แผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan : IDP)


พฤติกรรมที่คนๆนั้นแสดงออกและโดดเด่นจนคนอื่นสังเกตเห็น เรียกว่าสมรรถนะ

การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล(Individual Development Plan: IDP)

30 มิย- 1 กค 53 วิทยากรคือ รศ. ดร.พรพรรณ ภูมิภู จัดโดย สสจ.ชัยนาท

ทำไมต้องทำ IDP

(วันนี้ไม่บังคับ แต่สุดท้ายต้องทำเพราะเป็นกฎหมาย) 

            -เพื่อพัฒนาบุคลากรตามสมรรถนะที่จำเป็นต่อการทำงาน (โดยเฉพาะสมรรถนะที่กฎหมายกำหนด 5 รายการ ของกพ.)

                -ใช้ประกอบการเลื่อนระดับ

สมรรถนะคืออะไร  แปลง่ายๆ คือ พฤติกรรมที่คนๆนั้นแสดงออกและโดดเด่นจนคนอื่นสังเกตเห็น  สมรรถนะเกิดจากความรู้ ทักษะและตัวตนของคนๆนั้น

 

ขั้นตอนการจัดทำ

            1.กำหนดลำดับความสำคัญของสมรรถนะของหน่วยงาน

 เวทีวันนี้แบ่งกลุ่มตามsetting เราอยู่ในกลุ่ม รพช. ได้ใช้การโหวตเลือกสมรรถนะหลักที่ กพ. กำหนด 5 รายการ ว่าควรให้สมรรถนะรายการใดเป็นอันดับที่สำคัญที่สุด ของ รพช. ผลการจัดลำดับ เป็นดังนี้ 1. การบริการที่ดี 2. การมุ่งผลสัมฤทธิ์3. การทำงานเป็นทีม 4. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ 5. จริยธรรม  นอกจากสมรรถนะที่ กพ.กำหนดแล้ว ยังมีสมรรถนะที่จังหวัดชัยนาทกำหนดอีก 4 รายการที่เราต้องจัดลำดับความสำคัญ โดยที่ประชุมได้โหวตคัดเลือก ดังนี้ 6. การคิดวิเคราะห์ 7. ความถูกต้องของงาน 8. ความเข้าใจองค์กรและระบบราชการ และ 9. การมองภาพรวม

2. กำหนดระดับ/เกณฑ์สมรรถนะว่าแต่ละกลุ่มควรมีสมรรถนะแต่ละรายการระดับใด  โดยมีหลักคิดว่าถ้าเราเป็นเจ้าของกิจการต้องการให้คนที่ทำงานให้มีสมรรถนะแค่ไหนจึงจะทำให้ดำเนินงานบรรลุเป้าหมายขององค์กรมากที่สุด  ซึ่งวิธีการนี้ควรมีการกำหนดระดับสมรรถนะเพื่อการพัฒนาตนเองให้สูงกว่าระดับที่กฎหมายกำหนดหรือสูงกว่าระดับที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน   ตารางข้างล่างเป็นผลการกำหนดระดับสมรรถนะที่ได้จากการคิดร่วมและโหวตของทีม โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชัยนาท

 

 

กำหนดระดับ/เกณฑ์สมรรถนะ ของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชัยนาท

สมรรถนะ

การบริการที่ดี

การมุ่งผลสัมฤทธิ์

การทำงานเป็นทีม

การสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ

จริธรรม

การคิดวิเคราะห์

ความถูกต้องของงาน

ความเข้าใจองค์กร

การมองภาพองค์รวม

ตำแหน่ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เชี่ยวชาญ

5

5

5

5

5

5

5

5

5

ชำนาญการพิเศษ

4

4

5

4

4

4

4

4

4

ชำนาญการ

3

3

4

3

4

3

4

3

3

ปฏิบัติการ

2

2

3

2

3

2

2

2

2

อาวุโส

3

3

4

3

4

3

3

3

2

ชำนาญงาน

2

2

2

2

2

1

2

2

1

ปฏิบัติงาน

2

2

2

1

2

1

2

1

1

 

 

3. จัดทำเกณฑ์มาตรฐานสมรรถนะหลักและสมรรถนะระดับหน่วยงาน  ขั้นตอนนี้ให้แต่ละหน่วยงานกำหนดและเก็บไว้ในหน่วยงาน  จะจัดทำเป็นหน่วยงานย่อยแล้วรวบรวมเป็นหน่วยใหญ่ อีกที

4. ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนจัดทำแบบประเมินสมรรถนะรายบุคคล ประจำปีงบประมาณ

 

 

แบบประเมินสมรรถนะรายบุคคล ประจำปี พ.ศ. 25........

 

 

 

 

 

 

ชื่อ-ชื่อสกุล.นางอังค์ริสา  พินิจจันทร์ 

ตำแหน่ง.....พยาบาลวิชาชีพ..................................................

ระดับ...ชำนาญการ

สังกัด...โรงพยาบาล.มโนรมย์

 

 

 

 

 

 

1

2

3

4

5

6

สมรรถนะที่กำหนด

มาตรฐานสมรรถนะ

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินร่วมกับ

ค่าแตกต่าง (GAP)

ลำดับความสำคัญใน

 

(ระดับ)

(ระดับ)

ผู้บังคับบัญชา

(4-2)

การพัฒนา

 

 

 

และเพื่อนร่วมงาน

 

(มาก, กลาง,น้อย)

บริการที่ดี

3

2

2

-1

3

มุงผลสัมฤทธิ์

3

1

1

-2

2

ร่วมแรงร่วมใจ

4

3

3

-1

4

สั่งสมความเชี่ยวชาญในงาน

3

0

0

-3

1

จริยธรรม

4

3

3

-1

5

การคิดวิเคราะห์

3

2

2

-1

6

ความถูกต้อง

4

3

3

-1

7

ความเข้าใจองค์กร และระบบราชการ

3

2

2

-1

8

การมองภาพรวม

3

2

2

-1

9

รวมทั้งหมด

 

 

 

 

 

คิดเป็นร้อยละ

100.00

 

 

 

 

 

5. จัดทำแผนพัฒนาสมรรถนะรายบุคคล ประจำปี  

แบบฟอร์มนี้สำคัญที่สุด ทำยากที่สุด และต้องใช้แนบกับเอกสาร PA (Performance Agreement) และต้องทำทุกปี  แบบฟอรํมนี้ไม่ส่งผลเสียต่อผู้ปฏิบัติงาน  เพราะไม่ได้นำไปประเมินผลงาน  แต่มีประโยชน์อย่างมากต่อการเตรียมความพร้อมให้แก่เจ้าหน้าที่ก่อนถูกประเมินจริง  หลังจากทำเสร็จให้จัดเก็บไว้ที่ผู้บังคับบัญชาระดับต้น 1 ชุด และเก็บเองใน Portfolio อีก 1 ชุด

 

จากตัวอย่างเลือกสมรรถนะการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ  เพราะเป็นสมรรถนะที่สำคัญที่สุดต้องทำแผนพัฒนาทุกปี  ดังนั้นในการประเมินตนเองจึงไม่ควรประเมินเต็ม เพราะจะทำให้เสียโอกาสในการพัฒนา  และจะส่งผลเสียเมื่อถูกประเมินจริง

 

 

 

 

แผนพัฒนาสมรรถนะรายบุคคล ประจำปี 255

ฟอร์ม 4

กลุ่มงาน เวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน

สังกัด รพ.มโนรมย์

 

 

 

 

 

 

 

 

ชื่อ-ชื่อสกุล อังค์ริสา  พินิจจันทร์

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ

 

 

ระดับ ชำนาญการ

 

 

 

 

 

 

เดือน

 

แผนพัฒนาบุคลากร

วิธีพัฒนา

ผู้รับผิดชอบ

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

งบประมาณ

 

 

 

ตค.

พย.

ธค.

มค.

กพ.

มีค.

เมย.

พค.

มิย.

กค.

สค.

กย.

(บาท)

แผนพัฒนาความเชี่ยวชาญในงาน(1)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 - ความรู้เกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประชุมเชิงปฏิบัติการ

รพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 - ความรู้และทักษะเกี่ยวข้องในสหวิชาชีพ

ฝึกอบรม สัมมนา

รพ/ตนเอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 - การคิดเชิงวิเคราะห์

ฝึกอบรม สัมมนา

รพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 - ศึกษาและค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ อย่างสมำเสมอ

เรียนรู้ด้วยตนเอง

ตนเอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                เนื่องจากมีสมรรถนะที่ต้องประเมินและจัดทำแผนพัฒนามากถึง 9 รายการ  ปีแรกของการจัดทำ IDP ควรลองทำดูสัก 1 สมรรถนะ และ อย่างน้อย 1 แผนพัฒนาตนเองต่อคน  จะได้ลองทำและลองเรียนรู้  เมื่อคุ้นเคยและเข้าใจดีพอก็ค่อยทำตามความเป็นจริงให้ครบถ้วนทุกรายการ  ที่ได้ประเมินตนเองร่วมกับเพื่อนร่วมงาน/ผู้บังคับบัญชา(ซึ่งเป็นเพียง 180 องศา  ถ้ามีผู้ใช้บริการ/ประชาชนร่วมประเมินด้วยก็จะครบ 360 องศา)  หากต้องการทำแผน IDP เพียง 1 สมรรถนะก็ควรเลือกสมรรถนะหลักที่กฎหมายกำหนด และควรเลือกสมรรถนะที่ต้องทำแผนพัฒนาต่อเนื่องทุกปี  นั่นคือต้องเลือกสมรรถนะรายการ การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ นั่นเอง

 

 

6. หน่วยงาน/ผู้ที่มีหน้าที่ ทำการรวบรวมแผนรายบุคคล เพื่อให้เห็นภาพระดับองค์กร  จัดเก็บไว้ที่องค์กร 1 ชุด จัดส่งให้ สสจ.1 ชุด  และต้องมีการวางระบบติดตามการพัฒนาตนเองตามแผนทุก 1-2 เดือน  และประเมินทุก 6 เดือน

 

กลุ่มงาน.การพยาบาล................

สังกัด...................................................................................................

ชื่อ-ชื่อสกุล...

ตำแหน่ง..พยาบาลวิชาชีพ.......

ระดับ.......

 

 

หน่วยงาน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชัยนาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เดือน

 

แผนพัฒนาบุคลากร

กลุ่มเป้าหมาย

จำนวน(คน)

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

งบประมาณ

 

 

 

ตค.

พย.

ธค.

มค.

กพ.

มีค.

เมย.

พค.

มิย.

กค.

สค.

กย.

(บาท)

แผนพัฒนาความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (3)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 -การพัฒนา/บูรณาการระบบสารสนเทศด้านการพยาบาลมาใช้ในการปฏิบัติงาน

K2

15

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

.....................บาท

 

K3

4

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 -การวางระบบสารสนเทศด้านการพยาบาลมาใช้ในการปฏิบัติงาน

K3

4

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

.....................บาท

 - ส่งเสริมการนำนวตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการดูและรักษาผู้ป่วย

K2 , K3

19

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 - ศึกษาและค้นคว้าความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง

K2 , K3

22

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

.....................บาท

 - การเขียนผลงานทางวิชาการ

K2 , K3

22

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

.....................บาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 อยากให้ทุกคนอ่านและช่วยบอกต่อคนที่ไม่ได้อ่านให้เข้ามาอ่านบทสรุปนี้เพราะพวกเราทุกคนที่เป็นข้าราชการต้องทำ IDP

 

อังค์ริสา  พินิจจันทร์

หมายเลขบันทึก: 371348เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2010 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท