การจัดพิมพ์ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง อักษรโรมัน


ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง

ศาสตราจารย์ ดร. ปัญญา บริสุทธิ์ นายกราชบัณฑิตยสถาน ได้กรุณาให้คำแนะนำในการจัดพิมพ์ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง อักษรโรมัน ซึ่งจะจัดพิมพ์เป็นชุด 40 เล่ม ใน พ.. 2554 ด้วยความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญจากราชบัณฑิตยสถาน

โครงการพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน ได้รับพระเมตตาจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงรับเป็นประธานกิตติมศักดิ์ ตั้งแต่ พ.. 2547 และได้เสด็จจาริกไปพระราชทานชุดปฐมฤกษ์ในต่างประเทศในปี 2548 ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง อักษรโรมัน ชุด 40 เล่ม ได้จัดทำขึ้นในปี พ.. 2549 เพื่อสนองพระราชประสงค์ให้เกิดการศึกษาพระไตรปิฎกสำหรับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะชาวต่างประเทศที่คุ้นเคยกับอักษรโรมัน

ปัจจุบันปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิงได้จัดทำเป็นฐานข้อมูลและเผยแผ่เป็นธัมมทานในระบบอินเตอร์เน็ทตั้งแต่ พ.. 2552 ซึ่งหากพิมพ์เป็นเล่มละประมาณ 400 หน้า จะสามารถจัดพิมพ์ได้ไม่น้อยกว่า 2,000 เล่ม ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ จากราชบัณฑิตยสถานได้มีส่วนให้คำปรึกษาแก่กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ตั้งแต่ปี พ.. 2542 อาทิ ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา (ภาษาไทย); .สิริ เพ็ชรไชย ปธ.9 (ภาษาปาฬิ); พระธรรมปิฎก ป.. ปยุตฺโต (บทนำเรื่องการสังคายนาสากลนานาชาติ); . วิสุทธิ์ บุษยกุล (ภาษาอังกฤษ); . เสถียรพงษ์ วรรณปก ปธ.9 (พุทธศาสนา); .ดร. พงษ์ศรี เลขะวัฒนะ (การแปลภาษาอังกฤษ); ท่านผู้หญิงวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ประวัติศาสตร์); พล.. ... ศุภวัฒน์ เกษมศรี (ประวัติศาสตร์ ร.5); . มณีวรรณ กมลพัฒนะ (สหสาขาวิชา); .กิติคุณ ดร. วิจินตน์ ภาณุพงศ์ (สัททอักษรสากลปาฬิ/International Phonetic Alphabet Pāḷi); .ดร. เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต (วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยีการพิมพ์); รศ.ดร. นิตยา กาญจนะวรรณ (ภาษาในพระไตรปิฎกจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช); .ดร.นพ.ปณต มิคะเสน (การเผยแผ่พระไตรปิฎกสากลในต่างประเทศ); .นพ. สุรพล อิสรไกรสีล (การเผยแผ่พระไตรปิฎกสากลในต่างประเทศ); .เกียรติคุณ ดร. ปัญญา บริสุทธิ์ (คำนำการพิมพ์ธัมมบท) เป็นต้น

Tipiṭaka Studies Reference 2011 President of the Royal Institute of Thailand, Prof. Dr. Panya Borisut, is presented for inspection with a draft edition of the Tipiṭaka Studies Reference which will be published in a 40 volume-set in 2010. This project is the result of a collaboration between the World Tipiṭaka Project and experts from the Royal Institute in Bangkok. Since 2002, experts from the Royal Institute of Thailand has assisted the World Tipiṭaka Project in Roman Script in many fields, for example, the Most Ven. P. Payutto, Introduction to Great International Council Edition; Prof. Visudhi Busyakul, English Translation; Siri Petchai, Pāḷi Tipiṭaka; Prof. Dr. Vichin Panupong, International Phonetic Alphabet for Pāḷi (IPA Pāḷi); Prof. Dr. Piamsak Menasveta, Image Technology.

 

จดหมายเหตุดิจิทัลจากกองทุนสนทนาธัมม์นำส ุข ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ผู้ดำเนินโครงการพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน พ.. 2542-ปัจจุบัน

Digital Archives from the M.L. Maniratana Bunnag Dhamma Society's World Tipiṭaka Project in Roman Script, 1999-2009.

World Tipiṭaka Project :

Tipitakaquotation www.tipitakahall.net www.tipitakahall.info www.dhammasociety.org

Archives 1999-present : World Tipitaka Council B.E.2500 (1956) World Tipiṭaka in Roman Script Tipitaka Studies Reference 2007 Royal Patron of Tipitaka

หมายเลขบันทึก: 370547เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2010 20:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท