วิธีเขียน+กล่าวคำขอบคุณ(ขอบใจ)


อาจารย์แห่งเว็บ ไซต์ 'eHow' ตีพิมพ์เรื่อง 'How to write a thank you note' = "วิธีเขียนโน้ต (บันทึก) คำขอบคุณ (ขอบใจ)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ eHow ]

----//----

ท่านอาจารย์ สุชา ณ พัทลุง ครูภาษาอังกฤษที่มีประสบการณ์ไปเรียนจิตวิทยาภาษาอังกฤษในสหรัฐฯ สอนไว้ประมาณเกือบ 30 ปีก่อนว่า ฝรั่ง (ชาวตะวันตก) มีธรรมเนียมในการขอบคุณไม่เหมือนคนตะวันออก

ตัวอย่างเช่น เวลาได้รับของขวัญ... คนเอเชีย (ตะวันออก รวมทั้งคนไทย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ) มีแนวโน้มจะซ่อนความรู้สึก ทำเป็นเหนียมอายหน่อยๆ (จะได้ไม่ดู "หน้าด้าน"), เรื่องนี้อาจทำให้ฝรั่ง (ชาวตะวันตก) แปลกใจได้

...

ชาวตะวันตกมี มารยาทในการรับของขวัญ คือ ต้องรีบทำเป็นตื่นเต้น (excited) และแสดงความตื่นเต้นออกมาทันที (express instantly), อาจมีคำอุทาน เช่น 'Wow! (ว่าว)' ฯลฯ อะไรทำนองนี้

ผู้เขียนมีประสบการณ์ในการเดินทางไปอินเดีย เนปาล พม่า และกัมพูชา ทำให้พอเข้าใจว่า ทำไมเืมืองไทยถึงน่าเที่ยว, คำตอบอย่างหนึ่ง คือ คนไทยตอบสนอง (respond) ต่อทิป (tip) หรือเงินขอบคุณดีกว่าชาติอื่นๆ

...

คนไทยนั้น... ถ้าใครให้เงินแล้วจะรีบยิ้ม และไหว้แทบจะทันที, ทำให้คนทั่วโลกมีแนวโน้มจะชอบ "ถีบคนไทย (ขออภัย... จริงๆ คือ 'tip' = ทิพ ให้เงินขอบคุณสำหรับการบริการ)"

บริกรชาวเนปาลมีธรรมชาติยิ้มแย้มแจ่มใสดีมาก ทำให้เราพอเดาได้ว่า บ้านนี้เมืองนี้... ถ้าไม่นักการเมืองทำป่วนแล้ว ต่อไปจะทำการท่องเที่ยวไปได้ไกล

...

อาจารย์แห่ง เว็บไซต์ 'eHow' แนะนำว่า เมื่อเราได้รับของขวัญ หรืออะไรดีๆ เข้ามาในชีวิต... เราควรกล่าว หรือเขียนบันทึกคำขอบคุณ (ขอบใจ) ดังต่อไปนี้

...

(1). ย่อหน้าแรก

ถ้าเป็นจดหมายภาษาอังกฤษจะเริ่มด้วยวันที่หรือ "วัน-เดือน-ปี" และ 'Dear... (= "ที่รัก" ในที่นี้เป็นเพียงคำสุภาพ ไม่ได้หมายถึงความรัก แต่เป็นความปรารถนาดีหรือเมตตาอะไรทำนองนี้ + ชื่อผู้รับ)

ถ้าเป็นคำพูด เช่น ได้รับของขวัญหรือทิปต่อหน้า ฯลฯ... การยิ้มตามฐานะ ก้มหัวให้ ไหว้แบบไทย หรือแสดงกริยาอาการเชิงบวกเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการตีฟอร์ม เช่น วางเฉย ทำขรึม ฯลฯ

กระดาษที่ใช้เขียนคำขอบคุณ+ขอบใจควรเป็นกระดาษที่สะอาด สุภาพ (ไม่จำเป็นต้องแพง ยกเว้นผู้รับมีรสนิยมชอบความ "เลิศ-หรู-เลอ(ค่า)"

ข้อควรระวัง คือ ถ้าเราเป็นคนง่ายๆ ทำอะไรสบายๆ... ควรระวังการเข้าใจผิด เช่น อนุรักษ์ธรรมชาติมากจนใช้กระดาษ 2 หน้าทุกครั้ง ฯลฯ, แบบนี้ควรใ้ช้กับคนที่สนิทและเข้าใจกันจริงๆ เท่านั้น และไม่ควรใช้กับหัวหน้าหน่วยงาน (boss)

...

(2). ขอบคุณหรือ ขอบใจ

บอกไปว่า ขอบคุณสำหรับเรื่องที่เราได้รับอะไร เช่น ของขวัญนั้นๆ เป็นอะไร ฯลฯ เพื่อแสดงความระลึกถึง

...

(3). อธิบายว่า ของที่ได้รับมีค่า หรือเหมาะสมกับเราอย่างไร

ตัวอย่างเช่น ถ้าได้รับต้นไม้สำหรับปลูกหลังบ้าน ฯลฯ อาจจะบอกว่า ต้นไม้นี้เป็นต้นที่เราชอบ ปลูกตรงไหนน่าจะพอดี หรือบอกอะไรในเชิงบวกสักหน่อย

แบบนี้ดีกว่าการขอบคุณหรือเขียนจดหมายที่คล้าย "ใบเสร็จรับเงิน" คือ บอกว่า ได้รับของแล้ว (จบ)

...

(4). บอกว่า เราจะใช้ของขวัญนั้นอย่างไร

ตัวอย่างเช่น สมมติว่า ได้รับของขวัญเป็นวิดีโอฝึกโยคะ... เราอาจตอบว่า คงจะรีบหาเวลาชม และฝึกท่าที่ไม่ยากดูก่อน เพื่อให้สุขภาพดีขึ้น ฯลฯ

ถ้าได้ัรับของขวัญจากคุณแม่คุณพ่อเป็นเงิน... แบบนี้ต้องระวังการใช้เงินให้มาก เช่น จะนำไปจ่ายค่าเทอม (จ่ายค่าเทอมแล้วควรส่งสำเนาไปให้ท่านดูด้วย) ฯลฯ

ถ้าได้รับเป็นดอกไม้ตอนไม่สบาย ควรตอบขอบคุณเมื่อออกจากโรงพยาบาลหรือฟื้นไข้ เช่น บอกผู้ให้ว่า ขอบคุณสำหรับกำลังใจ ตอนนี้อาการดีขึ้นมากแล้ว ฯลฯ

...

(5). จบท้ายด้วย คำขอบคุณ

จดหมายภาษาอังกฤษจบด้วยสำนวนง่ายๆ คือ 'With thanks, ...(ลงชื่อ)' = "ด้วยความขอบคุณ (หลายๆ ครั้ง), ... (ลงชื่อ)"

...

(6). หาโอกาสตอบ แทน

หาโอกาสตอบแทนความขอบคุณให้เป็นรูปธรรม หรือทำอะไรให้ "มากกว่าคำขอบคุณ" เช่น ส่งคำขอบคุณไปพร้อมดอกไม้ ชอคโกแล็ต คำเชิญไปทานอาหารด้วยกัน ฯลฯ เพื่อให้มิตรภาพยืนยาว

กล่าวกันว่า ผู้ปรารถนาบุญนั้น "รับน้อย-ให้มาก", เพื่อนกิน (คนโลภมาก-ไม่ควรคบ) นั้น "รับมาก-ให้น้อย", ส่วนผู้ปรารถนามิตรภาพนั้น "รับบ้าง-ให้บ้าง", เพราะฉะนั้นถ้าอยากมีมิตรแท้... อย่ารับลูกเดียว เมื่อได้รับอะไรแล้วควรให้อะไรตอบแทนไปบ้าง จึงจะเป็นเพื่อนที่ดี

...

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

  > ภาพรอยยิ้มแบบเนปาล > [ wikipedia ]

[ Twitter ]

ที่ มา                                                         

  • Thank eHow; wikipedia ;
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 27 มิถุนายน 2553.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 369863เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2010 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณค่ะคุณหมอ

     การให้นั้น ก่อให้เกิดความสุข ทั้งผู้ให้และผู้รับ(ถ้าให้ด้วยความจริงใจนะคะ)

เพราะฉะนั้น ยิ้มที่ผู้รับ ยิ้ม นั้นต้อง เป็นยิ้มที่ไม่ได้ฝืน หรือแกล้งยิ้ม เพราะเป็นยิ้มของความสุขน่ะค่ะ

เรียนถามอาจารย์ ถ้าขอบคุณทาง จดหมายแมว(E mail)

น้ำหนักของคำที่ใช้ กับผู้รับใช้อย่างไรดี เพื่อเป็นความรู้ค่ะ

 

เช่น กรณีสอบถามกลางคืน รุ่งเช้าได้คำตอบแล้ว (อาจารย์ญี่ปุ่น จะมีการทำงานและตอบจดหมายเราเร็วมากค่ะ)

คล้ายกัน แต่ตอบเราช้ากว่านั้น ให้เราคอยเป็นสัปดาห์ (อาจารย์ซีกโลกตะวันตก)

ตอบเราแบบแบ่งรับแบ่งสู้

ตอบแบบมีเงื่อนไข

 

ตอนนี้ที่ใช้อยู่เช่น Thank you for your prompt support. Thank you for your reply. etc

น่าจะมีอีกนะคะ

 

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบ

 

ถ้าเราตอบขอบคุณใครเฉยๆ อาจจะดูห้วน หรือแห้งแล้งไปในสังคมตะวันตกครับ... // วิธีที่ดี คือ 'appreciate' หรือชมไปว่า คำตอบของอีกฝ่ายหนึ่งมีค่าอย่างไร เช่น 'Your suggestion is very helpful.' = "คำแนะนำของท่านมีประโยชน์มาก" > และบอกไปว่า มีผลอย่างไร เช่น ถ้าอาจารย์แนะนำให้แก้ไขรายงาน เราน่าจะลองบอกว่า คำแนะนำนั้นส่งผลต่อรายงานของเราอย่างไร เช่น 'I had searched the reference again and again, and find new information. And this is my revised report.' = "ผม(ดิฉัน) ได้ค้นหาเอกสารอ้างอิงใหม่หลายครั้ง และพบข้อมูลใหม่. และี่นี่คือรายงานใหม่ที่ได้ทบทวน (พิมพ์-แก้ไข) ใหม่แล้ว"

ขอบคุณค่ะ คุณหมอ สำหรับคำชี้แนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท