อุบัติภัยจากสารเคมี การเตรียมความพร้อมการจัดการอุบัติภัยจากสารเคมี และการเรียนการสอนวิชาอาชีวเวชศาสตร์สำหรับนิสิตแพทย์


อุบัติภัยจากสารเคมี การเตรียมความพร้อมการจัดการอุบัติภัยจากสารเคมี และการเรียนการสอนวิชาอาชีวเวชศาสตร์สำหรับนิสิตแพทย์

ทีมงานอาชีวเวชกรรม รพ.พุทธชินราช รพ.อุตรดิตถ์
และเครือข่าย ไปดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านอาชีวเวชศาสตร์
รพ.ระยอง และ สมุทรสาคร 23-25 มิย. 2553

การเตรียมความพร้อมการจัดการอุบัติภัยจากสารเคมี

โรงงานหรือสถานประกอบการ มีถังบรรจุสารเคมี
จึงมีความเสี่ยงที่อาจจะรั่วไหลได้
สารเคมีบางชนิดเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส
สารเคมีที่เป็นแก๊ส บางอย่างเบากว่า หรือหนักกว่าอากาศ

รถบรรทุกสารเคมี บนถนน ระหว่าง กรุงเทพ ชลบุรี ระยอง
เช่น รถบรรทุกกำมะถันเหลว รถบรรทุก กรด ด่าง
เช่น กรดกำมะถัน โซเดียมไฮดรอกไซด์

ภาพที่ 1 รถบรรทุก สารเคมี ไปฉะเชิงเทรา ชลบุรี UN Number มองไม่เห็นชัด

ภาพที่ 2 รถบรรทุกสารเคมี มีป้ายชื่อ กำมะถันเหลว
UN number= 2448 หมายถึงสารเคมีคือ Sulfur, molten

ภาพที่ 3 รถบรรทุกโซเดียมไฮดรอกไซด์ มีฤิทธิเป็นด่างอย่างแรง
และเป็นสารกัดกร่อน UN Number = 1824

ซึ่งจะค้นหาคุณสมบัติ การติดไฟ (Flamable) ปฏิกริยารุนแรง (Reaction)
และอันตรายต่อสุขภาพ (Health hazard)
ของสารเคมี จาก Material Safty Data Sheet (MSDS)
ได้ที่ Website ของกรมควบคุมมลพิษ
หรือ Website ของ NIOSH, ACGIH, OSHA

ห้ามเข้าที่เกิดเหตุก่อนที่จะทราบว่าสารเคมีหรือแก๊สพิษนั้นคืออะไร
เพราะสารเคมีหรือก๊าซพิษอันตราย อาจจะไม่มีสีและไม่มีกลิ่น
Hazardous Material Team (HAZMAT)
ใส่ชุดกู้ภัย Level A, B, C หรือ D ตามความเหมาะสม
จอดรถเหนือลม ในที่สูงกว่าบริเวณเกิดเหตุ หันหน้ารถออกจากที่เกิดเหตุ
(Lecture note ของ นพ.กรรขิต คุณาวุฒิ : พ.ศ.2542)

เมื่อเกิดอุบัติภัยจากสารเคมี ทีม "HAZMAT"
จะนำตัวผู้ป่วยจาก Hot zone ไปที่ Warm zone
ให้ล้างตัวผู้ป่วย (Decon) ที่บริเวณ Warm zone ก่อนเคลื่อนย้าย
ที่ตั้งของหน่วยปฐมพยาบาลจะอยู่บริเวณ Cold zone

ล้างตัว (Decon) เพิ่มเติมอีกเมื่อมาถึงห้องฉุกเฉิน (ER)
ห้องล้างตัว ของ รพ.ระยอง
มีม่านพลาสติก และน้ำจากฝักบัว
สำหรับผู้ป่วย และสำหรับเจ้าหน้าที่ ที่ให้การช่วยเหลือ
บริเวณหน้าตึก ER

ภาพที่ 4 ข้อปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ให้การช่วยเหลือและขั้นตอนการถอดชุด Hazmat suit

ภาพที่ 5 การล้างตัว (Decontaminate) และวิธีการล้างตัว (Decontamination)

"Decon" ล้างตัว ด้วยน้ำ ไม่ให้ปนเปื้อนจากสารเคมี

สำหรับสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นด่างบริเวณที่ปนเปื้อนจะเกาะติดผิวหนังเป็นเมือกเหนียวต้องใช้แปรงขัดด้วย

แต่ สำหรับ Phenol ใช้วิธี Dry Decon


ภาพที่ 6 ห้องล้างตัว Decontaminated Room

ภาพที่ 7 ยาต้านพิษ Antedotes ของ Cyanide และ Phenol
ยาเหล่านี้ีมักจะไม่มีผู้สนใจนำเข้าเพราะได้กำไรน้อย
หรือผลิตแล้วผลได้ไม่คุ้มทุน เช่น EDTA, Penicillamine,
2.5% Calcium Gluconate Gel

โปรแกรมคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับสารพิษ Hazardous Substance
ที่ควรมี เช่น CAMEO, ALOHA, POISON-2004

ภาพที่ 8 การเตรียมความพร้อมการจัดการอุบัติภัยจากสารเคมี โรงพยาบาลระยอง
Level A จะเป็นแบบ Encapsulated SCBA (Self Contained Breathing Apparatus)
ชุดดำน้าเรียกว่า SCUBA (U คือ Under water)
Level B จะเป็นแบบมีถังอากาศอัดสะพายหลังอยู่ด้านนอก
Level C มีหน้ากากกรองไอพิษ ถุงมือ รองเท้าบู๊ต
Level D ชุดเครืองแบบที่ใช้ปฏิบัติงานตามปกติ


การเรียนการสอนหัวข้ออุบัติภัยจากสารเคมี และ Toxicology
กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.พุทธชินราช
ได้จัดสอนนิสิตแพทย์ ม.นเรศวร และ รพ.พุทธชินราช พิษณุโลก
ในส่วนของวิชาอาชีวเวชศาสตร์ (Occpational Medicine)
จัดการเรียนการสอน 2 สัปดาห์ ตั้งแต่ปี พ.ศ 2542
โดยได้รับความช่วยเหลือจาก นพ.ไพจิตร ปวะบุตร และ
ทีมงาน (1) พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ ผอ.กองอาชีวอนามัย กรมอนามัย
(2) ดร.วันทนี พันธุประสิทธิ์ (3) ดร.สสิธร เทพตระการพร
(4) นพ.กรรชิต คุณาวุธ (5) ดร.นพ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์

Course Outlines
(1)ปรัชญาอาชีวเวชศาสตร์ สถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพ
กฏหมายที่เกี่ยวข้อง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พรบ.โรงงาน
กองทุนประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน
สิ่งคุกคามสุขภาพ (Health Hazard) การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
โรคจากการทำงาน (Occupational Disease) โรคเกี่ยวเนื่องจากงาน (Work related disease)
Walkthrough Survey (ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคบริการ)
(2) สุขศาสตรอุตสาหกรรม (Industrial hygine)
ตรวจวัดที่สิ่งแวดล้อม เช่น ตรวจวัด แสง เสียง ความร้อน
ตรวจสารเคมีและแก๊ส Personal pump,
(3) การยศาสตร์ (Ergonomic)
(4) อุบัติภัยจากสารเคมี พิษวิทยา (Toxicology)
(5) การตรวจร่างกายผู้ประกอบอาชีพ ตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง
เช่น ตรวจตา หู (Audiogram) ปอด (Spirometry)
การส่งตรวจปัสสาวะ (Phenol, Hippuric acid) การส่งตรวจเลือด

วิชา Community Family และ Occupational Medicine (C F O M)
ในปี พ.ศ.2553 นิสิตแพทย์ปี 4 ปีนี้ คือรุ่นที่ 13
นิสิตแพทย์ ปี 5 ปีนี้ คือรุ่นที่ 12 เป็นนิสิตรุ่นแรกของหลักสูตร พ.ศ.2549

นิสิตแพทย์ปี 4 เรียน CFOM-1 เวลาเรียน 4 สัปดาห์ .........(4 หน่วยกิต)
นิสิตแพทย์ ปี 5 เรียน CFOM-2 เวลา 6 สัปดาห์ ..............(6 หน่วยกิต)
พ.ศ.2554 นิสิตแพทย์ปี 6 วิขา CFOM-3 เวลา 4 สัปดาห์ ..(4 หน่วยกิต)

กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์ แห่งประเทศไทย (ก ส พ ท)
Consortium of Thai medical schools
และคณาจารย์โรงเรียนแพทย์ 16 แห่ง
ได้ประชุมเมื่อ 4 กย. 2552 กทม.ได้เสนอ
เกณฑ์มาตรฐาน สิ่่งที่นิสิตแพทย์ต้องรู้ (Must Know)
และสิ่งที่นิสิตแพทย์ควรรู้ (Should Know)
ด้านอาชีวเวชศาสตร ในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

สิ่่งที่นิสิตแพทย์ต้องรู้ (Must Know)

Knowledge
1. Hazard recognition in workplace
2. Evaluation risk and control in hazards
3. Clinical feature and investigation of common occupational disease
4. Principle of occupational safety
5. Emergency treatment of injury or work health hazards
6. Principle of health promotion education and behavioral modification
7. Principle of health and environment surveillance
8. Principles of assessing fitness for work
9. Occupational Health in health care worker
10. Principle of toxicology
11. Physical chemical and biological hazards arising from industrial activities
12. Elicit patient concern about exposure
and establish a therapeutic alliance incorporating risk communication

Experience
1. Surveillance of worker occupational injury and disease
2. Teamwork

Competency
1. Diagnosis work related in health and differential diagnosis of work related environment related disease
2. Take a history and physical examination proficiently
3. Recognize exposures to certain hazards
4. Use computer for storage and analysis of data

Link to:
http://gotoknow.org/blog/nopadol/366285

ผศ.(พิเศษ)นพ.นภดล สุชาติ วทบ. พบ.
แพทย์อบรมอาชีวเวชศาสตร์ หลักสูตร 2 เดือน พ.ศ.2538
M.P.H. (Antwerp) พ.ศ.2540
อว.เวชศาสตร์ครอบครัว พ.ศ.2544
อว.ระบาดวิทยา พ.ศ.2549

Link to: General Practice
http://gotoknow.org/blog/nopadol

Link to: Epistat
http://gotoknow.org/blog/epistat

หมายเลขบันทึก: 369743เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2010 08:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ธันวาคม 2016 06:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท