ประวัติศาสตร์เมืองกระบี่


กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก
  1. ดินแดนบริเวณจังหวัดกระบี่ยุคโบราณ นักโบราณคดีเข้ามาศึกษาร่องรอยการประกอบกิจกรรมของมนุษย์สมัยโบราณจังหวัดกระบี่ เช่น
                - การขุดค้นข้อมูลถ้ำหลังโรงเรียนโดย ดร.ดักลาส ดี.แอนเดอร์สัน ที่ตำบลทับปริก อำเภอเมือง พบว่าเพิงผาแห่งนี้เป็นที่อยู่ของมนุษย์มาหลายสมัย หลักฐานต่างๆที่พบเป็นโครงกระดูก เศษเถ้าถ่าน เมล็ดพืช เปลือกหอย เครื่องมือหิน เศษเครื่องปั้นดินเผา เมื่อนำไปพิสูจน์จากชั้นดินแล้วปรากฎว่ามีอายุถึง 27,000 - 30,000 ปี
                - การขุดค้นทางโบราณคดี โดย ดร.สุรินทร์  ภู่ขจรและคณะ ที่แหล่งถ้ำอ่าวโกบ และถ้ำหมอเขียวบ้านหน้าชิง ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมือง ก็พบหลักฐานมากมาย จำพวกเครื่องมือหิน โครงกระดูก เถ้าถ่าน เมล็ดพืช กระดูกสัตว์ เปลือกหอย และอื่นๆ จากข้อมูลเบื้องต้น ได้สรุปว่ามีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์เข้ามาอาศัยและทำกิจกรรมต่างๆมาไม่น้อยกว่า 37,000 - 3,300 ปี อย่างต่อเนื่อง
                 จากทั้งสองแหล่งดังกล่าวล้วนเป็นข้อมูลเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่องรอยการเคลื่อนย้ายและการประกอบกิจกรรมต่างๆของมนุษย์สมัยโบราณและต่อเนื่องลงมาถึงสมัยประวัติศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดกระบี่มีดังนี้                                                                                          1.1 เครื่องมือหิน เช่น เครื่องมือหินกะเทาะและหินขัด พบที่ถ้ำสระ อำเภอปลายพระยา ถ้ำหลังโรงเรียนทับปริก และเพิงผาอ่าวโกบ อำเภอเมือง แท่นบด ครกหิน ลูกกลิ้งหินบด สากหิน หินลับ มีรูปแบบต่างๆ นักโบราณคดีกำหนดอายุถึง 6,500 ปี มาแล้ว พบที่ชุมชนโบราณคลองท่อม เครื่องประดับทำจากหิน เช่น ลูกปัดและกำไลต่างๆพบที่ถ้ำแห้งบางเหียน อำเภอปลายพระยา ,ชุมชนโบราณคลองท่อม และแหล่งถ้ำเสือ อำเภอเมือง
                 1.2 เครื่องปั้นดินเผา สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ พบที่ชุมชนคลองท่อม อำเภอคลองท่อม และพบที่เขาขนาบน้ำ อำเภอเมือง ส่วนสมัยประวัติศาสตร์พบที่เขาช่องตลาด เขาปูนเหนือ เขาปูนใต้ ในเขตอำเภออ่าวลึก
                 1.3 ภาพเขียนสี ในจังหวัดกระบี่มีเพิงผาที่เป็นแหล่งภาพเขียน ดังนี้ ถ้ำผีหัวโต ถ้ำเขาตีบ แหลมไฟไหม้ แหลมชาวเล ถ้ำชาวเล เขากาโรส(ท้ายแรด) เขาขนาบน้ำ ถ้ำไวกิ้ง(พีพีเล) ถ้ำป่าหมาก
                 1.4 เส้นทางเดินข้ามคาบสมุทร การเดินทางข้ามแหลมในสมัยก่อนอาศัยเส้นทางลำน้ำเป็นสำคัญ สำหรับ จังหวัดกระบี่ร่องรอยหลักฐานที่เป็นเส้นทางข้ามแหลม ได้แก่
                             - คลองท่อม-คลองสินปุน-อ่าวบ้านดอน จากปลายคลองท่อมเดินบกไปลงคลองสินปุนออกแม่น้ำหลวง(ตาปี)ที่บ้านท่ายาง(อำเภอทุ่งใหญ่) ไปออกอ่าวบ้านดอน
                            - คลองท่อม-คลองสินปุน-ท่ายาง-นครศรีธรรมราช
                             - คลองปากลาว-คีรีครัฐนิคม-อ่าวบ้านดอน จากคลองปากลาวในเขตอำเภออ่าวลึกผ่านเขาต่อไปออกคลองพุมดวง(คีรีรัฐนิคม) ออกแม่น้ำหลวงต่อไปอ่าวบ้านดอน
                   1.5 ชุมชนโบราณคลองท่อม(ควนลูกปัด) นักโบราณคดีหลายท่านให้ความเห็นว่าบริเวณจังหวัดกระบี่นั้นเคยเป็นบ้านเมืองมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ.900 ในบันทึกจีนที่เดินทางมาแถมทะเลใต้ ระบุชื่อเมืองหนึ่งว่า "โป-โล-โส" และบันทึกจีนอีกฉบับหนึ่งบันทึกชื่อ"เกียนปาย" นักโบราณคดีเห็นว่าเป็นชื่อชุมชนในเขตจังหวัดกระบี่ปัจจุบัน
  2. กระบี่ในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช กระบี่หลังจากที่ชุมชนดั้งเดิมสลายตัวแล้ว คงเหลือแต่กลุ่มเล็กน้อยตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ตามย่านลำน้ำ สภาพทั่วไปยังเป็นเขาดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่านานาชนิด อยู่ในเขตการปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช
  3. กระบี่ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรนครศรีธรรมราช มีอำนาจในแหลมมาลายูมาได้ระยะหนึ่งมีกษัตริย์สืบมา 4-5 พระองค์ มาสิ้นสุดอำนาจลงเมื่อพ่อขุนรามคำแหงลงมาตีได้ นครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นเมืองพระยามหานคร ตามรูปการปกครองสมัยสุโขทัย ต้องถวายเครื่องราชบรรณาการตามกำหนด ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองนครศรีธรรมราชและสุโขทัยเป็นไปด้วยดี ดินแดนกระบี่ในยุคนี้ผนวกอยู่กับนครศรีธรรมราช จึงไม่มีบทบาทในฐานะเป็นเมือง คงมีแต่ชุมชนชาวอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากินตามแหล่งน้ำ ที่ราบเชิงเขาและชายฝั่งทะเลทั่วไป
  4. กระบี่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองนครศรีธรรมราชยังคงขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา เพราะยังเป็นระยะไทยรวมไทยคือ สุโขทัย อยุธยา และนครศรีธรรมราช ล้วนถูกรวมเข้ามาเป็นอาณาจักรเดียวกัน จนกระทั่งเสียกรุงความสัมพันธ์ของเมืองนครศรีธรรมราชกับกรุงศรีอยุธยาสิ้นสุดลง ดินแดนเมืองกระบี่ ยังคงเป็นดินแดนของเมืองนครศรีธรรมราชอยู่เช่นเดิม
  5. กระบี่ในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแกพม่า หลวงสิทธินายเวร(หนู) ซึ่งเป็นปลัดเมืองในขณะนั้นตั้งตัวเป็นอิสระเรียกว่า "ชุมชนเจ้านครศรีธรรมราช" โดยรวบรวมกำลังจากชุมชนต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงเข้าด้วยกันรวมทั้งกระบี่ด้วย เพื่อรักษาสถานการณ์ทางใต้ให้มั่นคง พระยาตากเห็นว่า เมืองนครศรีธรรมราชพร้อมไปด้วยผู้คนและเสบียงอาหาร อยู่ใกล้ทะเลสามารถหาอาวุธได้ง่าย เกรงว่าจะก่อความยุ่งยากในภายหลังจึงลงมาปราบปราม  เมืองนครศรีธรรมราชให้อยู่ในอำนาจ แล้วให้พระราชวงศ์ส่วนกลางลงไปปกครอง กระบี่ยุนี้เริ่มมีผู้อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินมากขึ้น สมัยพระเจ้าตากความสัมพันธ์ระหว่างจีนและไทย เป็นอย่างแน่นแฟ้น ระยะนี้มีชาวจีนอพยพเข้ามาในประเทศมากขึ้น
  6. กระบี่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระปลัดเมืองมาตั้งเพนียดจับช้างอยู่หลายปี เล็งเห็นว่าชาวบ้านที่ติดตามเข้ามา ทำมาหากินนั้นต่างคนอยู่เป็นหมู่เป็นพวก ขาดคนควบคุมดูแลอาจก่อให้เกิดปัญหาในอนาคตได้ จึงรายงานไปยังเจ้านครศรีธรรมราช เพื่อจัดตั้งเขตการปกครอง เรียกว่า"แขวง" ขึ้น 3 แห่ง
                - แขวงเมืองบ้านปกาไส คือบริเวณค่ายจับช้าง
                - แขวงเมืองบ้านคลองพน ตั้งอยู่ริมคลองปากพน
                - แขวงเมืองบ้านปากลาว ตั้งอยู่ริมคลองปากลาว
                 ต่อมาแขวงปกาไสมีความเจริญและผู้คนมากขึ้นตามลำดับ พระปลัดเมืองจึงได้ย้ายมาทำการตั้งที่บ้านหินขวาง ปากคลองกระบี่ใหญ่ ต่อมาได้รับการยกฐานะจากแขวงขึ้นเป็นเมืองใน ร.ศ.95 พ.ศ.2415 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้ชื่อว่า"เมืองกระบี่" ครั้งแรกมี 4 อำเภอ คือ อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอปากลาว อำเภอคลองพน อำเภอเกาะลันตา
  7. กระบี่ในสมัยการปกครองมณฑลเทศาภิบาล การเทศาภิบาลเป็นการปกครอง ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ นำมาปรับปรุงระเบียบการบริหาร ราชการแผ่นดินในส่วนภูมิภาค จังหวัดกระบี่ได้รวมอยู่ในมณฑลภูเก็ต

                            *********************************

หมายเลขบันทึก: 369016เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2010 18:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ศรายุธ เขมาครับผม!!

มีแบบฝึกหัดด้วยดิเจ๋งเลย

สวัสดีค่ะคุณครู

   คนกระบี่....เลยแวะมาดูเรื่องราวกระบี่ค่ะ

   น่าสนใจหลายเรื่องเลย

   เป็นกระบี่แต่บางเรื่องก็ไม่ได้รู้ลึก

                                                  ขอบคุณค่ะ....ที่ให้ความรู้

สวัสดีค่ะคุณครู

ขอบคุณคระที่ให้รู้ความเป็นจังหวัดกระบี่

ขอบคุณครับที่ให้ประวัติกระบี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท