โสภณ เปียสนิท
นาย โสภณ เปียสนิท ตึ๋ง เปียสนิท

หลักธรรมคำคมข้อคิดชีวิตรักจากแดจังกึม 12


หากเจ็บป่วยเมื่อเข้าสู่วัยชราจึงต้องพักรักษาตัวที่วัดแห่งใดแห่งหนึ่งนอกวัง ใช้ชีวิตอย่างสงบจนกว่าจะสิ้นชีวิตลง
หลักธรรมคำคมข้อคิดชีวิตรักจากแดจังกึม 12
โสภณ เปียสนิท
........................................
“เมื่อถึงห้องปรุงพ่อครัว ปรากฏจังกึมล้มลงดังคาด แต่น่าแปลกที่แขนขาแข็งทื่อไม่สามารถเคลื่อนไหว แต่ไม่ทราบดีใจกระไร ใบหน้าปรากฏมีรอยยิ้มเกลื่อนกลาด ที่สุดนางคงเสียสติไปแล้ว ยอนเซ็งครุ่นคิดจนใจหายวาบ” (แดจังกึม/หน้า136/เล่ม2)

 

                จังกึมใช้ชีวิตเข้าแลกกับการศึกษาการแพทย์ แม้ว่าจะรู้ว่ามีอันตรายเธอยังไม่กลัว เมื่อรู้ผลแห่งการศึกษาแม้ตัวเองกำลังจะตายยังมีความยินดี จนยิ้มออกมา เพื่อนรักยอนเซ็งเห็นอาการของเพื่อนแล้วเข้าใจผิดคิดว่าเสียสติ มีคำสอนอยู่ว่า การจะทำงานสิ่งใดให้ประสบความสำเร็จต้องมีความรักในงานนั้น (ฉันทะ) รักเท่าใด? รักมากกว่าชีวิตของตัวเองเท่าที่จังกึมรักก็พอ
“หากนางวังเจ็บป่วยร้ายแรงหรือเรื้อรัง จำต้องขับออกจากวัง แม้นเกิดในวัยเยาว์ยังพอพึ่งพ่อแม่พี่น้องได้ แต่สำหรับนางวังที่รับใช้วังหลวงมาครึ่งศตวรรษ บ้านหลังเดียวที่มีคือสุสานที่ฝังร่างเท่านั้น” (แดจังกึม/หน้า140/เล่ม2)

 

                ชีวิตของนางวังในเกาหลีนั้นมีเส้นทางเดินในชีวิตที่ขีดเส้นไว้อย่างแน่นอนเส้นทางเดียวหลังเข้าวังแล้วคือต้องศึกษาเล่าเรียน รับใช้วังหลวง ตามตำแหน่งที่ได้รับมอบหมาย หากเจ็บป่วยเมื่อเข้าสู่วัยชราจึงต้องพักรักษาตัวที่วัดแห่งใดแห่งหนึ่งนอกวัง ใช้ชีวิตอย่างสงบจนกว่าจะสิ้นชีวิตลง มองแง่ดี เห็นว่าเป็นการแทนผู้ทำคุณแก่แผ่นดินด้วยการให้โอกาสใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายบำเพ็ญบุญกุศลติดตัวไป หากมองแง่ร้าย เปรียบเหมือนสุนัขล่าเนื้อ ยามแข็งแรงใช้ล่าเนื้อ ยามหมดแรงปล่อยให้หากินเองจนตาย
แต่ฝ่าบาท สังขารมนุษย์นั้นเป็นสิ่งมิเที่ยง ต่อไปเป็นอย่างไรก็มิอาจคาดเดาได้ คราก่อนที่ตำแหน่งว่างลงกะทันหัน จำได้ว่าต้องลำบากท่านซังกุงปกครองมิใช่น้อย” (แดจังกึม/หน้า146/เล่ม2)
                มีหลักทางพุทธศาสนาว่า สรรพสิ่งในโลกนี้อยู่ภายใต้กฎของความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ทุกขัง (เป็นทุกข์) อนัตตา (ยึดถือมิได้) ก่อนตายซังกุงสูงสุดมีความเข้าใจถึงกฎแห่งไตรลักษณ์นี้อย่างดี จึงได้เตรียมการแต่งตั้งซังกุงสูงสุดเพื่อทดแทนตำแหน่งของตนไว้ให้เรียบร้อย ถือว่าไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต
“อาหารนั้น นอกจากเพื่อทานแล้ว ห้ามใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เราทำได้เพียงถึงเท่านี้ นี่เป็นความหวังของผู้ชราก่อนตายจากไป” (แดจังกึม/หน้า148/เล่ม2)
                ซังกุงสูงสุดหรือหัวหน้านางวังห้องเครื่อง ช่างสมกับตำแหน่งยิ่งนัก มองเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของอาหาร อาหารต้องใช้เพื่อให้คนรับประทานเท่านั้น ซื่อตรงต่อวิชาชีพของตนเองอย่างยิ่ง กล่าวได้ว่าเป็นผู้มีคุณธรรมอันสูงสุดสมควรกับตำแหน่งที่ได้รับ
“ซังกุงสูงสุดน้ำเสียงสั่นเครือ ซังกุงฮันเองก็ลำคอร้อนรุ่มอย่างรุนแรง มองจากหน้าที่การงานก็เป็นอาจารย์ มองจากความผูกพันก็เป็นมารดา ผู้มีพระคุณชราลง เจ็บไข้ได้ป่วยก่อนอำลาวังไป นางกำลังพยายามจัดระเบียบเรื่องราวและกำลังฝากฝังสิ่งใดกับตนอยู่” (แดจังกึม/หน้า148/เล่ม2)
                การให้ความเคารพต่อผู้ที่ควรเคารพ เป็นมงคล ซังกุงฮันมีความรักเคารพและมีความผูกพันกับซังกุงสูงสุดนับถือเหมือนเป็นบิดามารดาของตน ก่อนจากลากันเป็นครั้งสุดท้ายย่อมมีความอาลัยกันจากดวงใจ ผู้จากไปพยายามทำหน้าที่ทุกอย่างให้เรียบร้อย ผู้รับคำกล่าวลา ย่อมรู้สึกสะเทือนอารมณ์
“ด้วยลิ้นที่เสียรสสัมผัสเช่นนี้การประลองฝีมือกับซังกุงชเวและคึมยอง มิได้ต่างจากใช้ไม้ตากผ้าวัดผืนฟ้า เช่นใดเราก็เป็นเพียงหิ่งห้อยที่ไม่คู่ควรประชันกับแสงจันทรา” (แดจังกึม/หน้า152/เล่ม2)

 

                คำกล่าวเปรียบเทียบ ชี้ให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน “ใช้ไม้ตากผ้าวัดผืนฟ้า” ฝีมือทำอาหารระหว่างจังกึมและคึมยองโดยปกติแล้วมีความใกล้เคียงกัน แต่จังกึมเสียรสสัมผัสไปแล้ว จึงทำให้ความสามารถทางอาหารของเธอต่ำกว่าคึมยองอย่างเห็นได้ชัดไม่อาจเปรียบเทียบกันได้
“บรรดาปลาใหญ่น้อยที่กระเสือกดิ้นไปมา ชีวิตที่ไร้แขนขายังดิ้นรนต่อสู้ถึงเพียงนี้ ไม่มีทั้งเรี่ยวแรง ไร้ซึ่งผู้ช่วยเหลือ แต่ก็ยังดิ้นรนจนลมเฮือกสุดท้ายของชีวิต เวลานี้ ตนเองที่ไร้ซึ่งรสสัมผัสเป็นดั่งปลาที่ไร้น้ำ ได้แต่รอคอยความตายมาเยือนต่อไป” (แดจังกึม/หน้า153/เล่ม2)

 

                คำนึงในใจของจังกึมให้ความรู้สึกดิ้นรนต่อสู้ “ชีวิตนางวังห้องเครื่องที่ไร้รสสัมผัสเหมือนปลาที่ไร้น้ำ” จังกึมมีความคิดในแง่บวก (positive thinking) ที่ดี มองเห็นปลาที่พ่อค้าจับมาขายวางไว้บนบก มันดิ้นรนไม่หยุดจนกว่าจะตาย เปรียบเหมือนตนที่ต้องพยายามต่อไปจนกว่าจะเสียชีวิตเช่นกัน
“การสูญเสียนำมาซึ่งความห่วงใย และความห่วงใยย่อมนำมาซึ่งความเชื่อถือกันและกัน” (แดจังกึม/หน้า154/เล่ม2)

 

                เมื่อเราประสบการสูญเสียสิ่งหรือบุคคลอันเป็นที่รัก ก่อเกิดความกลัวในใจของผู้สูญเสีย เพราะไม่ต้องการสูญเสียสิ่งที่เหลืออยู่ไปอีก เมื่อถึงที่สุดของความห่วงใยก็ต้องสู้ โดยการทำให้เกิดความมั่นใจ เมื่อมั่นใจจึงเกิดความเชื่อถือซึ่งกันและกัน
“นางวังที่เสียรสสัมผัสอาจเป็นรองเท้าคู่เก่าที่ไร้ซึ่งประโยชน์ แต่หากเป็นภรรยาชาวบ้านก็ต่างกันไป บุรุษไหนเลยจะต้องการเพียงแค่ให้หุงข้าวกัน” (แดจังกึม/หน้า154/เล่ม2)

 

                ในคำเปรียบเทียบนี้มีความคมคายในถ้อยคำ มีความหมายว่า “ภรรยาชาวบ้านที่เสียรสสัมผัสมีค่ามากกว่านางวังห้องเครื่องที่เสียรสสัมผัส”  เพราะนางวังห้องเครื่องมีคุณค่าเพราะทำอาหารให้พระราชาและข้าราชบริพารเพียงอย่างเดียว ส่วนภรรยาชาวบ้านนั้นนอกจากทำอาหารแล้วยังทำงานด้านอื่นให้ครอบครัวได้อีกมาก
“ชีวิตที่หุงหาอาหารให้บุรุษจะน้อยหน้าการปรุงเครื่องสำหรับฮ่องเต้ไปได้อย่างไร หากให้กำเนิดบุตร ลำพังเลี้ยงดูบุตร เวลาในชีวิตก็ผ่านไปเร็วจนดูสั้นแล้วมารดา ของตนก็เช่นกันมิใช่หรือ” (แดจังกึม/หน้า155/เล่ม2)

 

                ในความคิดของจังกึมยามนี้มองเห็นคุณค่าของชีวิตแตกต่างไป เดิมเคยเห็นว่าการเป็นนางวังห้องเครื่องนั้นมีคุณค่าสูงสุด แต่ยามนี้กลับคิดว่า การทำอาหารให้บุรุษ การทำหน้าที่ภรรยา การเลี้ยงดูบุตร นั้นไม่น้อยหน้าการเป็นนางวังเช่นกัน โดยคิดถึงชีวิตของแม่ที่พ้นจากนางวังออกมาทำหน้าที่ภรรยา
“แม้ไม่เคยปรุงมาก่อน แต่กลับสามารถคาดเดาเคล็ดลับการปรุงน้ำซุปกุ้งได้ เช่นนี้ จักให้เราทิ้งเจ้าได้อย่างไรกัน” (แดจังกึม/หน้า161/เล่ม2)

 

                ผู้มีความสามารถด้านอาหารเช่นจังกึม แม้ไม่เคยทำอาหารบางอย่าง แต่เมื่อให้ทดลองทำกลับทำได้ดี เพิ่มความเชื่อมั่นในใจของอาจารย์ ซังกุงฮันมากยิ่งขึ้น
“พ่อค้าปลาตาบอดยังสามารถเลือกปลาอย่างแม่นยำได้เจ้าจงสร้างความมั่นใจให้แก่ตนเอง มีเพียงเท่านี้ จงเชื่อปลายนิ้วของเจ้า ดั่งที่พ่อค้าปลาเชื่อปลายนิ้วของตนเอง” (แดจังกึม/หน้า161/เล่ม2)

 

                คนตาบอดเลือกปลาได้อย่างแม่นยำ แม่ครัวอาจใช้ปลายนิ้วทำอาหารได้อย่างแม่นยำเช่นเดียวกัน คำพูดของอาจารย์ซังกุงฮันเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่จังกึม ไม่ให้เกิดความท้อแท้
“ครั้งนี้ รอยยิ้มบนใบหน้าคนทั้งสามคลายลง ราวกับลูกโป่งถูกปล่อยลม” (แดจังกึม/หน้า172/เล่ม2)

 

                คำเปรียบเทียบนี้เป็นที่รู้โดยทั่วไป “การดีใจคือใจฟูฟ่องพองขึ้น เมื่อเสียใจเหมือนใจแฟ็บห่อเหี่ยว” ผู้ที่มากด้วยความเคารพผู้อื่น คือการลดอัตตาตัวตน อาจเป็นที่พระราชาเป็นผู้ใหญ่รู้วิธีการเจรจาที่ดี จึงเริ่มต้นด้วยการชมการ และหลังจากนั้นจึงได้กล่าวถึงข้อที่ควรปรับปรุง
“เหตุใดเป็นต้องเกิดเรื่องต่อสตรีนางนี้อยู่เสมอ หรือฟ้าท่านต้องการให้นางเข้มแข็งขึ้นกว่านี้”  (แดจังกึม/หน้า180/เล่ม2)

 

                มีภาษิตจีนอยู่ว่า “ก่อนฟ้าจะมอบภาระสำคัญให้กับผู้ใด ต้องเคี่ยวกร่ำผู้นั้นเสียก่อน” ผู้ที่มองโลกในแง่บวกย่อมเอาความทุกข์ยากที่ได้รับจากความพยายามเป็นสิ่งสนับสนุนให้เกิดความเพียรต่อไป และผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตย่อมเป็นดังนี้เสมอ
หมายเลขบันทึก: 372080เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2010 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์ครับ มาดูงานวิจัยที่ผมนะครับ

ที่เว็บของอาจารย์ใช่หรือเปล่าครับ

หรือดูที่ไหนแน่ กลัวไปดูผิดที่ครับผม

  • อ่านถึงบันทึกนี้ ได้รับพลัง อย่างบอกไม่ถูก ย้ำให้ เห็นว่าการมีทัศนคติในมุมบวกย่อมเกิดพลัง 
  • พระคุณสำหรับธรรมทาน  

เรีนนคุณอุ้มบุญครับ

พระสอนว่า "การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง" ผมได้บุญอีกครั้งหนึ่งแล้ว ดีใจจังเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท