รวมพลภูมิปัญญาภาคเกษตรอีสาน


กิน แจก แลก ขาย ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เป็นนายตนเอง

 

 

รวมพลภูมิปัญญาภาคเกษตรอีสาน

ในเรื่องการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย – สหภาพยุโรป: FTA

 

      เมื่อวันที่ ๑๙  มิถุนายน  ๒๕๕๓ ผู้เขียนบังเอิญได้เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นของภาคเกษตร ในเรื่องการจัดทำความตกลงการค้าเสรี ไทย – สหภาพยุโรป ที่โรงแรมฟูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น เจ้าภาพหลักที่ดำเนินการคือ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ที่บอกบังเอิญเพราะคุณพ่อบุญเพ็ง  ธิมาชัย ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๖๓(ชุมชนบ้านคำแดง) ท่านชวนให้ไปเป็นคนขับรถให้ แต่เมื่อเข้าร่วมกลับได้พบภูมิปัญญาภาคเกษตร จำนวนมากได้มาร่วมงาน ทำให้ได้รับความรู้และแนวโน้มอนาคตภาคเกษตรของไทย ซึ่งผู้เขียนจะนำเสนอข้อคิดจากผู้เข้าร่วมสัมมนามาบอกกล่าวแลกเปลี่ยนกับท่านผู้อ่าน ดังนี้

     ภาพรวมของเกษตรไทย สามารถผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลกได้
๒๕๐ ล้านคน การสินค้าออกของไทยร้อยละ ๘๐ เป็นอาหาร การส่งสินค้าออกเป็นอันดับที่ ๑๕ ของโลก ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร คือ การการเปิดเสรี พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยน ผู้บริโภคเป็นผู้กำหนดความต้องการ เกิดความหลากหลายของอาหาร เน้นคุณภาพทั้งรสชาติ ความสด ขนาด สีสันและความปลอดภัย เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ การผลิตอาหารนอกฤดูกาล ยิ่งในอนาคตผู้ผลิต ต้องคำนึงผู้บริโภคเป็นสำคัญ เน้นรักษาสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์ต้องย่อยสลาย การผลิตต้องลดสารเคมี สารปนเปื้อน เพื่อให้ผู้บริโภคสะดวก ต้องพร้อมรับประทาน พร้อมปรุง ทั้งยังต้องมีคุณลักษณะพิเศษ คือ แคลอรี่ต่ำ วิตามินสูง

 

ความตกลงการค้าเสรี(FTA) คืออะไร

      ความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Ageement : FTA) คือการจับคู่กันของประเทศตั้งแต่ ๒ ประเทศขึ้นไปมาทำความตกลงเปิดเสรีการค้าขายระหว่างกัน เพื่อลดหรือยกเลิกการกีดกันการค้าทุกรูปแบบให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดภาษีนำเข้าสินค้าให้แก่กันและกันให้เหลือ
0 % หรือให้เหลือน้อยที่สุด

 

แนวทางพัฒนาสินค้าเกษตรไทยรองรับกระแสการเปิดเสรีทางการค้า

     ๑. ผลิตสินค้าคุณภาพตามมาตรฐานสากล

     ๒. เพิ่มความหลากหลายของสินค้า

     ๓. เจรจาและร่วมมือกับประเทศคู่ค้า เพื่อลดอุปสรรคทางการค้า

     ๔. อำนวยความสะดวกเพื่อการส่งออก

     ๕. ร่วมมือกับทุกภาคส่วนกำหนดยุทธศาสตร์

 

รวมพลคนภาคเกษตรแง่คิดดีๆ ที่เราควรนำไปใช้

       วันนี้ผู้เขียนได้เรียนรู้แนวทางดำเนินชีวิตของภูมิปัญญาอีสาน ที่ต้องพึงพาธรรมชาติและสามารถอยู่กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างรู้คุณค่าของทรัพยากร การทำเกษตรอินทรีย์ที่ลดความเสี่ยงและส่งเสริมสุขภาพ เป็นการปลุกกระแสการบริโภคที่ปลอดภัย ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ กินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน สร้างตู้เย็นไว้ในบริเวณบ้านที่มีอาหารกินได้ทั้งปี ภูมิปัญญาอีสานจึงเป็นนักวิจัยไทยบ้านที่ค้นพบการทำกินที่ยั่งยืน เงินจึงไม่ใช่คำตอบทุกสิ่งทุกอย่าง การเป็นเกษตรกรยุคใหม่ต้องรู้กลไกตลาดมีอำนาจในการซื้อขาย สินค้าจำหน่ายที่บ้านไม่ต้องพึ่งพ่อค้าคนกลาง ภูมิปัญญาชาวบ้านเหล่านี้ล้วนไม่ตกหลุมพรางการโฆษณา จึงไม่ใช้สารเคมีในการผลิต โดยหาทางออกจากการใช้ระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติบำบัดแก้ปัญหาทางการเกษตร การผลิตสารไล่แมลงจากพืชจึงไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เขาเปลี่ยนความคิดเพื่อชีวิตเขาจะเปลี่ยน ถ้ายังคิดที่จะเป็นผู้บริโภคโดยไม่เป็นผู้ผลิตเกษตรกรไทยจะอดตายและเป็นหนี้ไปจนชั่วโคตร ไม่ต้องรวยมากก็มีความสุขได้ ไม่ต้องเป็นทาสใครแต่เป็นทาสตนเอง สร้างเมล็ดพันธุ์แห่งความสุขสู่ครอบครัวและชุมชน การผลิตจะต้องทำเพื่อ กิน แจก แลก ขาย ถึงเวลาที่เกษตรกรไทยต้องอุดรูรั่วที่ใหญ่มากในการผลิตคือหยุดการใช้ปุ๋ยเคมี หันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพจากมูลสัตว์ สร้างธนาคารต้นไม้ โดยปลูกต้นไม้สามประโยชน์สี่ คือปลูกต้นไม้ ๓ ชนิด คือ ต้นไม้ที่เป็นอาหาร ต้นไม้ใช้สอยและต้นไม้พลังงาน โคนต้นไม่ก็ปลูกพืชที่เป็นอาหาร เป็นสมุนไพรป่าในบ้านจึงเป็นซุปเปอร์มาเกตที่มีอาหารที่กินได้ตลอดปี

 

ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาสำหรับเกษตรกร

     ผู้เขียนยืนยันว่าเป็นข้อสังเกตของผู้เข้าร่วมสัมมนา ผู้อ่านมีความเชื่ออย่างไรเป็นสิทธิที่ท่านจะวิเคราะห์และตัดสินใจในการที่จะลงทุน

     ยางพารา เป็นพืชที่มีการปลูกเพิ่มขึ้นมากในภาคอีสาน พื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นเป็น ๒๐๐ เท่าของพื้นที่ปลูกครั้งแรก ขณะที่ประเทศจีนซึ่งเป็นผู้รับซื้อยางพาราจากไทยรายใหญ่ก็กำลังขยายพื้นที่ปลูกในประเทศลาวและเวียดนาม เมื่อมีปริมาณยางพาราเพิ่มขึ้นจีนก็จะลดปริมาณการซื้อยางจากไทย ทำอย่างไรเราจะแปรสภาพยางพาราให้เป็นผลิตภัณฑ์เองได้นั่นแหละเราจึงจะรอด จะเห็นว่าราคายางพารายังผูกติดกับราคาตลาดโลกซึ่งเรากำหนดราคาเองไม่ได้ขณะที่ผู้ปลูกในภาคใต้ก็ประสบปัญหาโรคระบาด ใบร่วง รากเน่า ราขาว หน้ายางตาย ขาดทุนหลายล้าน คุณภาพชีวิตของประชาชนจะสะสมสารเคมีมากขึ้น ยาฆ่าหญ้าจะทำลายฐานอาหารที่เคยมีจะหายไป คนปลูกยางเพื่อขาย และซื้อทุกอย่างมากขึ้น เพราะไม่มีเวลาในการที่จะผลิตอาหารให้ตนเอง วิถีชีวิตคนปลูกยางจึงเปลี่ยนไปเพราะเวลาในการประกอบอาชีพต้องตื่นในเวลาดึกและนอนพักเวลากลางวัน เวลาที่สร้างสุขแบบอีสานจึงเริ่มห่างไกลกันออกไปเรื่อยๆ

       ปาล์ม เป็นพืชที่ชาวอีสานฝากความหวังใหม่ของคนอีสาน ที่ทดลองประสบความสำเร็จแล้วคือที่มุกดาหาร มีโรงงานรับซื้อแล้ว ผู้รู้หรือนักวิชาการกลับให้ข้อมูลว่า ปาล์มจะถูกกีดกันสินค้าสูงมาก มาเลเซียที่เป็นแหล่งพันธุ์จะหวงพันธุ์มาก จึงเป็นการผลิตที่ต้นทุนสูงมาก อีกทั้งยังราคาไม่แน่นอน ข้อที่น่าสังเกตอีกอย่างพบว่า ผลปาล์มเมื่อตัดออกจากต้น จะต้องส่งให้ถึงโรงงานภายใน ๒๔ ชั่วโมง การดูแลนั้นต้องใช้นำมากเพราะปาล์มชอบอากาศแบบชุ่มชื้น แล้วอีสานประสบปัญหาเรื่องน้ำคงต้องเตรียมน้ำให้เพียงพอ

       ผู้เขียนขอยืนยันว่าที่ตนเองนำมาเขียนนั้นได้ข้อมูลจากการฟังความคิดเห็น ท่านผู้อ่านที่ไม่เห็นด้วยผู้เขียนก็ได้และกรุณาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนเกษตรกรด้วยจะได้ข้อมูลที่เป็นสองมิติ ทำให้ผู้ที่คิดจะดำเนินชีวิตเลือกทางเดินในการทำมาหากินได้อย่างปลอดภัยไม่เสียงต่ออนาคต

คำสำคัญ (Tags): #ภูมิปัญญาอีสาน
หมายเลขบันทึก: 368354เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2010 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

เมื่อได้รับข้อมูลที่ดีและมีประโยชน์บวกกับความคิดเห็นของผอ.เข้ามาด้วย

ทำให้ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น   ถึงแม้จะไม่มีประสบการณ์ทางด้านนี้มาก่อน

แต่ก็พอจะเข้าใจและเห็นใจคนที่ปฏิบัติแล้วได้ผลผลิตไม่คุ้มค่าหรือกลไกทางด้าน

ตลาดไม่แน่นอน....

มาชวนให้ไปอ่านและตอบคำถามว่าอยากกอดใคร??? 

P ขอบคุณ คุณครูkruqui  chutima

               ขอบคุณพลังแห่งการกอดครับ ไปอ่านมาแล้วประทับใจครับ

สวัสดีค่ะท่าน ผอ. มารับสาระที่ดีในการนำไปเป็นแนวทางการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความพอเพียง และเรียบง่ายนะคะ

สวัสดีค่ะท่านผอ.

ยางพาราขยายพื้นที่ปลูกที่ลาวเยอะจริงๆค่ะ มีนักลงทุนจากจีน เวียดนามเป้นนายทุนใหญ่ ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างอีกที มีเพียงบางกลุ่มเล็กๆ ที่เริ่มลงทุนปลูกเอง ถ้ามีพท.ของตนเอง ซึ่งอาจจะใกล้เคียงกับสภาพฝั่งอิสาน ล้วนเป็นการลงทุนจากกลุ่มคนภายนอก รวมถึงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา ส่งผลเรื่องการรุกป่าสงวนซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในพื้นที่ จะกระทบต่ออาหารในป่าธรรมชาติ .. เห็นด้วยค่ะต้องใช้ธรรมชาติเยียวยากันเอง ;)

หากแต่ข่าวดีเมื่อไม่นานนี้ มีการรับรองผลวิจัย ว่ายางพารา สามารถนำมาสกัด และใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิต เครื่องสำอางค์ ครีมหน้าขาว ซึ่งก็คงต้องติดตามกันต่อไปว่า เกษตรกรจะได้รับผลพลอยได้จากมากน้อยเพียงไรค่ะ

และสิ่งดีๆ อีกประการคงเป็นเรื่องของ สภาพอากาศ เนื่องจากฝั่งโน้นปลูกยูคาฯ กันเยอะ ถ้าการเพิ่มไม้ใหญ่อย่างยางพารา อาจไปช่วยกักเก็บความชุ่มชื้น ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลมากขึ้น ?

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ สำหรับมุมความรู้นี้

สวัสดีค่ะ คราวก่อนหนูได้ทราบข่าวว่าภาคอีสานมีการทำสวนยางกันมากขึ้น

คราวนี้ลงปลูกปาล์มด้วย แสดงว่าความอุดมสมบูรณ์กลับคืนมาแล้วใช่มั๊ยค่ะ

ยินดีด้วยค่ะท่าน..ขอบคุณน่ะค่ะ

P ขอบคุณ คุณrinda ภูมิปัญญาไทยเรียบง่ายแต่ยั่งยืนครับ

P ขอบคุณ คุณ poo เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์

                        ถ้าทำเครื่องสำอางได้ราคาคงสูงขึ้นครับ

P ขอบคุณคุณครูบันเทิง

              ปาล์มที่อีสานมุกดาหารเก็บผลผลิตได้แล้ว ยโสธรกำลังปลูกดูเหมือนจะงาม

ดีเหมือนกัน

  • สวัสดีค่ะ ผอ.พรชัยP
  • แวะมาทักทายรับรู้สาระดี ๆ เกี่ยวกับการเกษตร...
  • ภูมิปัญญาอีสานมีมากมายที่น่าทึ่งจริง ๆ ค่ะ..."กินสิ่งที่ปลูก  มีตู้เย็นรอบบ้าน"
    นี่แหละ "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"
  • ขอบพระคุณเรื่องราวดี ๆ ที่แบ่งปัน
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านค่ะอาจารย์ "ปาล์ม" เป็นพืชที่น่าสนใจทีเดียวค่ะ ที่บ้านบุษราก็ปลูกเหมือนกัน "แต่ขอบอกว่าที่บุษราต้องกลับบ้านไปทุกเสาร์อาทิตย์ไปแบกปาล์มนั่นเอง" หนักมาก ๆ
  • วันนี้ได้นำภาพสาว ๆ สวย ๆ มาฝากอาจารย์ด้วยค่ะ

         

 

ขอบคุณคุณครู ธรรมทิพย์P

                   พอเพียง พออยู่พอกิน พอใจ

P ขอบคุณคุณครูคิม

                  จองไว้สักตัวครับ

P ขอบคุณน้องบุษรา

                 แบกปาล์มได้แสดงว่าแข็งแรงมากๆ แบกเงินแบกทองก็น่าลองอยู่นะ

มีความสุขมากๆ ครับน้องสาวคนเก่ง

สวัสดีค่ะ ท่าน ผอ.

   มาเยี่ยมบันทึก..เจอเรื่องปาล์มซึ่งป็นเรื่องที่สนใจพอดีเลยค่ะ...พ่อบ้านกำลังคิดปลูกคงต้องขอคำชี้แนะจากท่านนะคะ....ท่านสบายดีนะคะ

ขอบคุณค่ะท่านผอ.พรชัย

ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ เรื่องใกล้ตัว...........ความตกลงการค้าเสรี(FTA)

P  ขอบคุณ ดร กระแต  ถ้าสนใจก็น่าจะลองดูนะครับ ปลูกต้นไม้ผมว่าดีทั้งนั้นอย่างน้อยก็ลดภาวะโลกร้อน อนาคตเป็นพืชพลังงาน ทดแทนน้ำมัน ไบ โอ ดีเซล เราเริ่มก่อนอาจจะได้เปรียบ

P  ขอบคุณ ดร อนงค์

                ที่จริงผมเองก็ไม่มีความรู้เรื่องนี้มากนัก ถ้าไม่มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนา

ก็คงไม่ทราบครับว่ามีความเป้นมาอย่างไร

สวัสดีครับอาจารย์

แวะมาเยี่ยมทักทายยามสายครับ

ที่ดอยมูเซอฝนเริ่มตกแล้ว อีกไม่กี่วันนี้จะลงมือปลูกข้าวแล้วครับ...

P ขอบคุณคุณหนานเกียรติ

                      ขอให้ฝนตกตามฤดูกาลชาวนาจะได้ยิ้มเสียที สบายดีนะครับ

การดำเนินงานสร้างบ้านพักคงเสร็จสมบูรณ์ อยากไปเยี่ยมชมครับ แต่ติดสัมมนา

ที่สุราษฎร์ธานี ช่วงเวลาดังกล่าวครับ ขอให้ประสบความสำเร็จดังปรารถนาครับ

สวัสดีค่ะ ผ.อ.

มาเรียนรู้ และมาแจ้งข่าวค่ะ

หนังสืออกแล้ว ประมาณอาทิตย์หน้า คงได้ส่งถึงนะคะ

สวัสดีค่ะ

 ตรงโค่นต้นไม้ แล้วปลูกผักเป็นอาหาร  หมายถึง ต้นไม้ที่โดนโนไปนานแล้ว หรือต้องโค่นทิ้งใหม่แล้วปลูกผัก  ไม่เห็นด้วยนะคะ ต้นไม้แต่ละต้นใช้เวลานานมาก โค่นมาปลูกผักดูกระไรอยู่นะคะ แต่ถ้าโดนโค่นนานแล้วที่ดินว่างก็รีบปลูก

        การส่งออกสินค้าเกษตรไทย ความสื่อสัตย์ของผู้ผลิตหรือบริษัทที่บรรจุเพื่อส่งออกสำคัญมาก ต้องได้มาตรฐานที่เขาต้องการหากปลอมปน สินค้าไม่ได้คุณภาพ เขาพบปัญญหา เขาก็เปลี่ยนไปประเทศอื่นๆจึงมีหลายสินค้าแล้วที่ไทยเสียโอกาสมากๆ อย่างน่าเสียดาย  อีกไม่นานหากมัวแต่ทำไม่ได้มาตรฐาน เวียตนามมีสิทธิ์นำเราแน่ๆค่ะ เพราะความสามัคคี ของเขาก็นำอยู่แล้ว  ความพอเพียงช่วยเหลือแบ่งปัน ฯ อยู่ที่บ้านแผ่นดินของตัวเอง คือความสุขของชีวิตแล้วค่ะ

               

การปลูกพืชตามความต้องการของตลาดนั้น เกษตรกรต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนทุกด้านก่อนตัดสินใจลงมือเพาะปลูก มิเช่นนั้น ปัญหาเดิมๆจะกลับมาอีกเป็นวงจรซ้ำซาก ขอบคุณค่ะ...

ขอบคุณ คุณณัฐรดา

หนังสือเป็นวิทยาทาน เป็นแนวทางสร้างอาชีพครับ ขอบคุณแทนเด็กๆ ด้วยครับ

P ขอบคุณกานดา

                 โคนต้น คือ บริเวณรอบต้นไม้ที่สามารถปลูกพืชสวนครัวแซมเพื่อเป็นอาหารครับ  ไม่ใช่โค่นต้นไม้(ตัด ทำลายต้น)มาปลูกพืชสวนครัวครับ

P  ขอบคุณพี่นงนาท

                ปัญหาเกษตรกรไทย คือ มักจะปลูกพืชชนิดเดียวกันพร้อมกันเวลาขายก็ล้นตลาด จึงขายไม่ออกแล้วก็ขาดทุน

สวัสดีค่ะ...

   * แวะมารับสาระดี ๆ ค่ะ...

   * เพื่อนครูที่ระยองก็ไปซื้อที่ปลูกยางพาราทางภาคอีสานเหมือนกันนะคะ...

   * ขอให้ท่าน ผอ. ผู้มีไฟ...มีความสุขกับการทำงานและการพัฒนาชุมชนนะคะ...

                    

P คนรวยภาคอื่นๆ จะเดินทางมาซื้อที่ดินภาคอีสาน เพราะกลัวน้ำท่วมจากภาวะโลกร้อน 555555555555555555

สวัสดีครับ

  • ปีนี้ที่ยางตลาดฝนแล้ง
  • ตกนิดๆหน่อยๆ ไร่นายังไม่ได้กล้าเลย
  • สงสารชาวไร่ชาวนา  (เกษตรกรต่างบ่นไปตามๆกัน)
  • จะทำอย่างไรได้ล่ะ เมื่อคนทำลายธรรมชาติมากๆ ต่อไปธรรมชาติอาจจะทำลายคนและสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ก็ได้ จริงมั้ยครับ
  • โชคดีมีสุขนะครับท่าน

 

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณผ.อ.มากนะคะที่กรุณาแจ้งข่าวเรื่องหนังสือค่ะ

มาทักทายวันหยุดค่ะ

P ขอบคุณครูจ่อย กาฬสินธุ์ไม่น่าแล้ง เพราะคลองส่งน้ำมีเยอะ

P ขอบคุณณัฐรดา

                  สวยมาก ภาพที่วาดในหนังสือ เป็นคู่มือครูก็ได้

เด็กดูแบบเขียนภาพก็ดีครับ

  • เคยกลับไปเยี่ยมคุณตาที่หนองคาย
  • ได้ทราบว่ามีการปลูกยางพารากันดัวย
  • แถมยังมีองค์กรทางภาคใต้มาดูงานด้วยนะคะ..

สวัสดีค่ะวันนี้มีบล๊อกใหม่ของครูบันเทิงมานำเสนอท่านค่ะ เผื่อจะนำไปฝากเด็กๆค่ะ..บล๊อก  MV เพลงนันทนาการ ครูบันเทิง

..ต้องแดนซ์หน่อยค่ะท่าน

สวัสดีครับ พอดีพรุ่งนี้เป็นวันอบรมวันสุดท้ายครับ กลัวว่าท่านจะเดินทางไกล ผมเชื่อว่าทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะมีโครงการอีกแน่นอนครับ แล้วจะมาเรียนให้ทราบครับ

สวัสดีค่ะ อ.พรชัย

อยากรู้ว่ายางพาราที่ปลูกในภาคอีสานให้น้ำยางดีเหมือนที่ภาคใต้ไหม?

ตอนนี้ไปภาคไหนก็เจอสวนยางพารา

P ขอบคุณคุณครูแป๋ม  หนองคายคือจุดเริ่มต้นการปลูกยางพาราอีสานครับ

P ขอบคุณคุณครูบันเทิง  เปิดดูแล้วต้นน้ำชอบมากร้องได้ด้วย กิวกิ๋ว

P ขอบคุณอาจารย์สามารถ ถ้ามีการอบรมกรุณาส่งหนังสือบอกด้วยครับ

P ขอบคุณ นานา งาน พสว.ศอ.8 ยางให้น้ำมากและกรีดได้เกือบทุกวัน

            เพราะฝนตกน้อยกว่าภาคใต้

 

 

สวัสดีค่ะท่าน ผอ.

สนับสนุนสิ่งที่ท่าน ผอ.เขียนไว้ค่ะ เกษตรกร รวมถึงคนไทยทุกๆ คน ควรหันกลับมาสู่ธรรมชาติ  ทำการเกษตรโดยใช้วิถีธรรมชาติ ให้ธรรมชาติพึ่งพาและเกื้อกูลกันเอง...

ประทับใจค่ะ อยากให้ทุกคนได้อ่าน และนำกลับไปคิดต่อ และลงมือเสียตั้งแต่เดี๋ยวนี้

 

หยุดการใช้ปุ๋ยเคมี หันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพจากมูลสัตว์ สร้างธนาคารต้นไม้ โดยปลูกต้นไม้สามประโยชน์สี่ คือปลูกต้นไม้ ๓ ชนิด คือ ต้นไม้ที่เป็นอาหาร ต้นไม้ใช้สอยและต้นไม้พลังงาน โคนต้นไม่ก็ปลูกพืชที่เป็นอาหาร เป็นสมุนไพรป่าในบ้านจึงเป็นซุปเปอร์มาเกตที่มีอาหารที่กินได้ตลอดปี

 

* ขอบคุณค่ะ บันทึกนี้มีคุณค่าและคุณประโยชน์มากค่ะ

 

 

P ขอบคุณครูใจดี

                  ลืมบอกไปครับ ภูมิปัญญาชาวบ้านเขาบอกว่าให้ปลูกต้นไม้ใช้สอยไว้เป็นบำนาญชีวิตสัก ๑๐๐ ต้น เมื่อจำน่ายได้ต้นละร่วมหมื่นจะได้นำเงินไปเที่ยวชดเชยการทำงานหนักเมื่อยามอาวุโสครับ เขาคิดไกลกว่าพวกเรา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท