สูดกลิ่นกุหลาบยามหลับช่วยความจำดีขึ้น


สูดกลิ่นกุหลาบยามหลับช่วยความจำดีขึ้น

สูดกลิ่นกุหลาบยามหลับช่วยความจำดีขึ้น

   

 


กลิ่น กุหลาบจะช่วยกระตุ้นหน่วยความจำ ทำให้สมองไว-จำได้ดีขึ้นในวันรุ่งขึ้น

สำนัก ข่าวรอยเตอร์ รายงานว่าทีมนักวิจัยจากประเทศเยอรมันทำการศึกษาพบว่ าดมกลิ่นหอมอ่อน ๆ ของดอกกุหลาบในระหว่างการนอนหลับช่วยให้คนมีความจำดี ขึ้นกว่าเดิมในวันรุ่ง ขึ้น โดยทีมนักวิจัยทีมนี้ ได้ศึกษาพบถึงกลไกที่แสดงให้เห็นว่า คนเราสามารถใช้กลิ่นเป็นตัวกระตุ้นการสร้างหน่วยความ จำใหม่ๆ ในขณะที่เรานอนหลับและส่งผลให้อาสาสมัคร ที่เข้าร่วมการวิจัยมีความสามารถในการจดจำได้ดีขึ้นก ว่าเดิม

ผลการ ศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ชื่อดัง ไซแอนซ์ ซึ่งระบุว่าในระหว่างที่คนเรานอนหลับ ความจำจะถูกประสานรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันทำให้มีปร ะสิทธิภาพที่สูงขึ้น และกลิ่นหรือแม้กระทั่งตัวกระตุ้น อื่นๆ ก็สามารถกระตุ้นให้กระบวนการดังกล่าวนี้ ซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดีขึ้นสามารถพัฒนาได้ดียิ่ งขึ้น

แจน บอร์นและคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่ง ลูเบ็ก ในประเทศเยอรมันนี้ได้ทำการศึกษาโดยให้อาสาสมัครจำนว น 74 คนเรียนรู้ในการเล่นเกมส์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายเกมส์เพิ่งความสนใจหรือ “คอนเซ็นเตรชั่น” ที่ให้ผู้เล่นต้องจับคู่วัตถุหรือไพ่ซึ่งจะเปิดให้ดู แค่ครั้งเดียวก่อน

ทั้ง นี้พบว่าในขณะที่ให้อาสาสมัครกำลังทำการทดสอบนักวิจั ยได้ให้อาสาสมัครบาง ส่วนสูดดมกลิ่นกุหลาบ และหลังจากนั้นอาสาสมัครก็เข้าไปนอนในอุโมงค์เครื่อง สแกนสมองเอ็มอาร์ไอซึ่ง ใช้เพื่อศึกษาดูการทำหน้าที่ ี่ของสมองอาสาสมัครในระหว่างที่พวกเขากำลังนอนหลับ

และ ในระหว่างการนอนหลับของอาสาสมัครทีมของบอนก็ได้ปล่อย กลิ่นหอมกุหลาบชนิดเดิม เข้าไปให้พวกเขา ได้ดมอีกหลายระยะ ในวันถัดมาอาสาสมัครถูกให้ทำแบบทดสอบอีกครั้งจากที่ไ ด้เรียนรู้ไปแล้วเมื่อ วาน “หลังจากคืนที่นอนสูดกลิ่นกุหลาบแล้วผู้เข้าร่วมการว ิจัยใจสามารจดจำได้ 97.2 % ของคู่ไพ่ที่พวกเขาได้เรียนรู้ก่อนไปก่อนนอน” ในขณะที่กลุ่มอาสาสมัครที่ไม่ได้ให้สูดดมกลิ่นหอมกุห ลาบสามารถจดจำได้เพียง 86 % ของคู่ไพ่

นัก วิจัยทีมนี้กล่าวด้วยว่าระยะของการนอนหลับก็มีส่วนสำ คัญเป็นอย่างมากเนื่อง จากผลการวิจัยนี้ ก็มีส่วนเกี่ยวโยงไปถึงการถกเถียงกันเกี่ยวกับประเด็ นที่ว่ามนุษย์จะเรียน รู้ในขณะที่นอนหลับ ในลักษณะเดียวกันกับสัตว์บางประเภทที่มีการศึกษาพบกั นหรือไม่

ทั้ง นี้มีการวิจัยพบว่า หนูเป็นต้นที่เมื่อให้เรียนรู้เส้นทางเขาวงกตใหม่ ๆ แล้วจะซ้อมทบทวนการเคลื่อนไหวในขณะที่นอนหลับ และเช่นเดียวกันกับนกพวกที่มีเสียงไพเราะเหมือนเพลง ก็จะซ้อมร้องเพลงของพวกมันในขณะที่หลับเช่นกัน

ส่วนเรื่องของการดมกลิ่นหอมต่อการจำนั้น ทีมของบอนกล่าวว่า กลิ่นหอมของกุหลาบช่วยพัฒนาการเรียนรู้จริงๆ โดยจะต้องให้ในระยะการนอนหลับที่เรียกว่า คลื่นต่ำ หรือ สโลว์เวฟ แต่ผลของกลิ่นนั้นพบว่าไม่มีผลเลยเมื่อให้ดมในระยะกา รหลับที่เปลือกตากรอกไป มา

 

 

 

ที่มาข้อมูล  http://healthyguide.exteen.com/20100619/entry-1  สนใจอ่านเพิ่มเติมได้ค่ะ เรื่องดีๆแนะนำต่อๆกันไป

 

หมายเลขบันทึก: 369365เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2010 00:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณความรู้ดีๆ ถือว่าเป็นความรู้ใหม่ของหนูเลยนะค่ะ ขอบคุรที่แบ่งปันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท