ค่าตอบแทนในระบบราชการไทย


ค่าตอบแทนในระบบราชการไทย

"ค่าตอบแทนในระบบราชการไทย"

นับจากที่ข้าราชการได้เริ่มบรรจุเข้ารับราชการมาจนถึงปัจจุบัน...มีข้าราชการท่านใดบ้างที่มีความเข้าใจในเรื่องสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของข้าราชการได้อย่างกระจ่างชัด...(ยกเว้นเรื่องเงินเดือน)...และสามารถอธิบายให้บุคคลอื่นได้เข้าใจได้อย่างถ่องแท้และลึกซึ้งถึงสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของข้าราชการ ยกเว้นเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านงานการเจ้าหน้าที่หรืองานบุคคล...และนี่คือปัญหาในการทำงานของงานบุคคลที่พบกับปัญหาในการอธิบายให้ข้าราชการบางรายได้รับทราบถึงสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของข้าราชการของตนเอง ในบางครั้งข้าราชการบางท่านก็กระทำผิดระเบียบ...โดยอ้างว่าไม่ทราบมาก่อน...ผู้เขียนเห็นว่าเรื่องดังกล่าวมีประโยชน์ต่อข้าราชการรุ่นใหม่, ผู้ที่สนใจอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้ในด้านกฎ ระเบียบ แนวปฏิบัติของส่วนราชการที่บางท่านได้มองข้ามเลยไป แม้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้ตัว แต่ก็ไม่ได้สนใจอย่างจริงจัง...จึงนำเรื่องสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของข้าราชการมาแจ้งให้ทราบ ดังนี้...

ความหมายของค่าตอบแทน

ค่าตอบแทน (Compensation) คือ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่องค์การจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่ายนี้อาจจ่ายในรูปตัวเงินหรือมิใช่ตัวเงินก็ได้ เพื่อตอบแทนการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ จูงใจให้มีการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน และเสริมสร้างฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวผู้ปฏิบัติงานให้ดีขึ้น

สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของข้าราชการ...ประกอบด้วย...

สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของข้าราชการ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

สวัสดิการภายในส่วนราชการ

ส่วนประกอบของค่าตอบแทน ได้แก่...

1. ค่าจ้างและเงินเดือน (Wage and Salary) ได้แก่ ค่าตอบแทนที่องค์การจ่ายให้ผู้ปฏิบัติงาน เป็นรายได้ประจำทุกเดือน

2. ค่าจูงใจ (Wage Incentive) ได้แก่ ค่าตอบแทนที่องค์การจัดให้เป็นพิเศษเพื่อจูงใจให้มีการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น เช่น การให้รางวัลพิเศษในการปฏิบัติงาน การเลื่อนตำแหน่ง

3. ประโยชน์เกื้อกูล (Fringe benefit) ได้แก่ ค่าตอบแทนที่องค์การจัดให้แก่ผู้ปฏิบัติงานนอกเหนือจากค่าจ้างเงินเดือนและค่าจูงใจ เป็นค่าตอบแทนที่องค์การจัดให้เพื่อสนับสนุนให้มีการทำงานดีขึ้น หรือเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้สึกมั่นคงในการปฏิบัติงานกับองค์การ

วัตถุประสงค์ของการกำหนดค่าตอบแทน ได้แก่...

1. เพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่ง

2. เพื่อดึงดูดคนที่มีความรู้ความสามารถให้เข้ามาสู่หน่วยงานและคงอยู่ในหน่วยงานตลอดไป

3. เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนการปฏิบัติงาน

4. ส่งเสริมขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

5. อำนวยความสะดวกในการบริหารงานบุคคล

ความสำคัญของค่าตอบแทน ได้แก่...

1. ทำให้อาชีพของประชากรเปลี่ยนไป

2. ต้นทุนการผลิตขององค์การเปลี่ยนไป

3. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ

ปัจจัยที่กำหนดค่าจ้างและเงินเดือน ได้แก่...

1. ระดับค่าจ้างทั่วไป (Prevailing rate)

2. ความสามารถในการจ่าย (Ability to pay)

3. มาตรฐานการครองชีพ (Standard of living)

4. ค่าของงาน (Job Value)

5. อำนาจการต่อรอง (Bargaining power)

6. รัฐบาล (Government)

7. ผลิตผลขององค์การ (Productivity)

สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของข้าราชการ

ในการปฏิบัติราชการ นอกจากข้าราชการจะได้รับเงินเดือนเป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติงาน ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน มีเกียรติเป็นความภาคภูมิใจต่อวงศ์ตระกูลแล้ว ราชการยังให้สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินหลายประการ แก่ข้าราชการและครอบครัว (บิดา มารดา คู่สมรส และบุตร) เพื่อเป็นการจูงใจให้อยากเข้ารับราชการ ตลอดจนสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติราชการ โดยให้ได้รับสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลตลอดเวลาตั้งแต่เข้ารับราชการ พ้นจากราชการและเสียชีวิต เพื่อตอบแทนการปฏิบัติงาน สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของข้าราชการ แบ่งเป็น

สวัสดิการที่ไม่เป็นตัวเงิน

การลา
สิทธิการลาของข้าราชการ เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลา กฎหมายอื่นๆ และตามมติคณะรัฐมนตรี

ประเภทของการลา มี 9 ประเภท ดังนี้...

การลาป่วย

การลาคลอด

การลากิจส่วนตัว

การลาพักผ่อน

การลาอุปสมบท หรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์

การลาเข้าการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล

การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติงานวิจัย หรือดูงาน

การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ

การลาติดตามคู่สมรส

การนับวันลาและข้อควรคำนึง

วันหยุดราชการ

สวัสดิการที่เป็นตัวเงิน ได้แก่...

สวัสดิการเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล

สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร

เงินตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ

ค่าเช่าบ้าน

โครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการ

ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ

บำเหน็จบำนาญ

สวัสดิการภายในส่วนราชการ

สวัสดิการภายในส่วนราชการเป็นสวัสดิการฯ ที่หัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่ริเริ่ม ส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการขึ้น เพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติราชการและการดำรงชีวิตของข้าราชการในสังกัด เงินค่าใช้จ่ายใช้จ่ายจากกองทุนสวัสดิการ ซึ่งคณะกรรมการสวัสดิการของส่วนราชการเป็นผู้จัดหารายได้ และคณะกรรมการมีหน้าที่ กำหนดนโยบาย ระเบียบในการจัด ดำเนินการจัด และกำกับดูแลการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการดังกล่าว...

สวัสดิการภายในส่วนราชการ ได้แก่

การออมทรัพย์

การให้กู้เงิน

การเคหะสงเคราะห์

การสงเคราะห์ข้าราชการ

การฌาปนกิจ

การกีฬาและนันทนาการ

ร้านสวัสดิการ

กิจการอื่น ๆ ที่คณะกรรมการเห็นสมควร

รายละเอียดในแต่ละหัวข้อมีอยู่ในเรื่อง

"สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลของข้าราชการ" ค่ะ...

หมายเลขบันทึก: 369046เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2010 21:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนท่านอาจารย์บุษยมาศ

    แวะมาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยคนค่ะ ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆนี้นะคะ ปกติไม่ค่อยได้ใส่ใจในรายละเอียดเท่าไหร่ค่ะ ให้ก็เอา ไม่ให้ก็ไอ อิอิ

สวัสดีค่ะ...คุณยาย...

P  ขอบคุณค่ะ...แต่ถ้าเราเป็นข้าราชการ ถึงแม้จะไม่ใช้สิทธิ...เราก็ควรรับรู้และรับทราบค่ะ...จะได้ปฏิบัติถูกต้อง + คุยกับคนอื่นรู้เรื่องไงค่ะ...

สวัสดีค่ะ...คุณมาตายี...

P  ขอบคุณค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท