้าใจ” (see แปลว่า เข้าใจ เห็นทั้งตัว เห็นทุกอย่าง ซึ้งใจ ฯลฯ)

นึกถึงเพลง The Answer is Blowing in the Wind ที่มีเนื้อหาว่า แม้นผม หรือ ใครๆ รวมทั้งผู้สร้างหนังอวตาร หนังแนวภาวะโลกร้อน ฯลฯ จะ ตะโกนก้องว่า หยุดงกๆเค็มๆ เมตตาชาวโลกบ้าง ฯลฯ ดังแค่ไหน บ่อยแค่ไหน มันก็แค่ “หายไปกับสายลม” ไม่มีคำตอบกลับมาอีกเลย

หมายเลขบันทึก: 372962เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2010 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท