รู้ความเป็นไปเรื่องเบาหวานและกุญแจไขปริศนา ตอนที่ 1


ต้องมีช่องทางแห่งปัญญาในภัยคุกคาม และก็มีจริงๆด้วย

 

     10 ปีที่แล้วองค์การอนามัยโลกได้สำรวจพบว่าในโลกใบนี้มีผู้ป่วยเบาหวาน 171 ล้านคน และทำนายต่อไปว่าอีก 30 ปี จะมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานเป็น 366 ล้าน ซึ่งผลสำรวจในประเทศไทย จาก 1.5 ล้าน จะเป็น 2.7 ล้านในช่วงเวลาเดียวกัน

     ข้อมูลนี้ สร้างความประหวั่นพรั่นพรึงให้กับมนุษยโลก เป็นอย่างมาก มีการกล่าวถึงมหันตภัยร้ายนี้กันอย่างกว้างขวางมีการกระตุ้นการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันการเกิดโรคเบาหวานมากขึ้น วันเวลาผ่านไปไม่นาน ยังไม่ถึง 30 ปี จากการสำรวจและประมาณการว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน 171 ล้าน โดยคิดว่าเป็น 2.8% ของประชากรทั่วโลก จากวันนั้นเพียง 10 ปี มีข้อมูลตีพิมพ์ที่ไม่สามารถนิ่งนอนใจต่อไปได้แล้ว

     มกราคมปีนี้ (2553)ข้อมูลโดยสหพันธ์สมาคมโรคเบาหวานระหว่างประเทศ(International Diabetes Federation)พบว่าความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีจำนวน 285 ล้าน และคาดการณ์ไปอีก 20 ปีจะเป็น 439 ล้านคน โอ..โฮ้ สูงเพิ่มขึ้นกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้อีก

     โลกใบนี้ใช่ว่าจะมีแต่เรื่องเลวร้าย......ซะทีเดียว ต้องมีช่องทางแห่งปัญญาในภัยคุกคาม และก็มีจริงๆด้วย แม้ว่าโรคเบาหวานจะเป็นภัยคุกคาม และมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างเหลือเชื่อ แต่ยังพบว่าชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานยังคงมีความสุขสมบูรณ์ได้

 

 

และผู้ป่วยที่มีภาวะการใช้น้ำตาลในเลือดบกพร่องหลายๆคนสามารถป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้

     อย่างไรจึงกล่าวว่าผู้ป่วยเบาหวานเป็นภัยคุกคาม มีข้อมูลว่าทุกๆปีจะมีต้องจำนวนมนุษย์ต้องจากโลกไปเนื่องจากโรคเบาหวาน 3.2 ล้านคน ไม่ได้ย้ายไปอยู่ที่ดาวเคราะห์ดวงอื่น

                      ..........สูญเสียชีวิต........... 

                        ทุก ๆ นาที ไป        6     คน

                        ทุกๆ  วัน ไป   8,700     คน

    ทุก ๆ 20 คน ที่จากโลกนี้ไป มีโรคเบาหวานเป็นสาเหตุ 1 คน 

    คนในวัยทำงาน"วัยที่มีประสิทธิภาพสูงสุข ทั้งคุณวุฒิ วัยวุฒิและประสบการณ์" (เหอๆ วัยเรานั่นเอง) อายุช่วง 35 ถึง 64 ปี ใน 10 คนที่ไปจากโลกนี้ เป็นโรคเบาหวาน  1 คน

    จำนวนสามในสี่ของผู้ป่วยเบาหวานที่เสียชีวิตในช่วงอายุที่น้อยกว่า 35 ปี มีสาเหตุจากโรคเบาหวาน ซึ่งก็คงเป็น น้ำตาลสูงปี๊ด น้ำตาลต่ำต้อย ..............ทนไม่ไหว......ไปดีกว่า

     ผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มจำนวนได้มากขึ้น มากขึ้น อย่างเหลือเชื่อ.....เฮ้อ ก็จากที่กล่าวไปในตอนต้น เคยสำรวจไว้โดยองค์การอนามัยโลก  ในปี 2543  จำนวน 171 ล้าน ทำนายว่าจะเป็น 2 เท่าใน 30 ปีต่อไปจากปีที่ทำนาย ผ่านไปแค่ 10 ปี จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่สำรวจได้เพิ่มในอัตราที่มากกว่าที่เคยทำนายไว้อีก.....นอกจากนี้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว..แล้วกันไปใหญ่ ...องค์การอนามัยโลกทำนายว่าจะเพิ่มมากขึ้นใน 25 ปีข้างหน้า 150%

 

     สาเหตุที่จำนวนผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มจำนวนแบบไม่ธรรมดาเรียกว่า "พุ่ง"จะดีกว่ามะ...... ก็มีสาเหตุมาจากการขยานตัวของจำนวนประชากร และกลุ่มผู้สูงอายุก็มากขึ้น "อันนี้คงไม่ว่ากัน..สาเหตุจากผลิตกันมาก แก่แล้วไม่ตาย...คงไม่ต้องทำอารัยเนอะ" แนวโน้มที่นิยมรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพแป้ง ขนม  เนย ของหวาน.... รักความสบายใช้ชีวิตนั่งๆนอนๆ ถ้าเป็น แบบ ฟ้าใส สะใภ้ เจ้าสัว ก็ไม่ต้องเป็นเบาหวาน ได้ออกกำลังกายทำไร่ไถนาบ้าง..ไม่ใช่งาน office อย่างเดียวเลย แล้วก็อ้วนอวบเป้นโรคอ้วนกันเยอะมากขึ้น ...อย่างผู้เขียนก็อวบเกินไป...เขียนละครย้อนดูตัวเอง...เฮ้อ

     ในประเทศที่พัฒนาแล้วคนที่เป็นโรคเบาหวานส่วนมากมีอายุหลังวัยเกษียณ  แต่ถ้ากำลังพัฒนาอย่างเราจะกระทบช่วงอายุ 35 ถึง 64 ปี ..... เฮ้อ

      ผู้ป่วยเบาหวานมีความสุขสมบูรณ์ได้....

  •  ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานสามารถป้องกันหรือชะลอได้

  • การจัดการที่มีประสิทธิภาพ ได้ผลดีคือการควบคุม Lifestyle ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย มีนำหนักที่เหมาะสมและไม่สูบบุหรี่

  • การรักษาด้วยยา

  • การเตรียมการดูแลรักษาป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน

  • การช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานให้ได้รับความรู้และมีทักษะในการดูแลจัดการตัวเองในสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งสำคัญของความสุข สุขภาพดีในชีวิต

      

 โรคเบาหวานป้องกันได้

       การป้องกันเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นไปได้ และควรเริ่มต้นปฏิบัติได้ ณ บัดnow

       การศึกษาพบว่าการควบคุม lifestyle ปรับเปลี่ยน อาหาร ออกกำลังกายสามรถลดการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ดีกว่าการรับประทานยาเสียอีก............

       อัศจรรย์.....ผลแห่งการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและอาหารที่มีผลต่อสาเหตุการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหัวใจโคโรนารี

  Source: Circulation: J.A. Iestra, Kromhout, Y.T. van der Schouw, D.E. Grobbee, HC. Boshuizen, W.A. van Staveren,  
Effect Size Estimates  of Lifestyle and Dietary Changes on All-Cause Mortality in Coronary Artery Disease Patients 
A Systematic Review  http://www.circ. ahajournals.org/cgi/content/full/112/6/924#TBL4
ปราณี ลัคนาจันทโชติ  ผู้เล่าเรื่อง
   
หมายเลขบันทึก: 370924เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2010 21:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นการจัดการความรู้+การเล่าเรื่องได้ดีจัง ชื่นชมค่ะ

  • ภาระหน้าที่ เราชั่งยิ่งใหญ่
  • ควรต้องเป็นวะระแห่งชาติ
  • ต้องตื่นตัว(เช่นเดียวกับภาวะโลกร้อน)
  • จริงนะพี่มด  ไม่ได้ประชดเลยสักนิด

น้องมดคะ

เป็นวาระแห่งชาตินั่นน่าจะถูกต้องเลย ดูตัวเลขที่พุ่งกระฉูดไม่สนใจโรคข้างเคียงแบบนี้

ต้องนำยุทธศาสตร์ lifestyle มาพิจารณาด่วนเลยดีไหมคะ

พี่ว่าอีก 10 ปีนั้นดูว่าจะช้าไปแล้ว เอาใกล้ๆนี่เห็นจะๆ เด็กยุคนี้มี

มีแนวโน้มที่จะป่วยด้วยโรคอ้วน โรค เบาหวานสาเหตุเพราะมีพฤติกรรมเสี่ยงนั่นอง

แต่อย่างไรก็ตาม 3 ปีนี้ ลุยดีๆ อาจลดปริมาณ หรืออย่างน้อยก็คงสภาพไว้ก็ยังดี

สิงหา 3 -4 พี่ไม่อยู่ไปแก่งกระจาน

12-15 ไปชัยภูมิ

นอกนั้นว่าง

น้องกำหนดวันมาเลย

อ้อ.เชิญดร.ป๊อบด้วยดีไหม

โอกาสงามๆอย่างนี้หาไม่ได้อีกแล้ว

 

styleการกินที่เน้นถูกใจ ถูกจังหวะสังคมนิยมก็กินแล้ว

คุณภาพเพื่อชีวิตนั้นอย่าได้พูดถึง แม้พ่อแม่ก็เตือนไม่ได้

โยนมาให้ครูช่วยปราบ บอกว่าช่วยสอนลูกให้ทีเรื่องการเลือกกินนี้

น่าคิดจริงๆนะ.....

 

 

ขอเรียนรู้ด้วยคนนะคะ และขออนุญาตินำไปเล่าต่อด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท