แนวคิด หลักการเกี่ยวกับนโยบาย


แนวคิด หลักการเกี่ยวกับนโยบาย

แนวคิด หลักการเกี่ยวกับนโยบาย (ต่อจากฉบับที่แล้ว)

3. นโยบายเฉพาะแผนกงาน (Departmeatal policy) เป็นนยบายที่กำหนดขึ้นโดยผู้บริหารระดับหัวหน้างาน (Superisore) เป็นนโยบายที่มีความละเอียดชัดเจน เฉพาะเรื่อง เฉพาะกิจการ เช่น นโยบายการซื้อ นโยบายการขายกำหนดโดยอาศัยนโยบายทั่วไปและนโยบายพื้นฐานเป็นแกน

นโยบายทั้งสามประเภทมีลักษณะสอดคล้องกับนโยบายของประเทศ คือ นโยบายหลักหรือนโยบายแห่งชาติ นโยบายการบริหาร และนโยบายเฉพาะกิจ

ง. นโยบายหรือกุศโลบายจำแนกตามหน้าที่(Functions) ของหน่วยงาน เป็นนโยบายที่ถือเอาหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานเป็นหลัก

กระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินนโยบาย

            นโยบายที่กำหนดขึ้นในสังคมหรือในองค์การใด ๆ ก็เพื่อเป็นแนวคิดในการดำเนินงานเพื่อสนองความต้องการ หรือวัตถุประสงค์ของบุคคลในองค์การนั้น ๆ  ลักษณะของนโยบายก็จะสอดคล้องกับความเชื่อและลัทธิการปกครองขององค์การนั้นเช่นเดียวกัน

แนวคิดและกระบวนการในการกำหนดนโยบาย

            โดยปกติการกำหนดนโยบายเป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงส่วนการนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นหน้าที่ของผู้บริหารอีกระดับหนึ่ง แต่การกำหนดนโยบายเพื่อให้ได้นโยบายที่ดีและถูกต้องต้องเป็นการกระทำร่วมกันของผู้บริหารระดับสูงกับผู้ที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากกับผู้นำไปปฏิบัติดังนั้นการกำหนดนโยบายจึงเป็นกระบวนการของแนวคิดที่มีรากฐานมาจากความเชื่อในทฤษฎีทางสังคมศาสตร์และสองทฤษฎี คือ ทฤษฎีทางการบริหารและทฤษฎีทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

  1. ทฤษฎีทางการบริหาร  มีแนวความคิดและความเชื่อว่านโยบายจะต้องเกิดจากผู้บริหารระดับสูง และกระจายนโยบายไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ในระดับต่ำลงมา โดยหน่วยงานระดับกลางจะเป็นผู้ประสานนโยบาย
  2. ทฤษฎีทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีแนวคิดและความเชื่อว่านโยบายจะต้องเกิดจากบุคลากรทุกระดับชั้นในหน่วยงานหรือองค์การ ทุกคนหรือทุกกลุ่มบุคคลควรมีอำนาจในการต่อรองเพื่อผลประโยชน์ของตน หากเป็นที่ตกลงกันได้ก็ให้ถือว่าเป็นนโยบาย นโยบายลักษณะนี้เน้นอำนาจการต่อรองและผลประโยชน์ของกลุ่มเป็นสำคัญ

เอทซิโอนี (Amitau Etzioni) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมันได้ผสมผสานความเชื่อและแนวคิดทั้งสองทฤษฎีเข้าด้วยกันเป็นวิธีที่เหมาะสมโดยมีหน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้ประสานงานและทุกหน่วยงานมีส่วนร่มในการกำหนดนโยบายทำให้เป็นการกำหนดนโยบายที่ดีและมีประสิทธิภาพแล้วยังเป็นการประนีประนอมอันจะก่อให้เกิดดุลยภาพในความเชื่อ ความคิดและเหตุผลของบุคคลทุกระดับให้อยู่ในลักษณะที่พอดีและสอดคล้องกัน ซึ่งจะส่งผลให้การปฏิบัติงานร่วมกันอย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ

การกำหนดนโยบายเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยหลักการและเหตุผลจะแตกต่างกันบ้างที่จำนวนขั้นตอน ซึ่งมีแนวคิดของนักวิชาการบางคนมาเปรียบเทียบเพื่อพิจารณาดังนี้

      ลาสส์เวลล์ (Harold D. Lasswell) ได้จำแนกกระบวนการในการกำหนดนโยบายออกเป็น 7 ขั้นตอน

  1. ขั้นการค้นหาและรวบรวมข้อมูล
  2. ขั้นการรับรองและสนับสนุนการกำหนดนโยบาย
  3. ขั้นการดำเนินงานและการกำหนดนโยบาย
  4. ขั้นการกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม
  5. ขั้นการนำนโยบายไปประยุกต์ปฏิบัติ
  6. ขั้นการประเมินผลนโยบาย
  7. ขั้นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลนขั้นการแสวงหาทางเลือกเพื่อโยบาย

ดรอร์ (Ychczkel Dror) จำแนกนโยบายออกเป็น 5 ขั้นตอน

  1. ขั้นการศึกษาปัญหา
  2. ขั้นการกำหนหดคุณค่าและความสำคัญของเป้าหมายในการกำหนดนโยบาย
  3. ขั้นการแสวงหาทางเลือกเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
  4. ขั้นการเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือก
  5. ขั้นการตัดสินใจเลือกหนทางที่ดีที่สุดเพื่อการปฏิบัติงาน

บอยเยอร์ ( William W. Boyer) ให้ข้อเสนอในการกำหนดนโยบายดังนี้

  1. ขั้นเสนอความคิดริเริ่ม
  2. ขั้นยกร่างนโยบายขั้นต้น
  3. ขั้นการเข้ามีส่วนร่วมของสาธารณะชน
  4. ขั้นการเข้ามีส่วนร่วมขั้นสุดท้าย
  5. ขั้นการประเมินผลทบทวนนโยบาย

ดลูไฮ( Milan J. Dluhy) และลินด์ (Roger R. Lind) จำแนกกระบวนการในการดำเนินนโยบายออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ

  1. ขั้นวิจัยและวิเคราะห์นโยบาย
  2. ขั้นการพัฒนาและกำหนดโครงสร้างนโยบาย
  3. ขั้นการเสนอใช้และการนำนโยบายไปปฏิบัติ
  4. ขั้นการประมาณการและการประเมินผลนโยบาย

จากแนวคิดของนักวิชาการดังกล่าวในการกำหนดนโยบายถึงแม้กระบวนการและเป็นขั้นตอนแตกต่างกันแต่มีลักษณะเนื้อหารคล้ายคลึงกันแต่ก็อยู่ในมโนทัศน์(Concept) เดียวกัน แม้ว่าขั้นตอนของการกำหนดนโยบายจะเกี่ยวพันซึ่งกันและกันแต่เพื่อความสะดวกในการพิสูจน์ อภิปราย ส่วนใหญ่จะยึดแนวคิดของดลูไฮและลินด์เป็นหลัก

      งานที่สำคัญของการกำหนดนโยบายคือ การที่จะทำให้นโยบายหรือกุศโลบายเป็นที่เข้าใจร่วมกันของสมาชิก หรือบุคคลทั่วไป  โดยปกติการสื่อความ (Communication) หรือการเผยแพร่(Dissemination) ทำได้ 2 วิธี คือ

-          การบอกกล่าวด้วยวาจา(Verbal) ซึ่งเป็นนโยบายที่ไม่ได้เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร (Unwriitten policy) เป็นการบริหารกิจการขนาดเล็กที่ไม่สลับซับซ้อน และมีคนปฏิบัติงานน้อย

-          เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร (wriitten policy) เป็นนโยบายที่มีการเผยแพร่เป็นทางการ(Formal communication) เป็นนโยบายที่ใช้ในการบริหารองค์การขนาดใหญ่ที่มีความสลับซับซ้อนและมีคนจำนวนมากแบ่งงานในหน่วยงานเป็นสัดส่วน นโยบายจะมีการเขียนนโยบายไว้อย่างแน่ชัด

หมายเลขบันทึก: 371716เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2010 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ครูกนกพรครับ หลักการที่นำเสนอนั้นก็ดีครับ แต่เมื่อเราลงมือทำจริงๆ หลายสิ่งที่กำหนดไว้นั้น ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์นะครับ

แวะมาอ่าน....เนื้อหา..ดีจ้า

บทความนี้คือหลักการแต่เวลาลงมือทำสามารถปรับเปลี่ยนได้ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท