ความจริง


ความจริงคือสิ่งที่เชื่อว่าจริง

สวัสดีสมาชิก gotoknow ทุกท่าน  วันนี้ครูปองได้เปิดมาใน blog แล้วจะเห็นบันทึกของเพื่อน ๆ หลายท่านได้ถ่ายทอด  แบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจหลายเรื่องแล้วรู้สึกไม่มั่นใจที่จะเขียนบันทึกในวันนี้  เพราะที่ผ่านมาปกติถ้าได้รับรู้เรื่องราวหรือความรู้ใหม่ๆก็มักจะเล่าสู่กันฟังในระหว่างเพื่อน ๆ ไม่กี่คน  แต่คราวนี้จะถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ  อาจจะไม่ชัดเจนเท่าที่ควรก็ต้องขออภัยนะคะ

                เป็นเวลา  3  สัปดาห์แล้วที่ครูปองได้มีโอกาสเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยนเรศวรจังหวัดพิษณุโลก  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับน้อง ๆ และฟังการบรรยายของอาจารย์อรุณี  ในหลาย ๆ เรื่องด้วยกัน  วันนี้จะขอแบ่งปันความคิดเห็นของครูปองในเรื่องของ ความจริง ที่ได้รับฟังมานะคะ

                อะไรคือความจริง?  ได้มีนักปรัชญาตอบคำถามนี้  3  กลุ่มด้วยกัน 

                กลุ่มแรก  เรียกว่า  เอกนิยม (Monism)  กลุ่มนี้บอกว่าเป็นเพียงหนึ่งเดียว  ซึ่งแยกออกเป็นพวกที่เชื่อว่าหนึ่งเดียวคือจิต (Mind) หรือแบบ (Form) พวกนี้แรกว่าจิตนิยม (Idealism)  อีกพวกหนึ่งเชื่อว่าหนึ่งเดียวคือกาย (Body) หรือสสาร  (Material) พวกนี้เรียกว่า  สสารนิยม (Matenialism)  คำว่ากายและจิตนั้นนักปรัชญาได้นำมาอธิบายความจริงเกี่ยวกับมนุษย์ว่าพวกที่เชื่อว่าความจริงของมนุษย์คือจิต  ซึ่งจิตนั้นจะเป็น นิรันดร์  กายไม่ใช่ความจริงเพราะมีการย่อยสลายไป  อีกพวกที่เชื่อว่าความจริงของมนุษย์คือร่างกายที่สามารถมองเห็นจับต้องได้  จิตไม่ใช่ความจริงเพราะสัมผัสจับต้องไม่ได้ 

                มีผู้กล่าวถึงความจริงของสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์ว่า พวกหนึ่งเชื่อว่าความจริงของสรรพสิ่ง คือแบบ  ซึ่งแบบก็เป็นลักษณะเช่นเดียวกับจิตไม่สูญหายอยู่เป็นนิรันดร์  ตรงกันข้ามอีกพวกหนึ่งจะบอกว่าความจริงของสรรพสิ่งคือสสารหรือมีคุณสมบัติความเป็นสสาร  เช่น  สุนัขมีชีวิตอยู่ก็มีคุณสมบัติเป็นสสารแม้ว่าจะตายเน่าเปื่อยสลายไปก็ยังมีสมบัติเป็นสสารอยู่นั่นเอง

                จากการอธิบายความจริงเกี่ยวกับมนุษย์และสรรพสิ่งในทำนองที่กล่าวมาแล้วจัดเป็นพวกเอกนิยม  ซึ่งพวกแรกเรียกว่าเอกนิยมแบบจิตนิยม  พวกที่สองก็เรียกว่าเอกนิยมแบบสสารนิยม

                กลุ่มที่สอง  เรียกว่าทวินิยม  (Dualism) กลุ่มนี้บอกว่าความจริงของมนุษย์มีมากกว่าสองหรือความจริงประกอบด้วยกายและจิตหรือทั้งแบบ  และสสาร  ซึ่งทั้งสองสิ่งจะอยู่ด้วยกันเกี่ยวข้องมีปฏิสัมพันธ์กันประดุจสสารและพลังงานนั่นเอง  พวกทวินิยม (Dualism)  เชื่อว่าความจริงของมนุษย์ก็คือทั้งกายและจิตซึ่งต่างพึ่งพาอาศัยกัน  กายเป็นที่อยู่ของจิต  ถ้าไม่มีจิตกายก็ไม่เคลื่อนไหวในทางตรงกันข้าม  หากกายเสื่อมสลายจิตก็ดับสูญไปด้วย  ส่วนความจริงของสรรพสิ่งนั้นประกอบด้วย  2  ส่วน  คือ  สสารและแบบ (หรือพลังงาน)  ทั้ง  2  ส่วนมีความสัมพันธ์พึ่งพาอาศัยกัน  เช่น  น้ำมีสถานภาพเป็นสสารแต่มีพลังงานอยู่ด้วยเป็นต้น 

                กลุ่มที่สาม  เรียกว่า  พหุนิยม (Dualism) กลุ่มนี้บอกว่าความจริงของสรรพสิ่งที่มีมากกว่าสอง  มีได้หลากหลายไม่จำกัดว่าเป็นหนึ่งเดียวหรือสอง  ซึ่งอธิบายความจริงเกี่ยวกับมนุษย์ว่ามนุษย์มีมากกว่าจิตและกาย  ประกอบด้วยธาตุสี่หรือขันธ์ห้า  เช่นเดียวกับก้อนหินมิใช่เป็นเพียงสสารและพลังงาน  แต่ยังมีแง่มุมอื่น ๆ อีก  ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของหินซึ่งสิ่งอื่นไม่มี  เช่นความแข็งแรง  ความสวยงาม  เป็นต้น

                จากคำกล่าวข้างต้นเราอาจจะตอบคำถามที่ว่าอะไรคือความจริงได้หลาย ๆ คำตอบหลายแง่มุม  ซึ่งขึ้นอยู่กับความเชื่อถือหรือสำนักคิด (School of thought)  ของนักปรัชญา  และด้วยเหตุผลนี้เอง เราจึงสรุปได้ว่า  “ความจริงคือสิ่งที่เชื่อว่าจริง”  นั่นเอง

                สมาชิก  gotoknow  ที่อ่านบันทึกของครูปองแล้วอาจจะนึกตำหนิว่าเขียนมาเสียยืดยาว  สรุปแล้วความจริงคือสิ่งที่เชื่อว่าจริงเองหรือ ถ้าท่านไม่เห็นด้วยหรือมีความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร  แสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนะได้นะคะ  จริง ๆ แล้วข้อมูลที่เขียนก็ได้มาจากการอ่านหนังสือปรัชญาวิจัยของ ดร.รัตนะ  บัวสนธ์  นั่นเอง ต้องขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ค่ะ  ถ้าต้องการทราบรายละเอียดมากกว่านี้หามาอ่านดูนะคะ โอกาสต่อไปมาแบ่งปันความคิดเห็นดี ๆ กันอีกนะคะ 

                                                                                 ครูปอง

 

คำสำคัญ (Tags): #ความจริง
หมายเลขบันทึก: 371247เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2010 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ความเชื่อเป็นสิ่งที่เรา"คิดว่าจริง"

อาจจะตรงหรือไม่ตรงกับความจริง

ทฤษฎีว่าด้วยความจริง

การที่จะตัดสินว่าอะไรจริงหรือไม่ มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ โดยอาจนำทฤษฎีว่าด้วยความจริงเป็นเครื่องมือในการตัดสินหรือนำมาอธิบายเพื่อให้ใด้ซึ่งคำตอบที่เป็นจริง

เท่าที่ผมค้นคว้าเพิ่มเติมในเว็บไซต์ http://www.vcharkarn.com/vblog/37519 ซึ่งมีทฤษฎี 3 ทฤษฎี ดังนี้ครับ

1. ทฤษฎีสหนัย (Inherence Theory) คือ ทฤษฎีที่ถือว่า การที่จะถือว่า ข้อความใดข้อความหนึ่งเท็จจริงหรือไม่ ให้ดูว่าข้อความนี้สอดคล้องกับข้อความอื่น ๆ ที่อยู่ในระบบเดียวกันหรือไม่ ถ้าสอดคล้องกัน ข้อความนั้นก็เป็นจริง ถ้าขัดแย้งกันข้อความนั้นก็ไม่เป็นจริง ทฤษฎีนี้จึงเกี่ยวข้องกับวิธีหาความรู้แบบนิรนัย (Deduction)

2. ทฤษฎีสมนัย (Correspondence Theory) คือทฤษฎีที่ถือว่า การที่จะถือว่าความรู้ใดเป็นความรู้ที่ถูกต้องเป็นจริงก็ต่อเมื่อความรู้นั้นตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ ทฤษฎีนี้จึงเกี่ยวข้องกับการหาความรู้แบบอุปนัย (Induction)

3. ทฤษฎีปฏิบัตินิยม (Pragmatism) คือทฤษฎีที่ถือว่า เกณฑ์ตัดสินความจริง คือ การใช้งานได้ สิ่งที่เป็นจริงคือ สิ่งที่มีประโยชน์ ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

ทฤษฎีปฏิบัตินิยมเกิดจากความบกพร่องของทั้งสองทฤษฎีแรกข้างต้น กล่าวคือ ทฤษฎีสหนัย มีความบกพร่องตรงที่ว่า ถ้าความรู้เดิมผิดพลาด ความรู้ที่เราได้รับมาใหม่ ก็จะต้องผิดพลาดด้วย ทฤษฎีสมนัยมีความบกพร่องตรงที่ว่า ในโลกนี้มีแต่ความเปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอน ดังนั้น สิ่งที่คิดว่าเป็นความจริงในขณะนี้อาจจะไม่ตรงกับคามจริงในอนาคตก็ได้

ถึงคนบ้านไกล

ดีมาก ที่ค้นมาบอกกัน สรุปว่าทฤษฎี อาจเกิดได้จากการ นิรนัย หรืออุปนัย หรือจากการปฏิบัติใช่ไหม ช่วยเล่าด้วยว่า ทฤษฎ๊คือะไร และ มีประโยชน์อย่างไร และว่างๆ ก็สร้างทฤษฎีของตนด้วยนะ

อรุณี

ขอบคุณมากนะครับ สำหรับความจริง....

เป็นประโยชน์จริง ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท