การวิเคราะห์ระบบการผลิตทางการเกษตร


         วันนี้รับฟังการบรรยายจาก ผศ.ดร.ปราโมทย์  สฤษดิ์นิรันดร์ ในหัวข้อ “การวิเคราะห์ระบบการผลิตทางการเกษตร” โดยได้เรียนรู้ถึงระบบการผลิตพืช ที่มีจุดสมดุลที่ต้องการคือห่วงของระบบการผลิต ห่วงของระบบการตลาด และห่วงของระบบสังคม ทับซ้อนกันและขยายเท่ากับห่วงของระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม แต่ในทางปฏิบัตินั้นมักไม่ค่อยอยู่ในสมดุล แต่จะซ้อนไปทางห่วงไหนมากกว่ากันก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ในแต่ละพื้นที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มีการดำเนินโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยภาควิชาพืชสวนเป็นแกนหลักในการดำเนินการร่วมกับคนในชุมชนในการร่วมพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน

         การพัฒนาเกษตรยั่งยืน เป็นการพัฒนาเพื่อสนองความต้องการของคนในปัจจุบัน โดยที่ต้องไม่กระทบต่อความต้องการของคนรุ่นอนาคต ได้แก่ เกษตรดีที่เหมาะสม การเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ วนเกษตร พุทธเกษตร เกษตรอินทรีย์ และเกษตรธรรมชาติ การเกษตร ไม่ใช่แค่การขุดดิน ทำไร่เท่านั้น แต่การเกษตรยังมีความหมายกว้างออกไปมากกว่านั้น การเกษตรเป็นรากฐานสำคัญแห่งการผลิตในทุกระบบ ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่ารอบ ๆ ตัวเราล้วนเกี่ยวข้องกับการเกษตรทั้งสิ้น

         นอกจากนี้ยังได้ศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้เกษตรครบวงจรอย่างยั่งยืนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง หรือที่เรียกว่า บริษัท แก้วเกษตร ชื่อไทย ๆ ของคนไทย ที่มีกิจกรรมหลักภายในเพื่อช่วยเหลือคนในชุมชนในด้านการพัฒนาการเกษตร มีทั้งแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่ต้องการเผยแพร่เมล็ดพันธุ์ข้าวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้กับเกษตรกร แปลงผลิตหน่อไม้ฝรั่งที่ผลิตตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม และมีการทำงานร่วมเป็นเครือข่ายกับเกษตรกร 4 จังหวัด คือ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม และราชบุรี มีแปลงข้าวโพดฝักอ่อน มีการเผยแพร่การทำปุ๋ยหมักโดยให้เกษตรกรมาร่วมกิจกรรมแล้วกลับไปทำใช้เอง ซึ่งช่วยลดต้นทุน จะเห็นได้ว่าอาจารย์ของเราหลายท่านไม่ได้แค่ทำงานอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังทำงานในชุมชนเพื่อช่วยเหลือให้เกษตรกรในชุมชนได้พัฒนาอาชีพ ด้วย

หมายเลขบันทึก: 372076เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2010 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

The way of teaching in this class is different from other classes in KU.

It was a sum of good experiance from respectable professors.

KU do need this type of teaching.

Regards,

zxc555

สวัสดีครับ ผมขวัญชัยครับ

ช่วยออกความเห็น ในเรื่องของความสมดุลย์ของห่วงคงหาไม่ได้ง่ายๆ เพราะเมื่อเราใช้ปัจจัยทางธรรมชาติ ปัจจัยเหล่านั้นก็จะสึกหรอหรือหายไป หรือเปลี่ยนรูปไป อีนานกว่าจะกลับคืนมาทดแทน ในทางความต้องการของเกษตรกรหรือคนส่วนใหญ่ล้วนหากำไรจากธรรมชาติ ขายสิ่งที่เกิดขึ้นมาเองจากธรรมชาติ ยิ่งทำมาได้มาก ยิ่งได้มากยิ่งทำ ที่สุดก็หมด (ว่าแต่เขาผมเองก็อยากขุดทองได้ อยากเป็นเจ้าของภูเขา อยากมีบ้านกลางป่าไม้ใหญ่ ที่บ้านมีน้ำตก มีที่ดินซัก 5,000 ไร่เลี้ยงวัวนม 5 ตัวมันคงอ้วนดี ไม่ต้องมาวิจัยเรื่องอาหาร...เกี่ยวด้วย)

ในส่วนของข้อความที่ว่า "อาจารย์ของเราหลายท่านไม่ได้แค่ทำงานอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังทำงานในชุมชนเพื่อช่วยเหลือให้เกษตรกรในชุมชนได้พัฒนาอาชีพ" ผมเห็นด้วย อาจารย์น่าจะเหนื่อย อยากให้เรียกใช้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรดูบ้างให้เขามารับผิดชอบในส่วนงานต่อเนื่อง น่าจะลูกศิษทั้งนั้น

ขวัญชัย

อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีและท่านควรจะได้รับสิ่งการสนับสนุนให้มากกว่านี้เพื่อสิ่งดีๆจะได้เกิดขึ้นกับชุมชนของประชาชนคนไทยให้มากขึ้นเมื่อทุกคนอยู่ดีมีความสุขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจะแก้ไขได้ง่าย เพราะทุกคนจะเห็นประโยชน์ต่อส่วนรวมก่อน และจะนำมาซึ่งความสุขของตนเองได้ในที่สุดคะ

Kratan 2010

คลิก

http://www.milliontreesforking.com/home.rhtml

โครงการ 1 ล้านกล้าถวายพ่อ ของ ปตท.

ชวนอาจารย์มาปลูกต้นไม้กันครับ

เป็นตัวอย่างการอยู่อย่างพอเพียงและครบวงจร จะเห็นได้ว่าการทำเกษตรไม่ได้ต้อยต่ำอย่างที่ใครๆว่ากัน เพียงแค่ว่าเราจะทำมันจรืงจังแค่ไหน ลองมาดูมาทำใศกษาอย่างแท้จริงแล้วคุณจะเห็นว่า แค่นี้ก็หาความสุขในชีวิตได้แล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท