กฎกระทรวงใหม่ เกี่ยวกับงานประกันคุณภาพอาชีวศึกษา


สำหรับประเด็นแรก กฎกระทรวงฉบับใหม่ที่เกี่ยวกับงานประกันคุณภาพนั้น(ซึ่งส่วนตัวแล้วเพิ่งจะทราบว่ามีด้วย เป็นผู้ไม่รู้มานาน) ได้ยุบรวมกฎกระทรวงของทุกสังกัดในกระทรวงศึกษาฯ มาเป็นฉบับเดียว แล้วแยกเป็นหมวดๆ แทน และมีการปรับเปลี่ยนภาษา ชื่อเรียก และกระบวนการบางส่วนเล็กน้อยให้ดูว่าเป็นของใหม่ แต่ร้อยละ 80 น่าจะเป็นของเดิม และบางประเด็นจะย้อนไปเหมือนสมัยที่ สช. เข้าเยี่ยมโรงเรียน และใช้ 7 ปัจจัยประเมินนั่นเอง ....ลองอ่านต่อสักนิด

          ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมปฏิบัติการ ตามโครงการของ สช. ที่ได้งบไทยเข้มแข็ง มาจัดการประชุมเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน และการจัดทำรายงานการจัดการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ที่เชียงใหม่ 3 วัน (บ้านตัวเอง) เมื่อ1-3 ก.ค. 53 ที่ผ่านมา ได้ทานอาหารของโรงแรม และพักห้องพักซึ่งโดยปกติคงหาโอกาสได้ยากที่จะใช้บริการ....

           หลายประเด็นของการประชุม ก็เป็นเรื่องเดิมที่ทราบและทำกันมาอยู่แล้วตั้งแต่มีการประกาศใช้ พรบ.การศึกษาชาติเมื่อปี 42 ที่กำหนดให้การประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการของสถานศึกษา และมี สมศ. มาเป็นผู้ประเมินภายนอก ปัจจุบันได้ผ่านการประเมินรอบ 2 ไปแล้ว

            แต่ที่เป็นประเด็นใหม่...ของการประชุมครั้งนี้มี 2 ประเด็น คือ กฎกระทรวงฉบับใหม่ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 2 เม.ย. 53 และอีกประเด็นหนึ่งคือ การประเมินภายนอกรอบ3 ของอาชีวศึกษา 

             สำหรับประเด็นแรก  กฎกระทรวงฉบับใหม่ที่เกี่ยวกับงานประกันคุณภาพนั้น(ซึ่งส่วนตัวแล้วเพิ่งจะทราบว่ามีด้วย เป็นผู้ไม่รู้มานาน) ได้ยุบรวมกฎกระทรวงของทุกสังกัดในกระทรวงศึกษาฯ มาเป็นฉบับเดียว แล้วแยกเป็นหมวดๆ แทน และมีการปรับเปลี่ยนภาษา ชื่อเรียก และกระบวนการบางส่วนเล็กน้อยให้ดูว่าเป็นของใหม่  แต่ร้อยละ 80 น่าจะเป็นของเดิม และบางประเด็นจะย้อนไปเหมือนสมัยที่ สช. เข้าเยี่ยมโรงเรียน และใช้ 7 ปัจจัยประเมินนั่นเอง  ....ลองอ่านต่อสักนิด ผมจะยกบางประเด็นมาบอกสักนิดดังนี้ครับ (อยากอ่านฉบับเต็มท่านต้องไปดาวน์โหลดจากเว็บของสช. เองนะครับ)

             1.ส่วนของอาชีวศึกษาอยู่ในส่วนที่ 2 ของกฎกระทรวงฉบับใหม่ ตั้งแต่ข้อ 19 - 29

             2. ส่วนแรกกล่าวถึงคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในการอาชีวศึกษา ซึ่งน่าจะเหมือนของเก่า(คิดเอง เพราะไม่เคยเห็นของเก่า) การแต่งตั้งต่างๆ ตามระบบราชการนะครับ

             3. ส่วนที่สองกล่าวถึงเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการประกันคุณภาพภายใน (อ่านแล้วก็คล้ายของเดิมที่ทำอยู่ครับ) ที่เพิ่มเข้ามาเขาว่าใหม่คือ

                  - ข้อ 22 (1) ให้สถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา(มีการลงมือทำในการประชุมด้วยครับ ต้องแยกไว้บอกละเอียดอีกครั้งครับ) เพราะหลายคนงง เพราะส่วนมากเหมารวมใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษาที่กระทรวงประกาศ (เพิ่งรู้อีกเหมือนกันว่ากระทรวงเป็นผู้ประกาศ ไม่ใช่ สอศ. แต่เรียกว่าใช้ของสอศ.ตลอด)

                  - ข้อ 22 (2) ให้สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา   เป็นคำหรูคำใหม่ที่พบ ซึ่งก็คือ แผนพัฒนาโรงเรียน 3 ปี 5 ปี ที่ทำกันนั่นเอง บางคนใช้ชื่อแผนกลยุทธ์  แผนยุทธศาสตร์ เชยหน่อยก็ธรรมนูญโรงเรียน

               4. การกำหนดข้อ 22 วงเล็บ 1 นั้น ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการอาชีวศึกษา และมาตรฐานการศึกษาชาติ(มาอีกแล้วมาตรฐานที่ได้ยินมาเพิ่มอีก 1 มาตรฐาน แล้วที่ทำอยู่สอดคล้องไหมเนี่ย)

               5. ข้อ 29 กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุก 3 ปี (ซึ่งอาชีวเอกชนอยู่ในสังกัด สช.) ก็คงย้อนไปเหมือนช่วงปี 40-41 ที่ สช.มาประเมิน 7 ปัจจัย

         ทั้งหมดเป็นประเด็นที่เก็บมาผสมกันให้ผู้อ่านได้เข้าใจง่ายๆ หวังว่าคงจะไปอ่านฉบับเต็มแล้วคงจะเข้าใจได้ดีขึ้นนะครับ

          สำหรับประเด็นการประเมินรอบ 3 นั้น ยกเลิกไป เพราะตัวแทนของ สมศ. ไม่ได้มา เสียดายจัง แต่แว่วๆว่า เขาทำฉบับร่างแล้วแต่ไม่ให้เผยแพร่ คงต้องรอความชัดเจนจากสมศ.เพราะคนที่เข้าประชุมก็ถามกันมาก คงรอให้สะเด็ดน้ำก่อน ราวปลายภาคเรียน (ต.ค.) คงมีของจริง  ติดตามกันต่อไป

          หวังว่าผู้อ่านคงไม่ซีเรียสกันไปนะครับ

หมายเลขบันทึก: 372893เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2010 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท