พรก.ว่าด้วยการมอบอำนาจ


พรก.ว่าด้วยการมอบอำนาจ

           พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการมอบอํานาจ   พ.ศ. ๒๕๕๐
                           โดย  พัทธนันท์  พิพิธนวงค์
                                      ************************************************
            มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ
พ.ศ. ๒๕๕๐”
             มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใชบังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
            มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้ 
        “มอบอํานาจ”  หมายถึง การที่ผูดํารงตําแหน่งที่มีอํานาจหน้าที่ที่จะพึงปฏิบัติหรือ
ดําเนินการตามกฎหมาย กฎระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด เว้นแต่ได้มอบอํานาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดําเนินการอื่นใด ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นให้แก่ผู้ดํารง ตําแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน
        “ผู้มอบอํานาจ” หมายถึง ผู้ดํารงตําแหน่งที่มีอํานาจหน้าที่ที่จะพึงปฏิบัติหรือดําเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คําสั่ง หรือมติของคณะรัฐมนตรี ในการสั่ง

การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดําเนินการอื่นใด 
        “ผู้รับมอบอํานาจ” หมายถึง ผู้ดํารงตําแหนงอื่นที่ไดรับมอบอํานาจจากผู้ดํารง

ตําแหน่ง อํานาจหน้าที่ดังกล่าว

        “ศูนย์บริการร่วม” หมายถึงหน่วยงานที่รวมงานบริการของส่วนราชการเดียวกันหรือ
ต่างส่วนราชการมาปฏิบัติราชการร่วมกันในการให้บริการและอํานวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการและ ประชาชน
            มาตรา ๔ ใหนายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ 
                                            หมวด ๑ 
                                            บททั่วไป
            มาตรา ๕ การมอบอํานาจต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค ดังต่อไปนี้
                     ๑. การอํานวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน
                     ๒. ความคุ้มค่า ความรวดเร็ว และประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
                     ๓. การกระจายอํานาจการตัดสินใจและความรับผิดชอบที่เหมาะสม
                     ๔. ไม่เป็นการเพิ่มขั้นตอนหรือระยะเวลาในการใช้อํานาจ และไม่ต้องผ่านการพิจารณา ของผู้ดํารงตําแหน่งต่าง ๆ มากเกินความจําเป็น เพื่อให้เป็นไปตาม

วัตถุประสงค์ของการมอบอํานาจตามวรรคหนึ่ง ผู้มอบอำนาจอาจวาง แนวทางหรือ

กําหนดรายละเอียดวิธีปฏิบัติราชการเพิ่มเติมในเรื่องการมอบอานาจโดยไมขัดหรือแย้งกับพระราชกฤษฎีกานี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจหรือลักษณะของงานที่ตองมีการใช้

อํานาจที่มอบอํานาจไปนั้นก็ได
            มาตรา ๖ ในการมอบอํานาจ ผู้มอบอํานาจอาจมอบอํานาจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่อยู่ในอํานาจ หน้าที่การปฏิบัติราชการของผู้มอบอํานาจ เพื่อให้ผู้รับมอบอํานาจปฏิบัติราชการแทนในเรื่องนั้น ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได โดยต้องเป็นไปตามวัตถุประสงคและ คํานึงถึงขีดความสามารถ ความรับผิดชอบ และความเหมาะสมตามสภาพของตําแหน่ง อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้รับมอบอํานาจและผู้มอบอำนาจ เว้นแต่

เป็นเรื่องใดตามกรณีดังต่อไปนี้ ผู้มอบ อํานาจอาจไม่มอบอํานาจในเรื่องดังกล่าวก็ได
                       ๑.  เป็นเรื่องที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นอํานาจเฉพาะหรือเป็นเรื่องที่โดยสภาพไม่อาจมอบอํานาจได
                       ๒. เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายสําคัญ
                       ๓. เป็นเรื่องที่มีความจําเป็นต้องมีการดูแลอยางใกลชิดเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
                      ๔. เป็นเรื่องที่อาจก่อใหเกิดความเดือดร้อนหรือเกิดความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนได

              ในกรณีที่การดําเนินการในเรื่องใดที่พระราชกฤษฎีกานี้กําหนดใหต้องมีการมอบอํานาจ ให้ดําเนินการมอบอํานาจตามนั้น โดยจะยกความในมาตรานี้ขึ้นอ้างเพื่อไม่มอบอํานาจไม่ได
                         มาตรา ๗ ในการมอบอํานาจ ให้ผู้มอบอํานาจดําเนินการ ดังต่อไปนี้
                       ๑. วางหลักเกณฑและเงื่อนไขการใชอํานาจของผู้รับมอบอํานาจ
                       ๒. จัดใหมีระบบการตรวจสอบและการรายงานผลการใชอํานาจของผูรับมอบอํานาจ
                       ๓. กํากับดูแล และแนะนําการใชอํานาจของผู้รับมอบอํานาจ
                       ๔. จัดทําบัญชีการมอบอํานาจเสนอผู้บังคับบัญชา
เมื่อมีการมอบอํานาจแล้ว หากผู้มอบอํานาจเห็นว่าผู้รับมอบอํานาจใช้อํานาจที่รับมอบโดยไม่ถูกต้อง หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหาย ผู้มอบอํานาจอาจมีคําสั่งแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอํานาจ หรือให้ผู้รับมอบอํานาจหยุดการปฏิบัติราชการไว้ก่อน และผู้มอบอํานาจเป็นผู้ใช้อํานาจนั้นโดยตรงก็ได
                    มาตรา ๘ การมอบอํานาจให้ทำเป็นหนังสือ โดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ

การมอบอํานาจให้ชัดเจน ดังนี้
                  ๑. ชื่อหรือตําแหน่งของผู้มอบอํานาจ
                  ๒. ชื่อหรือตําแหน่งของผู้รับมอบอํานาจ 
                  ๓. อํานาจที่มอบ รวมทั้งอาจกําหนดหลักเกณฑและเงื่อนไขการใช

อํานาจด้วยก็ได 
                   มาตรา ๙ การมอบอํานาจย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไมมีการเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดยเงื่อนเวลาหรือโดยเหตุอื่น
                   มาตรา ๑๐ ในการปฏิบัติราชการแทน ผูรับมอบอํานาจอาจดําเนินการใด ๆ เพื่อใหบรรลุ วัตถุประสงค์ของการมอบอํานาจนั้นตามที่เห็นสมควร แตตองใชอํานาจที่รับมอบใหเป็นไปตามกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่มีการมอบอํานาจหรือตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้อํานาจในเรื่องนั้น รวมทั้ง ต้องจัดทํารายงานผลการใชอํานาจ
ดังกล่าวตามหลักเกณฑที่ผู้มอบอํานาจกําหนด 
                   มาตรา ๑๑ ใหก.พ.ร. มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลและติดตามตรวจสอบการมอบอํานาจของผู้ดํารงตําแหน่งใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกานี้ อํานาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
                  ๑.  แนะนําให้ผู้มอบอํานาจดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขการมอบอํานาจใหถูกต้อง
                  ๒. กําหนดให้ส่วนราชการรายงานขอมูลเกี่ยวกับการมอบอํานาจใหทราบตามที่เห็นสมควร ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ ก.พ.ร. เป็นผู้มีอํานาจวินิจฉัย  คําวินิจฉัยของ ก.พ.ร. ให้เป็นที่สุด
             ในกรณีที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติราชการเรื่องใดที่ไม่อาจใช้หลักเกณฑ การมอบอํานาจตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้ให้ ก.พ.ร. เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการมอบอํานาจการปฏิบัติราชการในเรื่องนั้นไวเป็นการเฉพาะ
                                                            หมวด ๒
                                             การมอบอํานาจในกระทรวงเดียวกัน
               มาตรา ๑๒ เพื่อประโยชนในการปฏิบัติราชการในกระทรวง ใหปลัดกระทรวงมีอํานาจกําหนด แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการมอบอํานาจของสวนราชการในสังกัด ทั้งในกรณีการมอบอํานาจในส่วนราชการ เดียวกันหรือการมอบอํานาจใหกับส่วนราชการอื่นที่อยูในสังกัดของกระทรวงเดียวกันได้ในกรณีที่เห็นสมควร ก.พ.ร. อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติกําหนดหลักเกณฑ์ทั่วไป เกี่ยวกับการมอบอํานาจของกระทรวง เพื่อใหทุกกระทรวงปฏิบัติก็ได 
               มาตรา ๑๓ ในกระทรวงที่มีการแบ่งกลุ่มภารกิจซึ่งหัวหน้ากลุ่มภารกิจมีอํานาจ

เช่นเดียวกับ ปลัดกระทรวง ให้หัวหน้ากลุ่มภารกิจดําเนินการมอบอํานาจตามหลักเกณฑที่กําหนดไวในพระราชกฤษฎีกานี้ โดยให้ถือเป็นปลัดกระทรวงของส่วนราชการใน

กลุ่มภารกิจนั้น
              มาตรา ๑๔ ใหอธิบดีจัดให้มีการมอบอํานาจภายในกรมของตน เพื่อให้การปฏิบัติราชการ มีการกระจายความรับผิดชอบได้อย่างเหมาะสมกับภารกิจของรัฐแต่

ละด้านหรือเพื่อประโยชน์ในการให้บริการและอํานวยความสะดวกแกประชาชน
ในการกําหนดเรื่องการมอบอํานาจภายในกรมให้มีการกําหนดใหหัวหน้าส่วนราชการ

ต้องมอบอํานาจให้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบดําเนินการเรื่องนั้นโดยตรง

เว้นแตในกรณีมีความจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ หรือมีเหตุเร่งด่วนอันไมอาจหลีกเลี่ยงได้หัวหน้า ส่วนราชการอาจจัดให้มีการมอบอํานาจให้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นที่เห็นสมควรเปนผูปฏิบัติราชการแทนก็ได 
              มาตรา ๑๕  ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการและผูมอบอํานาจเห็นว่าไม่สมควรมอบอํานาจการปฏิบัติราชการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้แก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ใช้อํานาจผู้มอบอํานาจอาจมอบอํานาจให้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งในส่วนราชการอื่นก็ได้โดยต้องดําเนินการดังนี้
                   ๑. กรณีที่เป็นส่วนราชการในกรมเดียวกันให้ทําความตกลงระหว่างหัวหน้า
ส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง แล้ว แจ้งการมอบอํานาจนั้นให้อธิบดีทราบพร้อมด้วยเหตุผล
                   ๒. กรณีที่เป็นส่วนราชการที่มิได้สังกัดกรมเดียวกัน ให้ทําความตกลง

ระหว่างอธิบดีของกรมที่ผู้มอบอํานาจ สังกัดและอธิบดีที่ผู้รับมอบอํานาจสังกัด แล้วแจ้งใหปลัดกระทรวงทราบพร้อมด้วยเหตุผล
            มาตรา ๑๖ ให้นําความในหมวดนี้มาใช้บังคับกับส่วนราชการและหัวหน้าส่วนราชการระดับ  กระทรวงหรือกรมที่เรียกชื่ออย่างอื่น หรือส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงกับ นายกรัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลม

                                                       หมวด ๓
                                  การมอบอํานาจให้แก่ส่วนราชการต่างกระทรวง
            มาตรา ๑๗ ในการมอบอํานาจให้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นในสวนราชการตางกระทรวง เว้นแตกรณี การมอบอํานาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดให้กระทําไดเมื่อมีการทําบันทึกความตกลง ระหว่างส่วนราชการที่มอบอํานาจและที่รับมอบอํานาจแล้ว และการมอบอํานาจนั้นต้องทําเป็นหนังสือ บันทึกความตกลงตามวรรคหนึ่งต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑและวิธีการใช้อํานาจ ซึ่งอย่างนอยตองมีรายการดังนี้
                   ๑. ขอบเขตอํานาจที่ได้มอบ
                   ๒. แนวทางนโยบาย และข้อสงวนของการใช้อํานาจ
                   ๓. ชื่อและตําแหน่งของเจ้าหน้าที่ที่ติดต่อไดในกรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกระบวนการใช้อํานาจให้ปลัดกระทรวงของแต่ละกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการมอบ

อํานาจเป็นผู้ลงนามในบันทึก ข้อตกลง ในกรณีที่เป็นการมอบอํานาจระหว่างกรมของแตละกระทรวง ให้อธิบดีของกรมที่เกี่ยวข้อง กับการมอบอํานาจเป็นผู้ร่วมลงนามในบันทึกขอตกลงด้วย การมอบอํานาจตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งสําเนาบันทึกความตกลงและหนังสือมอบอํานาจดังกล่าวให้แก่ ก.พ.ร. ดวย
             มาตรา ๑๘ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีหรือ ก.พ.ร. มีมติให้มีการมอบอํานาจในเรื่องใดระหว่าง ส่วนราชการต่างกระทรวง ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่มอบอํานาจให

เป็นไปตามนั้น โดยมิให้นําความในมาตรา ๑๗ มาใช้บังคับ แต่ทั้งนี้ถ้าคณะรัฐมนตรีหรือ

ก.พ.ร. กําหนดหลักเกณฑเกี่ยวกับ การมอบอํานาจและการปฏิบัติราชการไว
อย่างใด ใหส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์นั้นด้วย
            มาตรา ๑๙ ใหนําความในหมวดนี้มาใชบังคับกับส่วนราชการและหัวหน้าส่วนราชการระดับ กระทรวงหรือกรมที่เรียกชื่ออย่างอื่น หรือส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงกับ นายกรัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลม
                                                          หมวด ๔
                                        การมอบอํานาจให้แก่ศูนย์บริการร่วม
            มาตรา ๒๐ เมื่อมีการจัดตั้งศูนยบริการร่วม ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่เกี่ยวข้อง มอบอํานาจทั้งปวงในส่วนที่เกี่ยวของกับภารกิจของศูนยบริการ

ร่วมนั้น ให้แก่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติในศูนยบริการร่วม อํานาจที่จะมอบและระยะเวลาในการมอบอํานาจตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรี หรือ ก.พ.ร. กําหนด
            มาตรา ๒๑ ให้ศูนย์บริการร่วมจัดทํารายงานแสดงการมอบอํานาจ และปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงาน ตามที่ได้รับมอบอํานาจให ก.พ.ร. ทราบ ภายในเวลาที่ ก.พ.ร. กําหนด
                                                       หมวด ๕
                                   การมอบอํานาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด
             มาตรา  ๒๒ อํานาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดําเนินการอื่น ที่ส่วนราชการใดจะพึงปฏิบัติหรือดําเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใดในเขตพื้นที่จังหวัด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิไดกําหนดเรื่องการมอบอํานาจไวเป็นอย่างอื่นหรือมิไดหาม เรื่องการมอบอํานาจไว้ให้หัวหน้าส่วนราชการดําเนินการมอบอํานาจการปฏิบัติราชการในเขตพื้นที่ จังหวัดใหแกผูว่าราชการจังหวัด
ในกรณีที่มีการมอบอํานาจใหผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบอํานาจนั้นให้แก่ผู้ดํารงตําแหน่ง ดังต่อไปนี้ 
                      ๑. ในกรณีที่อํานาจนั้นเกี่ยวกับราชการของส่วนราชการใด และส่วนราชการนั้นปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบอํานาจให้แหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวของในจังหวัดนั้น
                      ๒. ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบอํานาจใหรองผูว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัด เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนก็ได
 ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบอํานาจให้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นตามวรรคหนึ่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานต่อผู้มอบอํานาจเพื่อทราบด้วย
            มาตรา ๒๔ ให้นายอําเภอ ปลัดอําเภอผู้เป็นหัวหน้าประจํากิ่งอําเภอ และหัวหน้าส่วนราชการ ประจําจังหวัดดําเนินการมอบอํานาจให้เป็นไปตามแนวทางที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกานี้
            มาตรา ๒๕ การใช้อํานาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้รับมอบอํานาจจากผู้ว่าราชการจังหวัดและของผู้ดํารงตําแหน่งใดในจังหวัด ต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
            มาตรา ๒๖ เมื่อมีการมอบอํานาจตามมาตรา ๒๓ แล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจหน้าที่ กํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้รับมอบอํานาจใหเป็นไปตามวัตถุประสงคของการมอบอํานาจนั้น และ ในกรณีที่เห็นว่าผูรับมอบอํานาจได้ใช้อํานาจปฏิบัติราชการแทนโดยไม่ถูกต้องหรืออาจก่อใหเกิดความเสียหาย ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมีคําสั่งแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอํานาจหรือให้ผู้รับมอบอํานาจ หยุดการปฏิบัติราชการดัง

กล่าวไว้ก่อน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ใช้อํานาจในเรื่องนั้นโดยตรงก็ได
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องที่ไม่อาจมอบอํานาจไดเนื่องจาก

เป็นกรณี  ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจไม่มอบอํานาจนั้นก็ได แต่ต้องแจ้งการไม่มอบอํานาจ พร้อมทั้งเหตุผลใหส่วนราชการหรือผู้ดํารงตําแหนงที่มอบอํานาจทราบ ทั้งนี้ส่วนราชการหรือผู้ดํารงตําแหน่ง ที่มอบอํานาจมีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้นําข้อขัดแย้งนั้นเสนอ ก.พ.ร. เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดให้นําความในมาตรานี้มาใช้บังคับกับการมอบอํานาจตามมาตรา ๒๔ ด้วยโดยอนุโลม
                                                               หมวด ๖
                                   การมอบอํานาจให้ปฏิบัติราชการแทนในต่างประเทศ
               มาตรา ๒๗ ส่วนราชการใดมีภารกิจที่ตองดําเนินการในต่างประเทศ ให้หัวหน้าส่วนราชการนั้น มอบอํานาจทั้งปวงที่จะตองดําเนินการในต่างประเทศนั้นให้แก่หัวหน้าคณะผู้แทนและให้หัวหน้าคณะผู้แทนมอบอํานาจให้รองหัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลในคณะผู้แทน
                                                                หมวด ๗ 
                                                                เบ็ดเตล็ด


               มาตรา ๒๘ เพื่อประโยชนในการอํานวยความสะดวกในการบริการประชาชน

ให้ส่วนราชการ ซึ่งกํากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิน ดําเนินการให้องค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น วางระเบียบ การมอบอํานาจให้เหมาะสมกับภารกิจการบริการประชาชน ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความสะดวก รวดเร็ว ประสิทธิภาพ และประหยัด ในการบริการประชาชน 
               มาตรา ๒๙

เพื่อประโยชน์ในการอํานวยความสะดวกในการบริการประชาชน คณะรัฐมนตรี จะมีมติใหคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนดําเนินการใหมีระเบียบว่าด้วยการมอบอํานาจ ให้สอดคล้องกับแนวทางตามพระราชกฤษฎีกานี้ โดยจะกําหนดให้ระเบียบ

ดังกล่าว อย่างน้อยต้องกำหนดให้การใช้อํานาจของผู้รับมอบอํานาจในเขตจังหวัดใด

ต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาจังหวัด นั้นด้วยก็ได
                                                          บทเฉพาะกาล 
               มาตรา ๓๐ การใดที่เกี่ยวกับการมอบอํานาจที่เคยดำเนินการตามหลักเกณฑของระเบียบ สํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. ๒๕๔๖ ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นการมอบอํานาจที่ชอบตามพระราชกฤษฎีกานี้

หมายเลขบันทึก: 369024เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2010 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 12:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท