การบริหารโรงเรียนคุณภาพ


การบริหารโรงเรียนคุณภาพ : กรณีโรงเรียนต้นแบบผู้บริหารสถานศึกษากระทรวงศึกษาธิการ

ในระหว่างวันที่ 24-25  มิถุนายน  2549 ที่ผ่านมา สมศ. ร่วมกับ                   มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี  ได้จัดสัมมนาทางวิชาการ ในหัวข้อเรื่อง            "รวมพลัง เพื่อพัฒนามาตรฐานการศึกษาไทย  ปี 2549" หัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจที่      ผู้เขียนได้เข้าไปร่วมฟังและคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ ในการบริหารโรงเรียน พอสมควร เพราะผู้ร่วมสัมมนาก็เป็นผู้บริหารต้นแบบที่โรงเรียนผ่านการประเมินรอบที่ 2  ของ สมศ. และผลการประเมินทุกมาตรฐานอยู่ในระดับดีและดีมาก จึงคิดว่าน่าจะนำหลักและแนวคิดนี้ที่ผู้เขียนได้รับมาตีพิมพ์ให้ผู้สนใจได้ประยุกต์ไปใช้ในการบริหารงาน  โดยเฉพาะงานในโรงเรียน

การบริหารโรงเรียนคุณภาพ : กรณีโรงเรียนต้นแบบผู้บริหารสถานศึกษากระทรวงศึกษาธิการ       โรงเรียนที่เข้าร่วมสัมมนา คือ

                      1.       โรงเรียนบ้านระกา

                      2.       โรงเรียนบ้านหนองแดง

                       3.       โรงเรียนศิลาทอง    

 ผู้ดำเนินการอภิปรายคือ   ดร.สมาน  อัศวภูมิ              สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้                                1. นายอดิเรก  บุญคง  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านระกา   จังหวัดศรีสะเกษ  กล่าวถึงการบริหารงานโรงเรียน  บ้านระกาว่า  โรงเรียนบ้านระกาเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก  หน้าฝนน้ำท่วม  หน้าแล้งไม่มีน้ำดื่ม  เป็นโรงเรียนที่มีปัญหา  ก่อนที่นายอดิเรกจะย้ายไปดำรงตำแหน่งนั้นชาวบ้านได้เดินขบวนขับไล่ผู้บริหาร  ทางราชการจึงส่งนายอดิเรกไปแก้ปัญหา   ระยะแรก ครูก็ไม่ให้ความร่วมมือ  หรือแม้แต่นักการภารโรงเองเวลาสั่งงานก็ไม่ทำ  นายอดิเรกกล่าวว่า  เรารอไม่ได้  เมื่อเขาไม่ทำก็ทำเอง  ครูไม่สอนก็เข้าสอนเอง  สั่งนักการภารโรงเรียนขุดดินทำสะพานต่อเชื่อมเข้าไปเล้าไก่กลางสระน้ำนักการไม่ทำ  ก็ลงมือทำเอง  ให้นักการไปสอน  เพราะนักการกำลังเรียนต่อในระดับปริญญาตรี  เผอิญว่าวันหนึ่งท่านพระครูท่านผ่านมาเห็นและถามว่า ผอ. ทำอะไร  เมื่อท่านรู้วัตถุประสงค์ที่นายอดิเรกจะทำเหล้าไก่เพื่อเลี้ยงไก่เป็นอาหารกลางวันให้นักเรียน  ท่านก็นำพระเณรในวัดมาช่วยทำ  ต่อมาชาวบ้านจึงมาช่วยทำ       อีกประเด็นหนึ่งก็เรื่องปัญหาการขาดแคลนน้ำ  ครูในโรงเรียนกล่าวว่า ถ้าแก้ปัญหาเรื่องน้ำได้ เรื่องอื่นก็ดีเอง          นาย อดิเรก  บุญคง  กล่าวว่า  ได้พยายามไปติดต่อหน่วยงานครั้งแล้วครั้งเล่า  ไปบ่อยๆ  จนเขาเห็นใจติดต่อไปที่หน่วยเจาะบาดาลที่ จังหวัดนครราชสีมามาเจาะให้ จึงมีน้ำใช้ (สาเหตุที่ทางจังหวัดศรีสะเกษเขาไม่มาเจาะให้เองเพราะว่าเขามาเจาะหลายครั้งแล้วไม่มีแหล่งน้ำ)  หลังจากนั้นมาก็ได้รับการยอมรับ  ได้พัฒนาโรงเรียน  จนได้รับเลือกให้เป็นผู้บริหารต้นแบบ  หลักในการบริหาร  ที่นำมาใช้  คือ

                       1.       นักเรียนมีคุณภาพ

                       2.       บริหารจัดการมีประสิทธิภาพ

                      3.       ครูบุคลากรเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

                      4.       โรงเรียนเป็นองค์กรเรียนรู้

                     5.       มีการจัดการความรู้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่องการบริหารนั้น ต้องเอาคุณภาพผู้เรียนเป็นตัวตั้ง  เพื่อให้เป็นไปตาม

                    1.       มาตรฐานของการศึกษาชาติ                                                     

                   2.       เหมาะสมกับชุมชน

                   3.       เหมาะสมกับความถนัดเฉพาะตนเน้นให้เกิด  วิชาเรียนดี  วิชาชีพดี  ทักษะชีวิตดี  เป็นพลเมืองดีนอกจากนั้น  เรื่องไหนที่ มีปัญหาให้จัดเอง 

                    1.       ผู้บริหารต้องทำตัวเป็นต้นแบบ/ผู้นำ

                    2.       ทำอะไรให้ยึดเด็กเป็นที่ตั้งไม่ใช่เจ้านาย

                    3.       พัฒนาคนให้ตรงตามความจำเป็น ไม่ใช่เพียงแต่พัฒนา

                    4.       ใช้ พร.บ. เป็นที่ตั้ง               

2. นายครรชิต  เพิ่มศิริพงษ์พันธ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองแดง  อำเภอเสิงสาง   จังหวัดนครราชสีมา  กล่าว่าการทำงานไม่ทำตามนายคอยทำตามที่นายสั่ง แต่ต้องตั้งเป้าว่าจำทำไรและจะให้ผลสำเร็จอย่างไร  การที่จะทำงานได้สำเร็จหรือไม่อยู่ที่ต้นทุน  คือ ความคิด  กับใจ ดีหรือไม่สังคมเป็นผู้ตัดสิน                                  การบริหารงานเริ่มที่พัฒนาบุคลากรให้มีบุคลากร  เช่นพาครูไปดูงาน เชิญวิทยากรไปให้ความรู้ ท่านกล่าวว่าเนื่องจากไม่ทำตามนาย  จึงเป็นโรงเรียนเดียวที่ไม่มีศึกษานิเทศก์ไปนิเทศเลย และไม่เคยไดรับการช่วยเหลือจากจังหวัดเลย         ในปี พ.ศ.  2542  นายครรชิตได้ทำโรงเรียนเป็นรีสอร์ท โรงเรียนมีการปฏิรูปทุกด้าน                                  ทำให้ชุมชนรู้ว่าโรงเรียนเป็นของเขา  เขาต้องดูแลช่วยเหลือ เป็นหน้าที่ ที่เขาต้องรับผิดชอบ  ทำผ้าป่าทำทุกปีเพื่อระดมทุน  ทำให้เป็นวัฒนธรรม  ไม่เน้นว่าจะได้มากหรือน้อย  ไม่เคยเรี่ยไรเงินครูเลย  ปัจจุบันโรงเรียนมีคอมพิวเตอร์  2  ห้องเรียน  นักเรียนเรียนบ เวบในกรณีที่โรงเรียนไม่ครูเชี่ยวชาญสอนในเรื่องนั้นๆ  ทรัพย์สินของทางโรงเรียนไม่เคยหาย  ห้องคอมพิวเตอร์ไม่ใส่เหล็กดัด  บางวันเปิดประตูทิ้งไว้  จนชุมชนขอร้องให้ติดเหล็กเพราะกลัวว่าขโมยจากถิ่นรู้จะมาขโมยไป               

 3. นายประยงค์  แก่นลา   ผู้อำนวยการโรงเรียนศิลาทอง  จังหวัดยโสธร  กล่าวว่าการทำงานไม่มีเป้าหมายจะทำให้เราเดินสะเปะสะปะ                หลักในการทำงาน  ประโยชน์สูง  ประหยัดสุด                การบริหารจัดการที่มีคุณภาพ  ต้อง

                     1.       ลงทุนน้อยได้ผลมากและดี

                     2.       เกิดผลที่ผู้เรียน  ครู  โรงเรียน ชุมชน

                     3.       ฉลาดใช้ทรัพยากร ใช้ท้องถิ่น   หลักในการคิด จงอย่ามีเหมือนเขาให้เป็นแฟชั่น หาด้วยใจ  อย่าบังคับ M ที่สำคัญ คือ Management การจัดการจุดเด่นของโรงเรียน  นักเรียนมีกิจกรรมพัฒนา ถึง  163 กิจกรรม  เป็นโรงเรียนที่เช่าคอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยโรงเรียนไม่ได้จ่ายเอง  ชุมชนเป็นคนจ่าย   เน้นคุณธรรมของนักเรียนเป็นหลัก  ดังคำขวัญที่ว่า  คุณธรรมนำวิชาการ  เป็นโรงเรียนที่เปิดร้านขายของ(สินค้า)โดยไม่มีคนขาย แต่ของไม่หาย

                   สรุปหลักการบริหารทั้ง 3  ท่าน  คือ ต้องคิดนอกกรอบ มุ่งมั่นในการพัฒนาให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ให้ได้ 

ภาพที่ 1 ผอ.อดิเรก ดร.สมาน ผอ.ประยงค์  ผอ.ครรชิต

ภาพที่ 2 ขวาสุดผู้เขียนร่วมถ่ายภาพกับ คณะครูที่มาสัมมนาและ

ท่าน ดร.สมาน  อัศวภูมิ

หมายเลขบันทึก: 36807เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2006 19:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

."....โรงเรียนเป็นองค์กรเรียนรู้...."

ผมชอบ คำนี้ ของ คุณครูจังเลยครับ 

โพสต์ เพื่อ ชื่นชมครับ

 ***********************************

เห็น รร ใน ตจว ทำแบบนี้  รร ใน กทม  จะว่าไงครับ

อาจารย์ มหา ฯ จะว่าไง

 

ขอชื่นชมคุณครูสายด้วยคนนะคะhttp://gotoknow.org/todsaporn
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท