อรทัย เอี่ยมสอาด


คุณภาพการศึกษา

                จากคำถามในชั้นเรียนวิชา การวิจัยและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา (Research and Theory in Educational Technology) ที่ว่า “อะไรเป็นจุดตั้งต้นของคุณภาพการศึกษาไทย” มีคำตอบอยู่ 3ประเด็นก็คือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหาร ขอเลือกประเด็นในเรื่องของผู้สอน มาเป็นประเด็นในการอภิปราย          

                จากการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญ ๆ ทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดการจัดการศึกษา เนื้อหาสาระของหลักสูตรการเรียนการสอน ระบบการประเมินผลผู้เรียน ระบบการบริหารงานบุคน ระบบการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา โครงสร้างการบริหารงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมุ่งไปที่เป้าหมายเดียวกันคือ คุณภาพผู้เรียน หรือ “คุณภาพการศึกษา” (สำนักงานประเมินผลการศึกษา, 2550, คำนำ)

                สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2551, หน้า 42) ได้ให้ความหมายของ คุณภาพการศึกษา เอาไว้ว่า หมายถึง “ผลการจัดการศึกษาที่เกิดขึ้นกับ

ผู้เรียนในทุกระดับ/ประเภทการศึกษา และผลการดำเนินงานที่มีคุณภาพของหน่วยงาน

ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาของผู้เรียน” ซึ่งบุคคลผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้เรียนมากที่สุดก็คือ ผู้สอน หรือ “ครู” นั่นเอง

                แม้จะมีความพยายามปรับเปลี่ยนวิธีการสอนแบบใหม่ นำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน แต่ครูก็ยังเป็นปัจจัยชี้ขาดว่าการศึกษาจะได้ผลหรือไม่ เนื่องจากครูเป็นด่านหน้าหรือผู้ปฏิบัติการกลุ่มแรกที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ในปัจจุบันครูในสถานศึกษาต้องรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบการบริหารและแนวคิดการเรียนการสอน

เช่น การบริหารที่เน้นโรงเรียนเป็นฐานและการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นต้น เฉพาะเรื่องแนวคิดผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างเดียว หากครูจะปรับการเรียนการสอนให้ตอบสนองแนวคิดเรื่องนี้ครูต้องมีภารกิจเพิ่มขึ้นอย่างน้อยถึง 11 ประการ เช่น ครูต้อง

ศึกษาวิจัยเพื่อทำความรู้จักกับผู้เรียนเป็นรายบคคล สามารถให้คำแนะนำได้ทุกเรื่อง ทุกเวลา

ครูต้องร่วมวางแผนการเรียนรู้กับผู้เรียน ครูต้องสรรหาและสนับสนุนสื่ออุปกรณ์ไว้ให้พร้อม โดยเฉพาะห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ดังนั้น ครูทั่วไปจึงตอบสนองด้วยการให้ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการค้นคว้ารายงานด้วยตนเอง อันเป็นการเพิ่มภาระงานให้ผู้เรียนทุกวิชาและต้องค้นหารายงานโดยที่ไม่ทราบรายละเอียดของงานว่าคืออะไร เพื่ออะไร

                งานวิจัยบางชิ้นชี้ว่าปัญหาที่เกิดจากครูคือ

                1. ครูมีภารกิจการสอนมากทำให้ครูไม่มีเวลาในการพัฒนาและจัดการเรียนรู้มากนัก โดยเฉพาะการเรียนรู้ตามแนวทางที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งต้องใช้เวลาและต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

                2. ครูต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับเรื่องเอกสารรายงานการจัดการศึกษา เนื่องจากโรงเรียนเป็นหน่วยสุดท้ายที่นำนโยบายไปสู่ภาคปฏิบัติ และต้องรายงานผลงานทกเรื่องทำให้เอกสารมากเกินไป

                3. ครูบางส่วนไม่ยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนแม้จะเป็นผู้ที่มีความรู้

ความเข้าใจดีว่า การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญจะก่อประโยชน์แก่ตัวผู้เขียนมากกว่าวิธีการเดิม ซึ่งข้อนี้นับเป็นอุปสรรคสำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ

                4. ครูบางกลุ่มทำผลงานเพื่อขอตำแหน่งโดยเบียดเบียนเวลาของผู้เรียน การที่ครูเอาเวลาที่ควรจะสอนมาเขียนผลงานส่วนตัว ทำให้เด็กขาดโอกาสในการพัฒนา ไม่เพียงเท่านั้น ผลงานที่เสนอออกไปนั้นยังไม่ได้มีส่วนช่วยให้ผู้เรียนดีขึ้น

                5. ครูที่ไม่ได้จบวิชาเอกหรือโทตามภารกิจงานสอน เช่นครูวิทยาศาสตร์ไม่ได้จบวิชาเอกหรือโททางวิทยาศาสตร์ และมักจะไม่มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากเพียงพอ ซึ่งปัญหานี้จะพบมากในโรงเรียนในชนบท

                สิ่งที่การศึกษายุคใหม่เรียกร้องคือ ขอให้ครูพัฒนาตนเองทั้งในฐานะของวิชาชีพและคนในสังคม ต้องเพิ่มพูนความรู้และทักษะอย่างต่อเนื่อง มิใช่เพียงเพื่อการประเมินงานเข้าสู่ตำแหน่ง (สำนักงานประเมินผลการศึกษา, 2550, หน้า 58-61)

                การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย เช่นเดียวกับนโยบายของอดีตนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์จุลานนท์ ที่ได้แถลงไว้ว่า “ให้มีการเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ ขยายโอกาสทางการศึกษาของประชาชนให้กว้างขวางทั่วถึง...เพื่อให้การศึกษาสร้างคน และสร้างความรู้สู่สังคมคุณธรรม คุณภาพและประสิทธิภาพ” กระทรวงศึกษาธิการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน) ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในทุกระดับ จึงมอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระเบียบวาระแห่งชาติ (พ.ศ. 2551-2555) โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการ

พัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย ประกอบด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ) เป็นประธาน ผู้บริหารองค์กรหลัก กระทรวงศึกษาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการโดยมีสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาเป็นฝ่ายเลขานุการเพื่อกำหนดทิศทางและให้คำแนะนำปรึกษาในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาดังนี้

                ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเตรียมความพร้อมและพัฒนาการของผู้เรียน

                ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา

                ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศกษา

                ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดระบบการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา

                ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษา

                ยุทธศาสตร์ที่ 6 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม

                ซึ่งหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์นั้นคือ การพัฒนาคุณภาพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้มีครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาพอเพียง

ตามเกณฑ์ มีคุณภาพสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน รวมทั้งมีระบบการผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมคนดี คนเก่งเข้ามาสู่วิชาชีพและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น จึงกำหนดกลยุทธ์/มาตรการสำคัญ คือ

                1. ขอคืนอัตราเกษียณ และเกษียณก่อนกาหนด (early retire) และวงเงินให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ ในอัตราร้อยละ 100 ในเวลา 5 ปี

                2. ยกเลิกระบบครูอัตราจ้าง และจัดให้มีระบบคัดสรรครูทีมีคุณภาพ เพื่อรับบรรจุเป็นข้าราชการครู

                3. ปรับเกณฑ์กำหนดอัตราครู โดยกำหนดภาระงานครูให้ชัดเจนและจัดให้มีบุคลากรสายสนับสนุนให้เหมาะสมเพียงพอ และสนับสนุนให้มีอัตรากำลังครูตามเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ให้มีสถาบันใดขาดครู

                4. พัฒนาสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นสถาบันการgกษาแห่งชาติหรือNational lnstitute of Education ที่มีความเป็นเลิศด้านการผลิตและพัฒนาครู เน้นภารกิจการผลิตครูใหม่ การพัฒนาครูประจำการ และการวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านวิชาชีพครู

                5. สร้างแรงจูงใจให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดให้มีเงินวิทยพัฒน์สำหรับครูที่เข้ารับการพัฒนาตนเอง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในหลักสูตรที่ได้รับความเห็นชอบ เป็นต้น

                6. พัฒนาระบบประเมินสมรรถนะวิชาชีพครูให้เชื่อมโยงกับความสามารถในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ้

                7. พัฒนาครูประจำการและบุคลากรทางการgกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (school based) ให้ทั่วถึงต่อเนื่อง ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงและความต้องการในการพัฒนาการศึกษา

                8. ส่งเสริมการผลิตครูตามโครงการครูสหกิจเพื่อให้นิสิต/นักศึกษาครูมีประสบการณ์การสอนในสถานศึกษาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานวิชาชีพครู

                9. ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สำเร็จการgกษาสาขาอื่นที่มีใจรักในวิชาชีพครูมีโอกาสเข้ามาเป็นครู โดยศึกษาวิชาครูเพิ่มเติมตามที่กำหนด

หมายเลขบันทึก: 368487เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2010 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 16:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร

เมื่อ "ฟันธง" ว่าครู คือ จุดตั้งต้นของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา แล้วจะมีวิธีการพัฒนาอย่างไรต่อไปล่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท