เด็กบกพร่องทางสติปัญญา


ความรู้เกี่ยวกับเด็กบกพร่องทางสติปัญญา

ความบกพร่องทางสติปัญญา 

 

                   คำจำกัดความ

                    บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยทั่วไปแล้วจะใช้ที่คะแนนจากแบบทดสอบ
     ทางเชาว์ปัญญา (IQ TEST) เป็นตัวบ่งชี้        บุคคลโดยทั่ว ๆ ไปจะมีระดับเชาว์ปัญญา (IQ)  อยู่
     ระหว่าง  90-109    หรือ 90-110      หากมีระดับเชาว์ปัญญา (IQ) สูงกว่า 110 ขึ้นไป  จัดว่าเป็น
    จัดว่าเป็นบุคคลที่ค่อนข้างฉลาด (bright) ไปจนถึงฉลาดมาก (very Superior)       และถ้ามีระดับ
    เชาว์ปัญญา (IQ) ต่ำกว่า 90  ลงมา   ถือว่าเป็นบุคคลบกพร่องทางสติปัญญา     แต่อย่างไรก็ตาม
    การใช้ระดับเชาว์ปัญญาก็อาจจะไม่เพียงพอ               ต้องพิจารณาระดับความสามารถด้านอื่นๆ
    ประกอบด้วย
                   ดังนั้น  ในทางด้านการศึกษาจึงให้ความหมายของบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
     ว่าหมายถึง    คนที่พัฒนาการช้ากว่าคนทั่วไป        เมื่อวัดระดับเชาว์ปัญญาโดยใช้แบบทดสอบ
     มาตรฐาน    แล้วมีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าคนทั่วไป       และความสามารถในการปรับเปลี่ยน
     พฤติกรรมต่ำกว่าเกณฑ์ทั่วไปอย่างน้อย 2 ทักษะหรือมากกว่า      ทักษะดังกล่าประกอบด้วย

                   -  ทักษะการสื่อความหมาย                   -  ทักษะทางสังคม
                   -   ทักษะการใช้สาธารณสมบัติ            -   ทักษะในการเรียนวิชาการเพื่อชีวิตประจำวัน
                   -   การดำรงชีวิตในบ้าน                        -   การดูแลตนเอง
                   -   การควบคุมตนเอง                             -   สุขอนามัย และความปลอดภัย
                   -   การใช้เวลาว่าง                                   -  การทำงาน
     ลักษณะอาการและความรุนแรง
                  ซึ่งลักษณะความบกพร่องทางสติปัญญานี้ สามารถพบได้ตั้งแต่แรกเกิดจนอายุก่อน 18 ปี
     และอาจแบ่งความบกพร่องของสติปัญญาได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้ คือ
               1. บกพร่องระดับน้อย (Mild)   ระดับเชาว์ปัญญา 50 - 70       บุคคลที่มีความบกพร่องทาง
    สติปัญญา  จะอยู่ในกลุ่มนี้เป็นส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 85)   เด็กในกลุ่มนี้บางคนก็พอเรียนได้
    เรียกว่า  “ กลุ่มเรียนได้ : EMR ” ( Educable Mentally Retarded ) คือกลุ่มที่มีความสามารถเรียน
    ได้จนถึงชั้นประถมปีที่ 6      เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จะมีความสามรถปรับตัวได้เทียบเท่ากับเด็กวัยรุ่น
    เด็กกลุ่มนี้ยังต้องการคำชี้แนะและการช่วยเหลือเพราะมักไม่รู้จักแยกแยะเหตุผลและมอง  ไม่เห็น
    ผลของการกระทำของตัวเอง หากเด็กกลุ่มนี้ได้รับการศึกษาพิเศษที่เหมาะสมแล้ว      ก็จะสามารถ
    เรียนรู้และสามารถประกอบอาชีพได้ในระดับหนึ่ง
                 2. บกพร่องระดับปานกลาง (Moderate)  ระดับเชาว์ปัญญา 35 - 55  เชื่อว่าบุคคลที่มีความ
   บกพร่องทางสติปัญญาจะอยู่ในกลุ่มนี้ประมาณร้อยละ 10 บางครั้งก็เรียกว่า “ กลุ่มฝึกได้ : TMR”
   (Trainable Metally Retarded)  มีความสามรถพอฝึกอบรมได้และเรียนรู้ทักษะเบื้องต้นง่ายๆ  ได้
    คือ  เรียนได้ระดับประถมศึกษาปีที่ 2      เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่มักจะแสดงอาการเงอะๆ  งะๆ     การ
    ประสานสัมพันธ์ของอวัยวะการเคลื่อนไหว  และประสาทสัมผัสไม่ค่อยดีนัก        ควรได้รับการ
    ศึกษาในโรงเรียนศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ
                 3 . บกพร่องระดับรุนแรง (Severe)   ระดับเชาว์ปัญญาประมาณ 20 - 40   เชื่อว่าบุคคลที่มี
ี    ความบกพร่องทางสติปัญญา  จะอยู่ในกลุ่มนี้ประมาณร้อยละ 4 บางครั้งเรียกว่า  “ กลุ่มต้องพึ่งพิง ”
   ไม่สามารถเรียนได้     ส่วนใหญ่จะพบความพิการบกพร่องทางการเคลื่อนไหว   การพูดและภาษา
   ร่วมอยู่ด้วย          อาจจะฝึกหัดการช่วยเหลือตนเองในกิจกรรมประจำวันเบื้องต้นง่ายๆ  ได้เท่านั้น
   ต้องการความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นมาก

               4 . บกพร่องระดับรุนแรงมาก (Profound)   ระดับเชาว์ปัญญาประมาณ 20 - 25 หรือต่ำกว่า
   20   เชื่อว่าบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาจะอยู่ในกลุ่มนี้ประมาณร้อยละ 1   เป็นกลุ่มที่ไม่
   สามารถฝึกทักษะต่างๆ ได้          ส่วนใหญ่มักจะมีรูปร่างผิดปกติ      ต้องพึ่งการดูแลช่วยเหลือทาง
   การแพทย์เท่านั้น

 

        สาเหตุของความบกพร่องทางสติปัญญา

                ส่วนใหญ่ไม่สามารถระบุหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ (ร้อยละ 30 - 50)    มักเกิดจากหลายสาเหตุ
    เป็นปัจจัยร่วมกัน  ทั้งปัจจัยทางชีวภาพ และปัจจัยทางจิตสังคม    ปัจจัยทางชีวภาพ เป็นสาเหตุได้
้    ตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอด มักพบมีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย สาเหตุได้แก่

                                      -  โรคทางพันธุกรรม
                                      -   การติดเชื้อ
                                      -   การได้รับสารพิษ
                                      -   การขาดออกซิเจน
                                      -   การขาดสารอาหาร
                                      -   การเกิดอุบัติเหตุต่างๆ

                      ลักษณะบางอย่างที่พอสังเกตได้
                          1.  มีพัฒนาการโดยทั่วไปช้า
                          2.  มีความสามารถทางการเคลื่อนไหวน้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
                          3.  อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ
                          4.  กล้ามเนื้อทำงานประสานกันไม่ดีนัก
                          5.  เรียนรู้ช้า
                          6.  มีพัฒนาการทางภาษาช้า ภาษาไม่สมวัย
                          7.  มีช่วงสมองสั้น
                          8.  ลืมง่าย สับสนง่าย
                          9.  ชอบลอกเลียนแบบไม่ใช้ความคิดตนเอง
                          10. ช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้ต่ำกว่าวัย

                           

 

  ความต้องการพิเศษ

                    เด็กกลุ่มนี้อาจต้องการความช่วยเหลือพิเศษเพื่อส่งเสริมศึกษาการให้สามารถเรียนรู้ทักษะ
       ต่างๆ ได้    โดยผู้เกี่ยวข้องอาจจะต้องให้บริการด้านต่างๆ ตามความเหมาะสม ดังนี้ เช่น
                   การบริการอื่นๆ      - การช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ( Early Intervention )
                                                     - การแก้ไขการพูด
                                                     -  กายภาพบำบัด
                                                     -  กิจกรรมบำบัด
                                                     -  การสอนเสริม     ฯลฯ

กิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ฝ่ายบกพร่องทางปัญญา

   1. ตังเต

 

                   เตรียมช่องตังเตบนพื้น แต่ละช่องกว้างยาว 2 ฟุต ให้เด็กกระโดดเท้าเดียวไปตามช่องแต่
    ละช่องเมื่อถึงช่องกลางสามารถพักยืน  2  เท้าได้       จากนั้นกระโดดต่อไปจนถึงช่องสุดท้ายแล้ว
    กลับ   ในเด็กที่ยังไม่สามารถกระโดดขาเดียวได้ให้กระโดด 2 ขาก่อน
            

ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ
             1. พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก และกล้ามเนื้อมัดใหญ่
             2. พัฒนาการทางการสื่อสารและภาษา


          2. ใส่บล็อครูปทรง

 

                   นำกล่องรูปทรงและตัวรูปทรงมาให้เด็กหาช่องรูปทรงแล้วหยิบตัวรูปทรงใส่ลงไปใน
     กล่องรูปทรงให้ครบตามที่มีตัวรูปทรงต่างๆ
            ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ
             1. พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก
             2. พัฒนาการทางการสื่อสารและภาษา
             3. พัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

 

            3. ปั้นดินน้ำมัน

 

                  ให้เด็กปั้นดินน้ำมันตามจินตนาการของตัวเอง     โดยการใช้มือขยำดินน้ำมัน และนวดดิน
     นํ้ามันบนกระดาษหนังสือพิมพ์ใช้รองพื้นป้องกันพื้นสกปรก
            ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ
             1. พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก
             2. พัฒนาการทางการสื่อสารและภาษา
             3. พัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

 

           4. ร้อยลูกปัด

 

                   ให้เด็กใช้มือร้อยลูกปัดตามจำนวนที่กำหนดให้ อาจจะเพิ่มจำนวนจากน้อยไปหามาก
            ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ
             1. พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก
             2. พัฒนาการทางการสื่อสารและภาษา
             3. พัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

 

          

 

  5. ต่อจิ๊กซอร์

 

                ให้เด็กดูรูปภาพบนจิ๊กซอร์แล้วให้ผู้ปกครองแกะตัวจิ๊กซอร์ออกเพื่อให้เด็กหาชิ้นส่วนต่อ
     จิ๊กซอร์จนครบเป็นรูปเหมือนเดิม
            ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ
             1. พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก
             2. พัฒนาการทางการสื่อสารและภาษา

                สื่อการเรียนการสอนฝ่ายบกพร่องทางสติปัญญา

 

       เวลา 
             
ประโยชน  ฝึกทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก พัฒนาการ
   ทางการสื่อสารและภาษา พัฒนาการประสานสัมพันธ์
   ระหว่างมือกับตา เด็กสามารถฝึกเขียนและอ่านเวลาต่างๆ
    ใน 1 วัน

 


       ม้าโยกไม้

          ประโยชน์   ฝึกทักษะด้านทรงตัว  ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่
     มัดเล็ก

 

        แทมโบลีน
          
ประโยชน์  ฝึกทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และ การทรงตัว

 

        รถมิสเตอร์สล็อต

                ประโยชน์  ฝึกทักษะการใช้มือ  การออกกำลังกาย
   ของข้อมือและท่อนแขน  ฝึกการทำงานให้มีความสัมพันธ์
   กันระหว่างมือ  สายตาและการได้ยิน   ฝึกการใช้มือหยิบจับ
   ชิ้นส่วนใส่ในช่องที่สัมพันธ์กัน   ฝึกสมาธิและความเป็น
   ระเบียบ  สามารถลากจูงไปมาได  ้เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อ
   มัดเล็กและมัดใหญ่

 

        กระดานอักษรไทย ก-ฮ
              ประโยชน์  ฝึกทักษะทางภาษา  ฝึกอ่านพยัญชนะ
    ภาษาไทย   ฝึกหาความสัมพันธ์ต่างๆ ระหว่างภาพกับ
   พยัญชนะ

 

หมายเลขบันทึก: 371923เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2010 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คุณ kapong ครับ กิจกรรมพัฒนาเด็กเหล่านี้ที่นำมาเสนอไว้ น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนหรือพ่อแม่เด็กได้มาก ขอชื่นชมครับ

ขอบคุณครูหยุยมากคะที่ชื่นชมกับบล็อกของ kapong

หนูจะพยายามหาสิ่งดีๆๆและเป็นประโยชน์มาแลกเปลี่ยนในครั้งๆๆต่อไปอีกคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท