นักเศรษฐศาตร์บอกของฟรีไม่มีในโลก..นักกฎหมายบอกของฟรีมีในโลก


นักเศรษฐศาตร์บอกว่า ของฟรีไม่มีในโลก..ในโลกนักกฎหมายของฟรีมีในโลก ใครชอบของฟรีเชิญอ่าน

             ๐ในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๒๒๗บัญญัติว่า

           "ให้ศาลใช้ดุลพินิจ วินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้นจริง และจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น

            เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย"

              กฎหมายมาตรานี่ เป็นหลักทั่วไปที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยใช่ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน และประเทศที่เป็นประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้วใช้กันทั่วโลก

             กล่าวคือ จำเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าศาลจะพิพากษาลงโทษและตดีถึงที่สุด

             หลักการพิจารณาและพิพากษาดังกล่าว มาจากนิติปรัชญาที่ว่า "ปล่อยคนผิด 100 คน ดีกว่าลงโทษคนบริสุทธิ์แม้แต่ 1 คน" 

               กฎหมาย ไม่อยากจำคุกแบบจำเลยคดี "เชอรี่แอน ดันแคน" ไงครับ  คือแบบ "จำคุกแพะ"

            หลักกฎหมายที่ว่า "จะเอาคนเข้าคุก รัฐต้องพิสูจน์พยานหลักฐานให้เป็นที่พอใจแก่ศาล"

            หรือภาระการพิสูจน์เป็นของโจทก์ คือรัฐ คืออัยการหรือทนายแผ่นดินนั่นแหละ

            แต่กระบวนการยุติธรรมต้องมีระยะเวลาในการควบคุมตัว เพื่อสอบสวน เพื่อนำตัวไปฟ้องต่อศาล และเพื่อนำตัวไปพิจารณา คือคดีอาญาต้องทำต่อหน้าจำเลย

          หากปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันก็ดีไป มาศาลในวันที่มีนัดพิจารณาไงครับ..

          ตามกฎหมาย โดยหลักแล้วต้องให้ประกันตัว...การไม่ให้ประกันตัวเป็นข้อยกเว้น..

          แต่หากจำเลยยากจนก็ถูกขังระหว่าพิจารณา เนื่องจากไม่มีหลักประกัน แบบคนจน คนไร้ญาติขาดมิตร ที่มีมากแทบล้นเรือนจำในขณะนี้

           หรือหากเป็นคดีมีอัตราโทษสูง กลัวว่าจำเลยจะหลบหนี หรือกลัวว่าจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน อันเข้าข้อยกเว้น แบบนี้รวยก็โดนขังไว้ก่อนจนกว่าศาลจะพิจารณา(จะตัดสิน)

          แบบแกนนำเสื้อแดงไง ? ผิดหรือไม่ไม่รู้ นอนเรือนจำไปก่อน

           การให้ประกันตัวหรือไม่ให้ประกันตัว จึงอยู่ที่ดุลพินิจของศาล ศาลชั้นต้นไม่ให้ก็อุทธรณ์ ฎีกาได้ตามกฎหมาย หรือจะยื่นใหม่ทุกๆวันก็ได้ แต่ศาลอาจจะยกคำร้องทุกวันก็ได้

           แต่บางคดียื่นไปเรื่อยๆ จนกว่าศาลจะเห็นว่า ควรให้ประกันตัว หมายถึง มีหลักทรัพย์ประกัน และมีคำร้องประกอบจนศาลจะเชื่อว่า บัดนี้ ข้อเท็จจริงเปลี่ยนไป

                เข้าทำนอง...แม้อัตราโทษสูง แต่จำเลยก็มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เชื่อว่าไม่น่าจะหลบหนี หรือไม่ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน...คือพร้อมที่จะมาต่อสู้คดีและฟังคำพิพากษา

                  ซึ่ง..บางคน บางคดีก็มาต่อสู้คดี..แต่ไม่มีมาฟังคำพิพากษา ศาลออกหมายจับก็คว้าลม...จำเลยหายเข้ากลีบเมฆเขมร

                  แบบ..ทักษิณ ในคดีที่ดินรัชดา กำนันเปาะ(สมชาย)ในคดีทุจริตซื้อที่ดิน และวัฒนา อัศวเหม ในคดีทุจริตที่ดินคลองด่าน ยังจำกันได้ไหม?

               ทีนี้..กลับไปที่เรื่องการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน

               ก็โจทก์ต้องนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ จนกว่าจะเป็นที่พอใจของศาลว่า

                 ๑.มีการกระทำความผิดกฎหมายเกิดขึ้นจริง และ

                 ๒.จำเลยเป็นผู้กระทำผิด

                จึงต้อมีกระบวนการพิจารณา ต้องใช้เวลา..จนกว่าจะได้ความสมบูรณ์ของสำนวนให้ท่านผู้พิพากษา ใช้ในการตัดสิน(พิพากษา) เพราะ...

                 ๑. ศาลอย่าลงโทษจนกว่าโจทก์จะพิสูจน์ว่า มีการกระทำผิดเกิดขึ้น และ

                 ๒.จำเลยเป็นผู้กระทำผิด

                และ...มีการย้ำไว้ในวรรคสองของมาตรา ๒๒๗ ว่า "หากยังสงสัยตามสมควร ไม่ว่าส่งสัยว่า มีการกระทำผิดเกิดขึ้นหรือไม่ หรือยังสงสัยว่า จำเลยนี้เป็นคนร้ายหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย"

                 คือให้ยกฟ้องครับ

                 บางคดีพิพากษายกฟ้อง แต่ให้ขังไว้ ระหว่างอุทธรณ์ อย่างนี้ต้องต้องยื่นประกันต่อ

                 หากไม่มีหลักทรัพย์ประกัน..หรือไร้ญาติขาดมิตร ก็ต้องนอนเรือนจำ(ขังไปจนกว่าศาลอุทธรณ์จะตัดสิน)

                 จนกว่าคดีจะเสร็จสิ้น ศาลชั้นต้นก็เป็น 1 ปี หรือนานกว่า เป็น 2-3 ปีแล้วแต่รูปคดี (พยานมาก-น้อย/หรืออุปสรรคอื่นๆ)

                 ส่วนศาลอุทธรณ์-ฎีกา กฎหมายเขียนว่าต้องพิจารณาโดยพลันทั้งนั้นแหละ แต่กว่าจะตกลงมา

                  อาจจะ 1 ปี, 2 ปี 3 ปี 4 ปี ว่ากันไป ใครจะบังคับศาลได้

                แล้วแต่ศาลท่านจะทำคดีได้รวดเร็วแค่ไหน เนื่องจากคดีมีมาก ศาลมีน้อย และเพราะกฎหมายเขียนว่าต้องเอากันให้ชัวร์ๆ ก็ต้องช้า จะนั่งเทียนตัดสินไม่ได้

                   ศาลยุติธรรม...มิใช่ศาลเจ้า

                   ทนายอย่างผมก็ว่าความไปอย่าง "หมอความ มิใช่หมอดู" (ที่จะได้ฟันธง)

                  กระบวการพิจารณาของศาล จึงช้า... "แบบช้า แต่ชัวร์"

                  หลายคนสงสัยว่าจำเลยนอนในเรือนจำข้อหาหนักปีสองปี อยู่ๆ ศาลยกฟ้อง

                  มีที่มาที่ไปอย่างนี้แหละ...

                  ความเที่ยงแท้ของการพิจารณาคดีอาญา ต้องชัวร์ จึงจะติดคุก สงสัย ให้ยกฟ้อง

                  แม้แต่ศาลเอง เมื่อยกฟ้องแล้ว...ศาลยังไม่แน่ใจตัวเอง ต้องขังระหว่างอุทธรณ์ หรือฎีกา เพื่อเปิดโอกาสให้โจทก์อุทธรณ์ ฎีกาได้ตามกฎหมาย

                 ความยุติธรรมในศาลนะ ได้รับแน่...แต่ระหว่างรอความยุติธรรม

                  คุณอาจโดนขังฟรี...

                  ที่เขียนแบบนี้ มิได้หมายถึงแกนนำคนเสื้อแดง

                 พราะคนจนแบบไม่มีเงินซื้อเสื้อใส่...

                  เช่น ตกเป็นจำเลย คดีปล้นจี้ ชิงทรัพย์ บุกรุกป่าสงวน/หรือป่าสงวนบุกรุกบ้าน ฯลฯ...อีกนับหมื่นนับแสนคดีที่กำลังติดคุกฟรี

                 นักเศรษฐศาตร์บอกว่าของฟรีไม่มีในโลก

                 แต่นักกฎหมาย(อย่างผม) ค้าน

                 ของฟรี..แบบนอนฟรี..กินฟรี..มีเห็นๆกันอยู่

                 โดยเฉพาะยุคนี้...ยุครัฐบาลมาร์ค...

                อยู่ข้างนอกนั่งรถไฟฟรี-อยู่ใน(คุก)นี้ฟรีทุกอย่าง

                ใครชอบของฟรี เชิญทดลองครับ.

             

 

                  

               

                

         

                

  

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ของฟรีมีในโลก
หมายเลขบันทึก: 372838เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2010 20:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เชื่อแล้วว่าของฟรีมีจริงๆๆด้วย ก๊ากๆๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท