AAR มหกรรมจัดการความรู้เรื่อง “สถาบันการเงินเพื่อสวัสดิการชุมชน”


สรุปจากแบบสอบถาม

สิ่งที่คาดหวังว่าจะได้เรียนรู้จากเวทีครั้งนี้

-          เรียนรู้ประสบการณ์ อันทรงคุณค่าที่ครอบคลุมเนื้อหาโครงการแต่ต้นจนจบรวมทั้งองค์ความรู้ที่เป็นผลจากโครงการ รวมทั้งรับความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิแห่งแผ่นดินสงขลา

-          คาดว่าจะได้ความรู้ไปเพิ่มเติมกลุ่มที่จัดตั้งอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น

-          ได้เรียนรู้ถึงกองทุนเพื่อสวัสดิการชุมชน

-          เพื่อหาแนวทางการทำงานในรูปแบบของกลุ่มกองทุนสวัสดิการในพื้นที่อื่น ๆ ให้ทำงานในพื้นที่เอง(เผื่อจะได้)

-          ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์วันละบาทของตำบลน้ำขาว

-          ได้ฟังเสียงสะท้อนของการทำงานในแต่ละพื้นที่

-          ได้กรณีตัวอย่างการนำการจัดการความรู้ (กระบวนการ)ไปใช้แล้วเกิดกลไกขับเคลื่อนต่อได้ ในที่นี้คือกรณีตัวอย่างของงานวิจัย 5 พื้นที่

-          จะได้รับความรู้เรื่องการบริหารกองทุน บริหารเงิน บริหารคน ได้ดีของทั้ง 4 ภาคเป็นอย่างไร

-          การพัฒนาการเรียนรู้กระบวนการจัดการความรู้ในทิศทางเดียวกัน เป้าหมายเดียวกันในแต่ละมุมมองในแต่ละกระบวนการทำงานในแต่ละความคิด ท้ายที่สุดอยู่ที่เป้าหมายเดียวกัน

-          มุมมองของภาครัฐ

-          แนวโน้มของรัฐที่มองพวกเราและจะลงมาดูแลสนับสนุนอะไรได้บ้าง

-          ได้ดูรูปแบบการทำงานของตำบลน้ำขาว

-          ได้รับทราบการดำเนินงานของ 5 กลุ่มนำร่อง

-          ได้ความรู้และทักษะการจัดการความรู้ฯไปปฏิบัติในหน้าที่ที่รับผิดชอบได้

-          ได้รับความรู้ควบคู่ประสบการณ์

-          เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการทำงานขององค์กรการเงินชุมชน

-          ต้องการดูความคืบหน้าโครงก่าร ผลที่เกิดขึ้น กลไกที่ใช้ จะนำไปขยายผลได้อย่างไร

-          ต้องการดู case จัดการความรู้มีเด็ด ๆ ที่ไหนบ้างทั้งเชิงบุคคล/กลุ่ม/เครือข่าย

-          เกิดความรู้ดี ๆ อะไรขึ้นบ้างและใช้กันอย่างไร

-          เพื่อการเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการเรื่องสวัสดิการ การมีส่วนร่วมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

-          แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันเพื่อการพัฒนาประโยชน์ของส่วนรวม

-          การบริหารจัดการเกี่ยวกับสถาบันการเงินและการบริหารจัดการเกี่ยวกับการดำเนินงานสวัสดิการชุมชนออมทรัพย์วันละ 1 บาท

-          ได้ความรู้เกี่ยวกับองค์กรสถาบันการเงินและสวัสดิการชุมชน (ออมทรัพย์วันละ 1 บาท)

-          ได้รับความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและสถาบันการเงินเพื่อสวัสดิการชุมชน

-          เพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ดังแนวการขับเคลื่อนสถาบันการเงิน เพื่อสวัสดิการชุมชน

-          เพื่อกำหนดแนวทางการมีส่วนร่วมของภาครัฐที่เหมาะสมสำหรับการบูรณาการชุมชน

สิ่งที่ได้รับและเกิดขึ้นจริง

-          สิ่งที่ได้ไม่ผิดจากเป้าประสงค์

                -               ด้เรียนรู้ถึงแนวทางการทำงาน ของการจัดการกองทุนซึ่งคิดว่าในชุมชนของเราน่าจะจัดการกันได้

-          ได้เห็นวิธีการทำงานของกลุ่มกองทุนสวัสดิการวันละ 1 บาท ของครูชบ

-          เห็นวิธีการทำงานของชาวบ้านที่ทำงานแล้วยังต้องมีการปรับเรื่องระบบบัญชีและวิธีคิดอีกมาก

-          ได้เห็นสิ่งที่ต้องไปปรับปรุงหรือข้อบกพร่องที่เห็นและจะไม่ให้เกิดขึ้นในพื้นที่

-          ได้ไปดูการทำสวัสดิการวันละ 1 บาท ที่ต.น้ำขาว

-          ได้แลกเปลี่ยนการทำงานกับคณะกรรมการตำบลน้ำขาว

-          5 กรณีศึกษามีความพยายามที่จะนำการจัดการความรู้ไปสร้างกระบวนการ หลายพื้นที่มีทุนอยู่แล้ว สามารถเคลื่อนตัวได้ดี ขยายต่อได้ บางแห่งล้มเหลวมาก่อนเกิดกระบวนการตื่นตัว เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พี่ช่วยน้อง น่าสนใจจริง ๆ โดยเฉพาะการนำหลักคุณธรรมมาใส่ในกระบวนการ

-          พอประมาณได้ว่าค่อนข้างชัดเจนของพระอาจารย์สุบินและของครูชบที่เป็นการพัฒนาคน

-          กระบวนการที่มีทิศทางเดียวกันเดินไปด้วยกันโดยไม่เกิดการแตกแยกเปรียบเสมือนแม่น้ำหลายสายซึ่งแต่ละสายมาบรรจบอยู่ที่เดียวกัน

สิ่งที่ไม่ได้ตามความคาดหวัง

-          เวลาที่มีคุณค่าสั้นเกินไปในความรู้สึกเสมอ

                -                    ความรู้ที่จะแลกเปลี่ยนกันในแต่ละพื้นที่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงไม่ควรคำนึงถึงแผนของข้างบน

-         เราควรคำนึงถึงตัวเราหรือชาวบ้านที่ต้องการประสบการณ์การทำงานที่เป็นรูปแบบที่ชัดเจนมากกว่า

-          ส่วนเรื่องแผนข้างบนมันจะตามมาเองเมื่อเราแข็งแรงขึ้น

-          รูปแบบการทำงานวันละ 1 บาท (คิดไว้ว่าน่าจะสมบูรณ์แบบสมคำล่ำลือ)

-          เป็นเวทีของนักวิชาการมากเกินไป

-          การบริหารกองทุนวันละบาท

-         คิดว่าจะเห็นรูปแบบการจัดเวทีที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการสะท้อนแนวคิดมุมมอง ที่กว้างขวางกว่านี้ (อย่างไรก็ตามได้เห็นความพยายามในการจัดกระบวนการให้ราบรื่น แต่ยังมีปัญหาเรื่องการจัดการ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะการผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดา)สิ่งสำคัญอยากให้การมีวินัย การรักษาเวลา และอยู่ในกระบวนการขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้อย่างเข้มข้นของทีมวิจัย

-          ได้พอสมควรที่จะเอาได้

-          ความรู้ที่ได้จากวิทยากรหลาย ๆ คนหลายแขนง

-          ความเสี่ยงเงินทุนสวัสดิการที่จะก้าวต่อไปในอนาคต

สิ่งที่จะทำต่อไป

-         ยังคงยึดมั่นทำงานภาคประชาชนและสะสมสิ่งดีๆเป็นแรงใจให้ก้าวต่อไปด้วยลมหายใจแห่งศรัทธา

-         จะทำกลุ่มที่จัดทำอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นเพราะเป็นกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ที่พระอาจารย์ตั้งให้และปฏิบัติได้ดีตลอด

-          จะเอากลับไปทำที่บ้าน

-          จะทำงานต่อยอดกองทุนสวัสดิการให้ยั่งยืนบนรากฐานที่เข้มแข็ง

-         สรุป การจัดภาพการจัดการความรู้ ของโครงการนี้นำสู่การพูดคุยในกิจกรรมของ meeting ของ สคส.

-          เจาะลึกบางกรณีศึกษาเพื่อคัดเลือกเข้าร่วมมหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 3

-         นำเอาความรู้และการปฏิบัติของแต่ละภาคนำไปพัฒนาและบูรณาการกองทุนให้ตำบลต่อไป

-          ก้าวต่อไปในการทำงานแบบมีเป้าหมายมีคุณธรรม 5 ประการ

-         นำแนวคิดของทุกภาคส่วนไปบูรณาการร่วมกัน ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแก่ชุมชนของตนเองและการรวมภาคีของภาครัฐมาร่วมในกลุ่ม

-          นำความรู้ที่ได้รับจัดการความรู้ให้กับองค์กรการเงินชุมชนในท้องถิ่น

 ข้อเสนอแนะ

-          เป็นแรงใจให้คณะทำงานทุกคน

-          กลุ่มใดองค์กรได้ กรรมการ ประธานไม่ซื่อสัตย์แล้วกลุ่มนั้นไปไม่รอดทุกกลุ่ม

-          ช่วงเวลาถามตอบน้อยเกินไป

-          ช่วงเวลาในการแลกเปลี่ยนน้อย

-          เป็นกำลังใจคะ

-          ควรจัดสัญจรไปให้ทุกภาคและควรบูรณาการทุนชุมชนให้มากกว่านี้อีก

-          ทีมวิจัยของลำปางควรปรับแผนและแนวคิดใหม่ ให้เหมือนปลาทูจริง ๆ ที่เป็นๆไม่ใช่ปลาทูที่ตายและเน่าไร้คุณธรรม 5 ประการ

-         น่าจะมีฝ่ายที่จะคาดการณ์ว่า ถ้าทำแบบนี้จะไปได้ชัดมากน้อยแค่ไหนในอนาคตในลักษณะการพึ่งพาตนเอง

หมายเลขบันทึก: 37032เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2006 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท