การป้องกันอันตรายจากรังสีเมื่อสารกัมมันตรังสีมีโอกาสเข้าสู่ร่างกายได้


การใช้สารกัมมันตรังสีชนิดไม่ปิดผนึกมีหลักการป้องกันอันตราย คือ 1) พยายามใช้สารกัมมันตรังสีน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น 2) มีการจัดแบ่งขอบเขตการปฏิบัติงานและมีระบบปิด และ 3) ดูแลการจัดการกากกัมมันตรังสี

การป้องกันอันตรายจากรังสีเมื่อสารกัมมันตรังสีมีโอกาสเข้าสู่ร่างกายได้

ในปัจจุบันมีการใช้สารกัมมันตรังสีชนิดไม่ปิดผนึกเป็นจำนวนมาก ทั้งในการศึกษาวิจัย และการบำบัดรักษาทางการแพทย์ ในการนี้จำเป็นต้องมีผู้เกี่ยวข้องซึ่งอาจได้รับรังสีจากการปฏิบัติงาน หรือผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องแต่มีโอกาสสัมผัสกับสารกัมมันตรังสี หากการบริหารจัดการในการใช้งานสารกัมมันตรังสีชนิดไม่ปิดผนึกไม่ดีพอ

เมื่อมีการใช้สารกัมมันตรังสีชนิดไม่ปิดผนึก เราย่อมทราบดีว่ามีโอกาสที่สารกัมมันตรังสีจะเข้าสู่ร่างกายของเราได้  จึงต้องมีการระมัดระวังในการปฏิบัติงาน และการป้องกันอย่างดี ตามหลักการ นั่นคือ 1) พยายามใช้สารกัมมันตรังสีน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น   2) มีการจัดแบ่งขอบเขตการปฏิบัติงานและมีระบบปิด และ 3) ดูแลการจัดการกากกัมมันตรังสี  รายละเอียดดังเอกสาร “การป้องกันอันตรายจากรังสีเมื่อสารกัมมันตรังสีมีโอกาสเข้าสู่ร่างกายได้”  ซึ่งสามารถดูได้ที่  http://portal.in.th/files/7/0/8/2010/01/08/IN-HAZARDS.pdf

อย่างไรก็ตามผู้ใช้ยังมักจะมีความกังวล และอยากทราบว่าเมื่อใดที่ตนควรได้รับการตรวจวัดปริมาณรังสีจากภายในร่างกาย เพื่อพิสูจน์ว่า ตนมิได้รับปริมาณรังสีมากเกินขีดจำกัดที่กำหนด ซึ่งคุณดารุณี ได้เคยจัดฝึกอบรมและได้แนะนำเกณฑ์การตรวจวัดสารกัมมันตรังสีจากภายในร่างกายไว้ ดังรายละเอียดซึ่งสามารถดูได้จากเอกสารที่  http://gotoknow.org/file/waraponw/criteria.ppt

หมายเลขบันทึก: 371755เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2010 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 01:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท