ความหมายWeb 2.0 Web 3.0


เว็บ 2.0 และเว็บ3.0 คืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร

ความหมายของ Web 2.0 และ Web 3.0 มีความแตกต่างกันอย่างไร

Web 2.0 คืออะไร

       เว็บ 2.0  คือเวอร์ชั่นของเทคโนโลยีเวิลด์ไวด์เว็บ มันคือรูปแบบที่พัฒนาขึ้นจากเดิมในด้านการออกแบบเว็บไซต์ คือ ออกแบบมาให้ส่งเสริมการแบ่งปันข้อมูลได้ง่าย แพร่กระจายเร็วส่งเสริมให้มีอิสระในการคิด ดีไซด์พื้นที่ในอินเตอร์เน็ตได้มากขึ้น เว็บ 2.0 จะมีลักษณะเรียกว่าเป็นชุมชน มีความสามารถในการแบ่งปันข้อมูล (Share file) ร่วมกันรวมถึงพูดคุยโต้ตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันมากขึ้น ตลอดจนคนเผยแพร่ข้อมูลไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของเว็บ อย่าง วิกิพีเดีย (Wikipedia) ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้เขียนบทความเข้าไปอย่างอิสระและมีการตรวจสอบกันเองรวมทั้งการเกิดเว็บ blog ด้วย

คุณสมบัติเว็บ 2.0

      ส่วนใหญ่ จะมีซีเอสเอส ช่วยในการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ API, JSON, REST และ XML มีการให้บริการฟีด ผ่านทาง RSS หรือ Atom แมชอัป จัดการรวมข้อมูลจากหลายแหล่งเข้าด้วยกัน โฟลก์โซโนมี ช่วยในการจัดการข้อมูล แท็กข้อมูล และการทำดัชนีของข้อมูล รวมถึงการร่วมสร้างข้อมูลในโลกของอินเทอร์เน็ต ประมาณว่าสร้าง social network ได้ดี

เว็บ 2.0 มีคุณสมบัติที่เรียกว่า SLATES มีดังต่อไปนี้
Search - ค้นหาข้อมูลได้
Links - เชื่อมโยงข้อมูลภายใน
Authoring - สามารถสร้างและอัพเดตเนื้อหาได้โดยผู้ใช้ เช่น การโพส blog หรือถาม-ตอบในกระทู้
Tags – สามารถเพิ่มเติมการจัดหมวดหมู่เนื้อหาได้โดยไม่ถูกจำกัดให้อยู่ในกลุ่มเนื้อหาที่ถูกสร้างไว้อยู่แล้วเรียกอีกอย่างว่า Folksonomy
Extensions - มีส่วนประกอบเพิ่มเติมให้กับเว็บได้
Signals - มีการใช้งานเทคโนโลยี syndication เช่นพวก RSS feeds เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้รับรู้ข่าวสารที่อัพเดต

โดยแนวทางของ Web 2.0 สามารถสรุปได้ดังนี้

      - เว็บมีหน้าที่เป็น computing platform ที่ให้บริการเว็บแอปพลิเคชั่น แก่ผู้ใช้บริการทางอินเทอร์เน็ต

      - มีดาต้าเป็นองค์ประกอบสำคัญ

      - มีเน็ตเวริค์ที่เกิดจากการเข้ามามีส่วนรวมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มีการสื่อสารระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต   ที่เปิดกว้าง

      - มีการจัดหมวดหมู่เนื้อหาและการจัดระเบียบภายในเว็บที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสถาปัตยกรรมบนเว็บมีการพัฒนามากขึ้น

      - Web 2.0 เป็นคำที่ใช้ในแง่การตลาด เพื่อแบ่งแยกธุรกิจบนเว็บยุคใหม่ออกจากยุคเริ่มต้น (ยุค 90)

      - มีการตอบรับอย่างตื่นตัวต่อนวัตกรรมใหม่ ในแวดวงเว็บแอปพลิเคชัน และบริการทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้รับแรงผลักดันอย่างมากในช่วงกลางปี 2548

      - เปลี่ยนจากเว็บไซด์แบบ static การค้นหาจาก search engines และ การท่องอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซด์หนึ่งไปยังอีกเว็บไซด์หนึ่ง กลายเป็นเว็บไซด์แบบ dynamic ที่มีการโต้ตอบและมีการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างเว็บไซด์ โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทำการค้นหาด้วยตนเอง

อิทธิพลของ Web 2.0 ที่มีต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน

     การติดต่อสื่อสารโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางเพื่อสร้างชุมชนออนไลน์ขึ้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อ blogs และ wikis นอกจากนี้บางเว็บไซด์ได้มีการให้บริการ RSS feeds เป็นจำนวนมากภายในหน้าเว็บของตน ในขณะที่บางเว็บไซด์ได้สร้างลิงค์ที่ลิงค์ไปยังเว็บไซด์อื่น ๆชนิดเจาะลึกเข้าถึงข้อมูล

     ความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลทางเว็บ การติดต่อสื่อสาร รวมไปถึงการส่งข้อความต่าง ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ที่ Web 2.0 พัฒนาขึ้น ได้ก่อให้เกิดการโยงใยทางสังคมที่แน่นแฟ้นระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในยุคก่อนหน้านี้

     นอกจากนี้ได้มีการใช้ Ajax ในการพัฒนาเว็บไซด์ที่สามารถทำงานคล้ายคลึงแอปพลิเคชันในเครื่องพีซี เช่น word processing spreadsheet และ slide-show presentation เป็นต้น Wysiwyg (What You See Is What You Get) และ wiki เป็นตัวอย่างของเว็บไซด์ประเภทดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีเว็บไซด์ที่ช่วยเรื่องการจัดการโครงการ และการประสานงานต่าง ๆ อีกด้วย

Web 3.0 คืออะไร

      Web 3.0 เทคโนโลยีหรือแนวความคิดที่จะ เชื่อมโยงข้อมูลใน web ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันทั้งภายใน web หรือภายในเครือข่ายของโลก ก็คือ Database ที่มีความฉลาดล้ำหน้าไปอย่างมาก เป็นการใช้ข้อมูลอธิบายข้อมูล ( Semantic) ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent)เว็บ 3.0 เป็นแนวคิดที่ได้มาจากเว็บ 2.0 ที่เกิดขึ้นมากมาย ให้เว็บนั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากได้โดยเอาข้อมูลต่างๆที่มีอยู่มาจัดให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึงข้อมูลที่สามารถบอกรายละเอียดได้ทำให้ผู้เยี่ยมชมสามารถเขัาถึงเนื้อหาของเว็บได้ดีขึ้นนั้นเอง

เทคโนโลยีของเว็บ3.0
    การที่เว็บจะทำสิ่งต่างๆที่ยกตัวอย่างมาได้นั้นต้องมีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. Artificial intelligence (AI) เป็นความฉลาดเทียมที่สร้างคอมพิวเตอร์ ที่จะเอามาเป็นเครื่องมือช่วยคาดเดาพฤติกรรม วิเคราะห์ความต้องการของมนุษย์ ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลนั้นมา ระบบก็จะให้ในสิ่งนั้นๆ ที่ต้องการ


2. Automated reasoning ให้ระบบคอมพิวเตอร์รู้จักการแก้ปัญหาเอง มีการประมวลผล ได้อย่างสมเหตุ พร้อมทั้ง แก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า อีกทั้งปรับปรุงระบบเอง โดยอัตโนมัติไปในตัว


3. Cognitive architecture ทำให้คอมพิวเตอร์คิดได้เหมือนมมนุษย์ โดยการลอกเลียนแบบสมองมนุษย์ ศึกษาการเรียงตัวของเซลล์สมองในสามมิติ ศึกษาการถ่ายเทประจุไฟฟ้า และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกาย ระหว่างการคิด

4. Composite applications เป็นการผสมผสานบริการ ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น VDOfrog ดึงวิดีโอจาก YouTube มาแสดงได้ เหมือนเป็นวีดิโอของเว็บนั้นเอง

5. Distributed computing คือการใช้คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องไป ประมวลผลร่วมกัน โดยใช้ความแตกต่างกันของโครงสร้าง องค์ประกอบฮาร์ดแวร์ หรือซอร์ฟแวร์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคอมพิวเตอร์นั้น ไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่บนพื้นที่เดียวกัน สามารถเชื่อมโยงกันด้วยอินเตอร์เน็ต

6. Knowledge representation การแทนความรู้ เป็นหนึ่งในสาขาสำคัญที่สุด ก่อนจะสร้างความฉลาดให้ระบบ ได้นั้น ต้องให้ระบบรู้จักการนำความรู้นั้นไปใช้เสียก่อน

7. Ontology คือภาษาที่ใช้เป็นตัวอธิบายข้อมูลเชิงสัมพันธ์ “ข้อมูลที่ใช้อธิบายความหมายของข้อมูล” หรือ Tags นั่นเอง


8. Recombinant text ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานเอง ให้มนุษย์สามารถจัดการกับระบบ ในช่วงการทำงานช่วงใดก็ได้ เป็นการทำงานร่วมกัน แต่หากให้คอมพิวเตอร์พัฒนาตัวเองจนมนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้ ก็อาจจะเกิดสิ่งที่ไม่คาดฝันขึ้นเช่นในภาพยนตร์ sci-fi หลายๆเรื่อง

9. Scalable vector graphics (SVG) เป็นภาษามาร์กอัปบนมาตรฐาน XML สำหรับอธิบายกราฟิกแบบเวกเตอร์ 2 มิติ ทั้งที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว แสดงผลบน Browser ที่รองรับได้ Opera, Mozilla Firefox, Safari, Amaya, Konqueror ทำให้เมื่อมีการขยายภาพแล้วภาพจะไม่แตก เป็นประโยชน์ในการทำเว็บไซต์ด้วย ซึ่งหากภาพมีขนาดเล็กจะทำให้การแสดงผลบนเว็บได้รวดเร็วขึ้น

10. Semantic Web คือเป็นเว็บไซต์ ที่มีการเชื่อมโยง สัมพันธ์กับแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การเชื่อมโยงของแหล่งข้อมูลนั้น อาจเป็นเครือข่ายเดียวทั่วโลกก็ได้

11. Semantic Wiki เมื่อข้อมูลมีมากจนบางทีไม่รู้ว่าจะค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ด้วย keyword อะไร ดังนั้นถ้าใช้คำค้นหา แบบกว้างๆ แต่มันกำจัดวงแคบๆให้ได้ การค้นหาแบบข้อมูลซ้อนข้อมูล หรือใช้การค้นหาหลายทิศทาง (Vertical Search) ผสมกับความเป็นส่วนตัวเข้าช่วย (Personalize) จะสามารถเข้าถึงข้อมูลลงได้เช่นกัน

12. Software Agents โปรแกรมที่ทำงาน ให้บรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้โดยอัตโนมัติ เช่น GoogleAds ที่จะจัดโฆษณาให้เองอย่างเหมาะสมสำหรับเว็บไซต์ประเภทนั้นๆ

        Web 3.0 กำลังจะมา เป็นการนำแนวคิดของ Web 2.0 มาทำให้ Web นั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมาก ๆ โดยอย่างที่เรารู้กันดีว่าผู้ใช้ทั่วไปนั้นเป็นผู้สร้างเนื้อหา ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น เช่นการเขียน Blog, การแชร์รูปภาพและไฟล์มัลติมีเดียต่าง ๆ ทำให้ข้อมูลมีจำนวนมหาศาล ทำให้จำเป็นต้องมีความสามารถในการข้อมูลดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเอาข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นมาจัดการให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึงข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) ทำให้เว็บกลายเป็น Sematic Web กล่าวคือเว็บที่ใช้ Metadata มาอธิบายสิ่งต่าง ๆ บนเว็บ ซึ่งในตอนนี้เราจะเห็นกันทั่วไปนั่นคือ Tag นั้นเอง โดยที่ Tag ก็คือคำสั้น ๆ หลาย ๆ คำ ที่เป็นหัวใจของเนื้อหา เพื่อทำให้เราสามารถเข้าถึงเนื้อหาต่าง ๆ ได้ด้วยการใช้ Tag ต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แต่แทนที่ผู้ผลิตเนื้อหาจะใส่เอง แต่ตัว Web จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น แล้วให้ Tags ตามความเหมาะสมให้เราแทน

หมายเลขบันทึก: 371748เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2010 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท