กฎหมายการศึกษา


พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550

พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550

 

                ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายกำหนดว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดหลัก การบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนให้มีฐานะเป็นนิตอบุคคล และมีคณะกรรมการบริหาร เพื่อทำหน้าที่บริหารและจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชนให้มีความเป็นอิสระ โดยมีการกำกับ ติดตาม การประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เช่นเดียวกับสถานศึกษาของรัฐ นอกจากนี้เพื่อให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยรัฐพร้อมให้การสนับสนุนด้านเงินอุดหนุน และสิทธิประโยชน์อย่างอื่น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุน ด้านวิชาการ

 ให้แก่สถานศึกษาของเอกชน

 

                ในพระราชบัญญัติฉบับนี้แบ่งออกเป็น 5 หมวด คือ

หมวด 1  คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

หมวด 2  โรงเรียนในระบบ ซึ่งในหมวดนี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น 11 ส่วน

                ส่วนที่ 1  การจัดตั้ง และเปิดดำเนินการ

                ส่วนที่ 2  ทรัพย์สินและบัญชี

                ส่วนที่ 3  การอุดหนุนและส่งเสริม

                ส่วนที่ 4  กองทุน

                ส่วนที่ 5  การสงเคราะห์

                ส่วนที่ 6  การคุ้มครองการทำงาน

                ส่วนที่ 7  การกำกับดูแล

                ส่วนที่ 8  จรรยา มารยาท วินัย และหน้าที่

                ส่วนที่ 9  การโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ

                ส่วนที่ 10  การเลิกกิจกรรมและการชำระบัญชี

                ส่วนที่ 11  การอุทธรณ์

หมวดที่ 3  โรงเรียนนอกระบบ

หมวดที่ 4  พนักงานเจ้าหน้าที่

หมวดที่ 5  บทกำหนดโทษ

 

                ซึ่งก่อนจะมาพูดถึงหมวดต่าง ๆ ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ เราต้องรู้จักนิยามศัพท์ในพระราชบัญญัติ

ฉบับนี้ก่อน

               

                โรงเรียน  หมายความว่า สถานศึกษาของเอกชนที่จัดการศึกษาไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในระบบ หรือโรงเรียนนอกระบบที่มิใช่เป็นสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนตามกฏหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โรงเรียน

                โรงเรียนในระบบ  หมายความว่า โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยกำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน

                โรงเรียนนอกระบบ  หมายความว่า โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยมีความยึดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษาระยะเวลาของการศึกษา การวัด และประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา

                นักเรียน  หมายความว่า ผู้รับการศึกษาในโรงเรียน

                ผู้รับใบอนุญาต  หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตให้ก่อตั้งโรงเรียน

                ผู้จัดการ  หมายความว่า ผู้จัดการของโรงเรียนในระบบ

                ผู้อำนวยการ  หมายความว่า ผู้อำนวยการของโรงเรียนในระบบ

                ผู้บริหาร  หมายความว่า ผู้บริหารของโรงเรียนนอกระบบ

                ครู  หมายความว่า บุคลากรโรงเรียนซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน และส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ

ในโรงเรียน

                ผู้สอน  หมายความว่า ผู้ทำหน้าด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยวิธีต่าง ๆ ในโรงเรียน

นอกระบบ

                บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่า ผู้สนับสนุนการศึกษา เป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในโรงเรียน

                ผู้อนุญาต  หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน หรือผู้อำนวยการสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมอบหมาย

                คณะกรรมการ  หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

                ตราสารตั้งจัด  หมายความว่า ตราสารจัดตั้งนิติบุคคลของโรงเรียนในระบบ

                กองทุน  หมายความว่า กองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ

                พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฎิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

                รัฐมนตรี  หมายความว่า  รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

                มาตรา 5 ในพระราชบัญญัตินี้ ไม่ใช้บังคับแก่

                1. สถานศึกษาที่มีนักเรียนรวมกันไม่เกินเจ็ดคน

                2. สถานศึกษาที่คณะสงฆ์จัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาอบรม และสั่งสอนพระธรรมวินัย

                3. สถานศึกษาอื่นที่กำหนดในกฏกระทรวงตามข้อเสนอของคณะกรรมการ

 

 

 

หมวด 1  คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

 

                ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประกอบด้วย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานกรรมการ มีปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการที่

รัฐมนตรีแต่งตั้ง

                โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเป็นกรรมการ และเลขานุการ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีและอาจจะได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้ 

                ในการส่งเสริมการจัดการศึกษาเอกชนในจังหวัดหนึ่งนอกจากกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ให้มีกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชนเป็นส่วนราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขตใดเขตหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชนที่อยู่ในจังหวัดนั้น

 

 

หมวด 2 โรงเรียนในระบบ

 

                ส่วนที่ 1 การจัดตั้งและเปิดดำเนินการ

                การจัดตั้งโรงเรียนในระบบต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต โดยผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องแนบตราสารจัดตั้งและรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมของโรงเรียน ในระบบมาพร้อมกับคำขอเมื่อได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ แล้วให้โรงเรียนในระบบเป็นนิติบุคคลนับตั้งแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตและให้ผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้แทนของนิติบุคคล

                ให้โรงเรียนในระบบมีคณะกรรมการการบริหารประกอบด้วย

                ผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู และผู้แทนผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย

หนึ่งคน แต่ไม่เกินสามคน เป็นกรรมการ กรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นบุคคลเดียวกับผู้จัดการ หรือผู้อำนวยการ หรือเป็นบุคคลเดียวกันทั้งสามตำแหน่ง ให้ตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหรือสองคน

                กรรมการบริหารของโรงเรียนในระบบมีหน้าที่

        1. ออกระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของโรงเรียนในระบบ

        2. ให้ความเห็นชอบนโยบาย และแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนในระบบ

        3. ให้คำแนะนำการบริหาร และการจัดการโรงเรียนในระบบด้านบุคคลกร แผนงาน งบประมาณ วิชาการ   กิจกรรมนักเรียน อาคารสถานที่ และความสัมพันธ์กับชุมชน

        4. กำกับดูแลให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนในระบบ

        5. ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการ

        6. ให้ความเห็นชอบการกู้ยืมเงินครั้งเดี่ยวหรือหลายครั้งรวมกัน เกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าทรัพย์สิน

        ที่โรงเรียนในระบบมีอยู่ขณะนั้นการกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียน

        ในระบบ ให้ประกาศไว้ในที่เปิดเผยในโรงเรียนในระบบ และโรงเรียนในระบบจะเรียกเก็บเงินอื่นใดจาก

        ผู้ปกครองหรือนักเรียนจากที่กำหนดไม่ได้

                เอกสารที่โรงเรียนในระบบต้องจัดทำตามพระราชบัญญัตินี้ให้จัดทำเป็นภาษาไทย การสอนในโรงเรียน

ในระบบนอกจากการสอนวิชาภาษาต่างประเทศต้องใช้ภาษาไทย เว้นแต่เป็นโรงเรียนประเภทนานาชาติ หรือเป็นโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้สอนเป็นภาษาต่างประเทศ          

 

                อัตราค่าธรรมเนียม

  ใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ ฉบับละ 5,000 บาท

ใบแทนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ ฉบับละ 500 บาท

ใบยื่นขอฉบับละ 500 บาท

 

                ส่วนที่ 2 ทรัพย์สินและบัญชี

               

                โรงเรียนในระบบจัดให้มีกองทุนสำรองและจะจัดให้มีกองทุนอื่นตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การนำเงินจากกองทุนสำรองออกใช้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหาร

                ผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการของโรงเรียนในระบบแต่ละปีให้คณะกรรมการบริหารจัดสรรให้

ผู้จัดการเป็นผู้รับผิดชอบ ในการจัดวางระบบและจัดทำบัญชีของโรงเรียนในระบบให้เป็นตามมาตรฐานการบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีของโรงเรียนในระบบภายในหกสิบวันนับสิ้นรอบปีบัญชี วันเริ่มและวันสิ้นปีบัญชี

ของโรงเรียนในระบบให้เป็นไปตามประกาศของโรงเรียนในระบบ

 

                ส่วนที่ 3 การอุดหนุนและส่งเสริม

 

                รัฐให้การอุดหนุนและส่งเสริมโรงเรียนในระบบ นอกเหนือจากเงินอุดหนุนได้ตามคณะกรรมการเสนอแนะโดยเฉพาะในเรื่อง ดังต่อไปนี้

        1. จัดบุคลากรทางการศึกษาพร้อมทั้งค่าตอบแทนบุคลากรดังกล่าวให้ในกรณีขาดแคลนหรือในกรณีมุ่งเน้น                วิชาการด้านใดด้านหนึ่ง

        2. จัดครูพร้อมทั้งค่าตอบแทนครูให้ รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์การศึกษาสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและ

        ความช่วยเหลือด้านอื่นทางการศึกษา สำหรับนักเรียนพิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้มีความสามารถพิเศษ

        3. การลดหย่อนหรือยกเว้นอากรขาเข้า สินค้าประเภทครุภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา

        4. การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษาเงินได้สำหรับเงินที่ได้รับจากการจัดสรรตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร

 

                ส่วนที่ 4 กองทุน 

.

                ให้มีกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ ขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับการให้ผู้กู้เงินแก่โรงเรียนในระบบ

 

                ส่วนที่ 5 การสงเคราะห์

               

                ให้มีกองทุนสงเคราะห์เป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อสงเคราะห์ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทาง

การศึกษาโดยรวมถึง

 

       1. การจ่ายเป็นทุนเลี้ยงชีพให้แก่ ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา

       2. การจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์แก่ผู้อำนวยการครู และบุคลากรทางการศึกษา

       3. การส่งเสริมการออมทรัพย์ของผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา

       4. การจ่ายเงินสวัสดิการสงเคราะห์

                กองทุนสงเคราะห์ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และรายได้ของกองทุนสงเคราะห์ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน

                โรงเรียนในระบบ หักและรวบรวมเงินสะสมของผู้อำนวยการ ครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนด

ภายในวันที่สิบของเดือนถัดไปทุกเดือน กรณีโรงเรียนในระบบไม่ส่งเงินสมทบตามกำหนดเวลาในวรรคหนึ่งหรือ

ส่งไม่ครบถ้วนให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละสองต่อเดือนจนกว่าจะนำส่งครบถ้วน

 

                ผู้อำนวยการครูบุคลากรทางการศึกษามีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพเมื่อออกจากงาน

        1. เงินทุนเลี้ยงชีพประเภท 1 เท่ากับจำนวนที่ผู้อำนวยการ ครูหรือบุคลากรทางการศึกษา เว้นแต่กรณี

        ได้ส่งเงินสะสมพร้อมทั้งดอกผลที่คำนวณได้

        2. เงินทุนเลี้ยงชีพประเภท 2 เท่ากับจำนวนที่โรงเรียนในระบบและกระทรวงศึกษาธิการได้ส่งเงินสมทบ    โดยไม่รวมดอกผล

 

                ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาไม่มีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพประเภท 2 ในกรณี ออกจากงานโดยมีความผิดหรือก่อนมีเวลาทำงานครบสิบปี เว้นแต่เป็นการออกจากงานเพราะตาย เจ็บป่วย หรือทุพพลภาพซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าไม่สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้ หรือเพราะโรงเรียน

ในระบบเลิกกิจการ

 

                ส่วนที่ 6  การคุ้มครองการทำงาน

 

                กิจการของโรงเรียนในระบบไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฏหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฏหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฏหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่ผู้ปฏิบัติงานของโรงเรียนต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

 

                ส่วนที่ 7  การกำกับดูแล

 

                ห้ามผู้รับใบอนุญาต  ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ ครู และบุคลาการทางการศึกษาใช้ หรือยอมให้ผู้อื่นใช้อาคาร สถานที่ หรือบริเวณของโรงเรียนในระบบเพื่อการอันมิชอบด้วยกฏหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดี ของประชาชน หรือ เป็นการอันไม่ควรแก่กิจการของโรงเรียนในระบบ

                ในการปฏิบัติหน้าที่ให้คณะกรรมการควบคุมโรงเรียนในระบบเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

 

                ส่วนที่ 8  จรรยา มรรยาท วินัย และหน้าที่

 

                ผู้รับใบอนุญาต ผู้อำนวยการ ผู้บริหาร ผู้จัดการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่อยู่ในบังคับของกฏหมายว่าด้วยสภาครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีจรรยา มารยาท วินัย และหน้าที่ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

 

                ส่วนที่ 9  การโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ

 

                ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ ให้บุคคลอื่นให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาต ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

 

                ส่วนที่ 10  การเลิกกิจการและการชำระบัญชี

 

                โรงเรียนในระบบเลิกกิจการเมื่อ

                1. ผู้รับใบอนุญาต หรือทายาท แล้วแต่กรณี ได้รับอนุญาตให้เลิกกิจการโรงเรียนในระบบ หรือ

                2. ผู้รับใบอนุญาตถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ ให้ยื่นคำขอเลิกกิจการโรงเรียนในระบบพร้อมด้วยเหตุผลต่อผู้อนุญาตล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันก่อนสิ้นปีการศึกษา แต่งตั้งผู้ชำระบัญชีเพื่อชำระ บัญชีของโรงเรียนในระบบ และให้นำความในประมวลกฏหมายแพ่ง และพาณิชย์ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนมาใช้บังคับโดยอนุโลม

                ในระหว่างการชำระบัญชีให้ถือว่าโรงเรียนในระบบนั้นยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี

ถ้ามีทรัพย์สินเหลืออยู่ ให้คืนแก่ผู้รับใบอนุญาต

 

                ส่วนที่ 11 การอุทธรณ์

               

                การยื่นอุทธรณ์  การรับอุทธรณ์ วิธีพิจารณาอุทธรณ์ และกำหนดเวลาพิจารณาอุทธรณ์ ให้เป็นไปตาม

ระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

 

                หมวด 3  โรงเรียนนอกระบบ

 

                การจัดโรงเรียนนอกระบบ ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต ประเภทและลักษณะของโรงเรียนนอกระบบ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอน และหลักสูตรของโรงเรียนนอกระบบให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด โดย

ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องแนบรายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนนอกระบบมาพร้อมกับคำขอ และอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

                1. ชื่อ ประเภท และลักษณะของโรงเรียนนอกระบบ

                2. ที่ตั้ง และแผนผังแสดงบริเวณ และอาคารของโรงเรียนนอกระบบ

                3. หลักสูตร วิธีการสอน การวัดประเมินผลการศึกษา

                4. หลักเกณฑ์การคิดค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่น ทั้งหลักเกณฑ์ในการเพิ่มค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้ผู้อนุญาตพิจารณาคำขออนุญาตให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาต

 

                อัตราค่าธรรมเนียม

                ใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนนอกระบบ ฉบับละ 3,000 บาท

                ใบแทนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนนอกระบบ ฉบับละ 300 บาท

                ค่ายื่นคำขอ ฉบับละ 500 บาท

 

                ให้ผู้รับใบอนุญาต จัดให้มีผู้บริหารคนหนึ่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการบริหารของโรงเรียนนอกระบบ

และส่งหลักฐานการแต่งตั้งให้ผู้อนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับจากวันแต่งตั้ง

                ในกรณีที่โรงเรียนนอกระบบประสงค์จะเลิกกิจการ ให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบ

ไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันที่ประสงค์จะเลิกกิจการ และให้ใบอนุญานั้นสิ้นผลเมื่อถึงกำหนดเลิกกิจการ

 

                หมวด 4 พนักงานเจ้าหน้าที่

 

                ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจเข้าไปในโรงเรียนในระหว่างเวลาทำการ และมีหนังสือเรียกผู้ซึ่งเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ ส่งเอกสารหรือวัตถุที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่ผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง และให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกแก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ตามสมควร

 

                หมวด 5 บทกำหนดโทษ

 

                เช่น ผู้ใดจัดตั้งโรงเรียนในระบบโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต้องวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                มาตรา 154  บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ที่มีโทษปรับสถานดียวให้ผู้อนุญาตมีอำนาจเปรียบเทียบได้เมื่อผู้อนุญาตได้ทำการเปรียบเทียบกรณีใด และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบภายในสามสิบห้าวันแล้วให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน

หมายเลขบันทึก: 369288เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2010 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท