การป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังโดยการใช้ท่อนพันธุ์มันฯ สะอาด


ท่อนพันธุ์สะอาด เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

การเสวนาเรื่อง “การป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังโดยการใช้ท่อนพันธุ์มันฯ สะอาด” วันพฤหัสบดีที่  24  มิถุนายน 2553 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เป็นการเรียนรู้สู้ภัยเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังโดยมีการจัดกิจกรรมที่ให้ความรู้แก่เกษตรกรในรูปแบบนิทรรศการ แปลงสาธิต การทดลองทำด้วยตัวเอง การเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กับเกษตรกรคนเก่งซึ่งมาจากหลายจังหวัดตั้งแต่กำแพงเพชร ซึ่งมีลุงอุบลเป็นคนต้นเรื่องแลกเปลี่ยนข้อมูล ว่าการปลูกมันต้องมีการบำรุงต้นมันให้แข็งแรง ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี แต่จะใช้ ขี้วัว ขี้เถ้า น้ำอามิ ต้นจะสมบูรณ์ผลผลิตดี เพลี้ยไม่ค่อยเข้าทำลายหรือทนทานกว่าต้นที่ไม่แข็งแรง การปลูกที่กำแพงเพชรนิยมปลูกข้ามปีหรือเก็บเกี่ยวประมาณ 18 เดือน ทำให้ผลผลิตสูงโดยต้นทุนไม่มากนัก ลุงอุบลให้ความสำคัญในการเลือกท่อนพันธุ์ที่สมบรูณ์จะคัดต้นก่อนตัดไปทำพันธุ์เพื่อให้แน่ใจว่าได้ต้นพันธุ์ที่ดีและแข็งแรงสำหรับปลูก

สอดคล้องกับลุงวิชัย จากนครสวรรค์ที่มาขายความคิดเรื่องธนาคารแผ่นดิน คือปลูกมันสำปะหลังให้มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 18 เดือน และเก็บได้ทุกปี เป็นความชาญฉลาดในการจัดสรรพื้นที่ปลูกมันฯ หากเรื่องปลูกเป็นปีแรก จงอย่าเก็บผลผลิตทั้งหมด ให้ฝากธนาคารแผ่นดินไว้ 15 เปอร์เซ็นต์ พอฝนมาก็ตัดเป็นท่อนพันธุ์ปลูกต่อ ต้นที่ตัดก็ให้แตกเป็นยอดใหม่ไม่เก็บผลผลิต ปีหน้าเก็บเกี่ยว มันฯก็จะได้ผลผลิตเพิ้มขึ้น

จากจังหวัดเลยปีนี้ประสบปัญหาแล้งต้องเลื่ยการปลูกล่าออกไป แต่เปอร์เซ็นต์ความงอกยังสูง 80-90 การเก็บท่อนพันธุ์เพื่อรอปลูกทำโดยตั้งไว้กลางไร่ พ่นด้วยสารฆ่าแมลงไทอะมิโธแซม ก่อนปลูกตัดเป็นท่อนสั้น ๆ แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารฆ่าแมลง และไม่นำท่อนพันธุ์จากแหล่งอื่น ๆ เข้ามาในพื้นที่

ขอนแก่น เกษตรกรรายหนึ่งนำระบบน้ำมาช่วยในการผลิตมันสำปะหลังแต่ก็เน้นว่าต้องบำรุงดินก่อนปลูก ทั้งขี้ไก่ หินฝุ่นและปุ๋ยเคมี

เกษตรกรจากหลายพื้นที่ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แต่ทุกรายล้วนเน้นให้เป็นว่าการปลูกมันต้องบำรุงให้มันแข็งแรงจึงจะให้ผลผลิตและสู้ภัยเพลี้ยแป้งได้ และเกษตรกรยังให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดพื้นที่ปลูกเพื่อใหสามารถจัดการได้ง่ายขึ้นมากกว่าการเพิ่มพื้นที่ปลูก การไถระเบิดดินดานจำเป็น เกษตรกรที่ทำในปีแรกผลผลิตอาจต่ำ แต่ปีต่อๆไปผลผลิตสูงขึ้นมาก

และอากให้ความหวังแก่เกษตรกรในการสู้ภัยเพลี้ยแป้ง และไม่ต้องใช้สารเคมีโดยไม่จำเป็น

แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก

ใช้พันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่

ปรับปรุงบำรุงดิน

ปลูกต้นฝน

อนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ

ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

หมายเลขบันทึก: 370240เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2010 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากรู้ว่าผลผลิตมันจะได้ประมาณไร่ละกี่ตัน ที่อยู่กาญ ครับ

ผลผลิตมันตามศักยภาพสุงแต่การผลิตในบ้านเราก้จำกัดด้วยดินและน้ำทำให้ผลผลิตไม่สุงมากลองดูข้อมูลกาญจนบุรีที่ www.doa.go.th/cassava หัวข้อคาดการณ์ผลผลิตแล้วเลือก จังหวัด อำภอ ตำบล ผลผลิตในสภาพอาศัยน้ำฝนจะประมาณมาให้ เกาตรกรที่มีการปรับปรุงดิน เช่นการเพิ่มอินทรียืวัตถุที่หาได้ในท้องถิ่นทำให้โครงสร้างของดินดี ก็สามารถยกระดับผลผลิตมันได้ แทบไม่ต้องพึ่งปุ๋ยเคมี เกษตรกรแถวกำแพงเพชรใช้กันมาก เก็บมัน 2 ปี หรือ 18 เดือน ผลผลิต10 ตัน ชิว ๆ พอเก็บผลผลิตแล้วก็ใส่กากตะกอนจากโรงงานอ้อยไถกลบพักดินไว้ ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท