นิตยา เรืองแป้น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นิตยา นิตยา เรืองแป้น เรืองแป้น

Course Syllabus รายวิชาเทคนิคการให้คำปรึกษา


Course Syllabus รายวิชาเทคนิคการให้คำปรึกษา

 

ประมวลการสอน  (Course  Syllabus)

ประจำภาคการศึกษาที่ 1  ปีการศึกษา  2553

1.  คณะครุศาสตร์ ภาควิชา  พื้นฐานการศึกษา

2.  รหัสวิชา    1105329 ชื่อวิชา  เทคนิคการให้คำปรึกษา (อังกฤษ)  Techniques in Counseling

จำนวน  3 (2-2-5)หน่วยกิต

3.  เนื้อหา  (Course  Description)

ศึกษาการให้คำปรึกษารูปแบบต่าง ๆ การวิเคราะห์ผู้ขอรับคำปรึกษาเพื่อการ ตัดสินใจ

ร่วมกัน การใช้ทักษะ เทคนิค วิธีการต่าง ๆ ในการให้คำปรึกษา การ ประเมินผลการให้คำปรึกษา เน้นการฝึกปฏิบัติ

 

4. วัตถุประสงค์ของวิชา 

                4.1  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา สามารถอธิบายถึงความหมายของการให้คำปรึกษา  ความแตกต่างระหว่างการแนะแนว   การให้คำปรึกษาและจิตบำบัดได้ ประเภทของการให้คำปรึกษา ตลอดจนสามารถอธิบายถึงหน้าที่และความสำคัญที่ต้องมีทฤษฎีในการให้คำปรึกษาและจรรยาบรรณของผู้ให้คำปรึกษาได้

                4.2  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ   สามารถอธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์  พัฒนาการทางบุคลิกภาพ  ความแตกต่างระหว่างบุคคล  และมโนคติที่เป็นหลักการสำคัญของการให้คำปรึกษา ได้ ตลอดจนสามารถอธิบายถึงเป้าหมายของการให้คำปรึกษา  บทบาทหน้าที่ของผู้ให้คำปรึกษา   ขั้นตอนและเทคนิคการให้คำปรึกษา  ประโยชน์และข้อจำกัดในการนำเทคนิคการให้คำปรึกษาไปใช้

                4.3  เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายการพัฒนาแนวปฏิบัติการให้คำปรึกษา  โดยพิจารณา ธรรมชาติของมนุษย์  เป้าหมาย แนวปฏิบัติการให้คำปรึกษา  และบทบาทของผู้ให้คำปรึกษา รวมถึงแนวทางการพัฒนาแนวปฏิบัติในการให้คำปรึกษา

                4.4 เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ถึงจุดดี และจุดด้อยของตนเอง  เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายของผู้ให้คำปรึกษาที่ดีต่อไป  ประโยชน์และข้อจำกัดของเทคนิคการให้คำปรึกษาที่เหมาะสมกับตนเอง

 

5.  หัวข้อวิชา (Course  outline)

      5.1 ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา

      5.2 ความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล

      5.3 การสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

     5.4 กระบวนการการให้คำปรึกษาอย่างเป็นระบบ (Systematic Counseling)

      5.5 เทคนิคและกลวิธีในการให้คำปรึกษา

      5.6 เทคนิคการใช้โทรศัพท์เพื่อการให้คำปรึกษา (Telephone Technique)

      5.7 เทคนิคการเขียนรายงานเพื่อการให้คำปรึกษา (Written Communication Technique)

 

6.  แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนให้เกิดจินตนาการตามแนวคิดผู้เรียนเป็นสำคัญ 

                ใช้วิธีการสอนโดยการสาธิต  การฝึกปฏิบัติ  การอภิปราย  การศึกษาจากกรณีตัวอย่าง  การให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองทั้งแบบเดี่ยวและกลุ่ม 

 

7.  อุปกรณ์การสอนและสื่อต่าง ๆ 

                เครื่องคอมพิวเตอร์  วีซีดี   เพาเวอร์พอยท์  หนังสือ  เอกสารประกอบการสอน  ใบความรู้ ใบงานและบทความต่างๆ

 

8.  การวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน 

             8.1  จากการฝึกปฏิบัติ 

             8.2   จากการอภิปราย

             8.3   จากการตอบใบงาน

             8.4   จากงานที่กำหนดให้ส่งทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม 

             8.5  การสอบกลางภาค

             8.6   การสอบปลายภาค 

                งานเดี่ยว

  1. การฝึกปฏิบัติ การอภิปราย การทำกิจกรรมใบงาน  (10 คะแนน)
  2. การทำรายงาน บันทึกลงใน  web blog  เรื่อง เทคนิคการให้คำปรึกษา  (10 คะแนน)

งานกลุ่ม

                    แบ่งกลุ่ม   ศึกษาค้นคว้างานเพื่อนำเสนอ  ดังนี้ (10 คะแนน)

                    กลุ่มที่ 1  ความแตกต่างระหว่างบุคคล สป.2

                    กลุ่มที่ 2  ความแตกต่างระหว่างบุคคล : Big Five Personality Theoryสป.2

                    กลุ่มที่ 3  ความแตกต่างระหว่างบุคคล : Self-efficacyสป.2

                    กลุ่มที่ 4  ความแตกต่างระหว่างบุคคล : Type A/ Type B Personalityสป.3

                    กลุ่มที่ 5  ความแตกต่างระหว่างบุคคล :  Need for Achievementสป.3

                    ครูสรุป สป.4 

                    กลุ่มที่ 6  สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Relationship)สป.5

                    กลุ่มที่ 7 ทฤษฎีการวิเคราะห์การสื่อสารระหว่างบุคคล  (Transactional

Analysis)สป.6

                    กลุ่มที่ 8  ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารีสป.7

                    กลุ่มที่ 9    กระบวนการการให้คำปรึกษาอย่างเป็นระบบ (Systematic Counseling)สป.8

                     ครูสรุป สป.9

          สอบกลางภาค สป.10                                 

                     กลุ่มที่ 10   เทคนิคและกลวิธีในการให้คำปรึกษา  สป.11

-         เทคนิคการเริ่มต้นการให้คำปรึกษา    

-         เทคนิคการสร้างสายสัมพันธ์และความไว้วางใจ (Establish Rapport)

เทคนิคการแสดงความใส่ใจและสนใจฟัง 

                      กลุ่มที่ 11 เทคนิคและกลวิธีในการให้คำปรึกษา สป.12

 -     เทคนิคการสัมภาษณ์เพื่อการให้คำปรึกษา (Interviewing Technique)

-      เทคนิคการใช้คำถาม

                      กลุ่มที่ 12 เทคนิคและกลวิธีในการให้คำปรึกษาสป.13

-      เทคนิคการสรุปความ

-      เทคนิคการสะท้อนความรู้สึก

                      กลุ่มที่ 13 เทคนิคและกลวิธีในการให้คำปรึกษาสป.13

-      การจัดการกับการต่อต้านไม่ร่วมมือและการส่งต่อ

                      กลุ่มที่ 14 เทคนิคการใช้โทรศัพท์เพื่อการให้คำปรึกษา (Telephone Technique)สป.14

                      กลุ่มที่ 15 เทคนิคการเขียนรายงานเพื่อการให้คำปรึกษา (Written Communication Technique)สป.14

                      ครูสรุป สป.15

9.       การวัดผลและการประเมินผลการเรียน 

  1. การเข้าชั้นเรียน 10%
  2. งานที่มอบหมาย 30%
  3. สอบกลางภาค 20%
  4. สอบปลายภาค 40%

                ใช้วิธีอิงเกณฑ์  และจัดระดับคะแนนตามระเบียบการประเมินผลของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  คือ  A, B+ , B , C+ , C , D+ , D  และ  F

       ข้อกำหนดรายวิชา

  1. การเข้าชั้นเรียน นักศึกษาต้องมีเวลาเรียนอย่างน้อยร้อยละ 80
  2. การเข้าสอบกลางภาค  หากนักศึกษาผู้ใดไม่ได้เข้าสอบกลางภาค และมาติดต่อผู้สอนหลังจากสัปดาห์ที่ 12ไปแล้ว จะไม่ได้รับอนุญาตให้สอบกลางภาค ยกเว้นกรณี
  • ป่วย,ได้รับอุบัติเหตุ
  • มีกิจธุระสำคัญทางราชการ

โดยจะต้องทำจดหมายลาหรือมีหนังสือชี้แจงล่วงหน้า

       3.    การแต่งกาย ต้องแต่งกายในชุดนักศึกษา โดยเป็นไปตามระเบียบที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ หากไม่เป็นไปตามระเบียบจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าชั้นเรียน

 

10.  การให้โอกาสนอกเวลาเรียนแก่นักศึกษาเข้าพบและให้คำแนะนำในด้านการเรียน

                ผศ.นิตยา  เรืองแป้น       

                วันพุธ   14.00 – 16.00 น.  หรือตามนัดหมาย

                โทรศัพท์  081-6797301

                E-mail :  [email protected]

 

11. เอกสารประกอบคำสอนและหนังสืออ่านประกอบ

                อาภา  จันทรสกุล. (2550)  ทฤษฎีและวิธีการให้คำปรึกษา  (พิมพ์ครั้งที่  13)  กรุงเทพฯ :  คณะศึกษาศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

                คมเพชร   ฉัตรศุภกุล.  (2547).  ทฤษฎีการให้คำปรึกษา  กรุงเทพฯ :  สำนักพิมพ์พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

                มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.  (2545).  ประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการให้คำปรึกษา  สาขาศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.  นนทบุรี :  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

                สมโภชน์  เอี่ยมสุภาษิต.  (2539).  ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม  (พิมพ์ครั้งที่  2)  กรุงเทพฯ :  สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

                อรทัย เทพวิจิตร (แปล).  (2542).  Frankel, Viktor (เขียน).  ค่าแห่งชีวิต  :  บนเส้นทางการแสวงหาความหมาย  (Man’s Search  for  Meaning)  กรุงเทพฯ :  เออาร์  บิสสิเนส    เพรส ในเครือบริษัทเออาร์  อินฟอร์มเมชัน  แอนด์  พับลิเคชัน.

              ดร.ริชาร์ด   เนลสัน   โจนส์   แปลโดย :   รศ.ดร.นวลศิริ   เปาโรหิตย์  ดร.เมธินินท์   ภิญญูชน  ทักษะพื้นฐานในการเป็นผู้ให้คำปรึกษาและคู่มือปฏิบัติการ  Basic Counseling Skills & A Helper's Manual
                Corey, Gerald.  (2009).  Theory & Practice of Counseling and  Psychotherapy.8th ed.  Brooks/Cole Thomson Learning.

                   Corey, Gerald.  (2009).  Case  Approach  to  Counseling & Psychotherapy. 7th ed.  Brooks/Cole Thomson Learning

                   Sharf, Richard S.  (2008).  Theories of  Psychotherapy & Counseling  Concept and Cases. 4th  Belmont, CA: Brooks/Cole.

                  Woolfe, Ray  et al.(2003).  Handbook  of  Counselling  Psychology.  London : SAGE Publication.

                  Nystul, Michael S.(1999).  Introduction  to  Counseling  an  Art  and  Science  Perspective.  Boston :  Allyn  and  Bacon.

                  Lapworth, Phil et al.(2001).  Integration  in  Counselling  and  Psychotherapy  Development  a  personal  approach.  London : SAGE  Publication.

                 Stewart, Ian.(2000).  Transactional  Analysis  Counselling  in  Action.  2nd London : SAGE  Publication.

 

 12.  ตารางกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนโดยละเอียด

ครั้งที่ 

เรื่อง 

กิจกรรม

1

บทนำ   ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา

-         การให้คำปรึกษาคืออะไร

-         องค์ประกอบเบื้องต้นของการให้คำปรึกษา

-         ทฤษฏีเบื้องต้นของการให้คำปรึกษา

-         ความแตกต่างระหว่างจิตบำบัดและการให้คำปรึกษา 

-         ความแตกต่างระหว่าง นักจิตบำบัด - ผู้ให้คำปรึกษา

(Psychotherapist – Counselor )

-         บทบาทหน้าที่ของที่ปรึกษา

-         คุณลักษณะที่สำคัญของผู้ให้คำปรึกษา

(Importance of Counseling Skill for Counselor)

   นักศึกษาศึกษาใบความรู้  อภิปราย ทำกิจกรรมใบงาน

 

2

ความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล(การเข้าใจมุมมองของผู้อื่น )

-         ปัจจัยที่ส่งเสริมให้บุคคลมีความแตกต่างกัน

-         ความแตกต่างทางบุคลิกภาพ

-                  Big Five Personality Theory

-                  Self-efficacy

-                  Type A/ Type B Personality

-                  Need for Achievement

-          การประยุกต์ใช้ความแตกต่างระหว่างบุคคลในการให้คำปรึกษา    (Application of Individual Differences in Counseling)

1. นักศึกษานำเสนองานกลุ่มหน้าชั้นเรียน

    2.  นักศึกษาศึกษาใบความรู้  อภิปราย ทำกิจกรรมใบงาน

    3. นักศึกษาฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง

3

การสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล  

-         การสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Relationship)

-         ทฤษฎีการวิเคราะห์การสื่อสารระหว่างบุคคล  (Transactional Analysis)

-     ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี

1. นักศึกษานำเสนองานกลุ่มหน้าชั้นเรียน

    2.  นักศึกษาศึกษาใบความรู้  อภิปราย ทำกิจกรรมใบงาน

    3. นักศึกษาฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง

 

 

 

4

กระบวนการการให้คำปรึกษาอย่างเป็นระบบ (Systematic Counseling)

-         การประเมินตนเอง

-         การสร้างความไว้วางใจ และสัมพันธภาพในการให้คำปรึกษา

-         การทำความเข้าใจปัญหา และหาสาเหตุของปัญหา

-         กำหนดวัตถุประสงค์ และแนวทางในการแก้ไข

-         กำหนดวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา

-         สรุปผลการให้คำปรึกษาและการยุติการให้คำปรึกษา

1. นักศึกษานำเสนองานกลุ่มหน้าชั้นเรียน

    2.  นักศึกษาศึกษาใบความรู้  อภิปราย ทำกิจกรรมใบงาน

 

5

เทคนิคและกลวิธีในการให้คำปรึกษา

-         เทคนิคการให้คำปรึกษา (Counseling Technique)

-         เทคนิคการเริ่มต้นและโครงสร้างการให้คำปรึกษา    

-         เทคนิคการสร้างสายสัมพันธ์และความไว้วางใจ (Establish Rapport)

-         เทคนิคการแสดงความใส่ใจและสนใจฟัง  

-         เทคนิคการสัมภาษณ์เพื่อการให้คำปรึกษา (Interviewing Technique)

-         เทคนิคการใช้คำถาม

-         เทคนิคการท้าทายและการให้ข้อมูลป้อนกลับ 

-         เทคนิคการสรุปความ

-         เทคนิคการสะท้อนความรู้สึก

-         การจัดการกับการต่อต้านไม่ร่วมมือและการส่งต่อ        

 

1. นักศึกษานำเสนองานกลุ่มหน้าชั้นเรียน

    2.  นักศึกษาศึกษาใบความรู้  อภิปราย ทำกิจกรรมใบงาน

3. นักศึกษาฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง

6

เทคนิคการใช้โทรศัพท์เพื่อการให้คำปรึกษา (Telephone Technique) และ

เทคนิคการเขียนรายงานเพื่อการให้คำปรึกษา (Written Communication Technique)

 

1. นักศึกษานำเสนองานกลุ่มหน้าชั้นเรียน

    2.  นักศึกษาศึกษาใบความรู้  อภิปราย ทำกิจกรรมใบงาน

3. นักศึกษาฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง

 

13.  ผู้สอน                 ผศ.นิตยา  เรืองแป้น

 

หมายเลขบันทึก: 367796เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2010 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท