พยานผู้เชี่ยวชาญ ในการพิจารณาคดีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


พยานผู้เชี่ยวชาญ ในการพิจารณาคดีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

แนวทางการพัฒนาศักยภาพและสรรหาบุคลากร

ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสายกระบวนการยุติธรรม

เพื่อรองรับการพิจารณาคดีทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

            วันนี้มีโอกาสอันเป็นพิเศษ อีกแล้ว ดูจากหัวข้อ ก็น่าสนใจมิใช่น้อย อิอิ เนื้อหาสาระที่สำคัญในวันนี้คือ

            การพิจารณาคดี เกี่ยวกับ Forensic Computer และประเด็นปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบัน ก็ประสบข้อจำกัดหลายๆ ด้าน หนึ่งในนั้นก็เรื่อง ความเชี่ยวชาญ ทางด้านเทคนิค เพื่อให้ได้มาซึ่ง พยานหลักฐาน ที่มีประโยชน์ ต่อรูปคดี ดังนั้น คนที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญได้ ควรจะต้องมีความรู้ความสามารถทั้งการวิเคราะห์ข้อมูล และในการสืบข้อเท็จจริง เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่ง ข้อเท็จจริง ที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ในรูปคดี

            ลักษณะของพยานผู้เชี่ยวชาญ

            ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา 98  คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะอ้างบุคคลใดเป็นพยานของตนก็ได้เมื่อบุคคลนั้นเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในศิลป วิทยาศาสตร์ การฝึมือ  การค้า หรือการงานที่ทำหรือในกฎหมายต่างประเทศ และซึ่งความเห็นของพยานอาจเป็นประโยชน์ในจการวินิจฉัยชี้ขาดข้อความในประเด็นทั้งนี้ไม่ว่าพยานจะเป็นผู้มีอาชีพในการนั้นหรือไม่

            ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 วรรคหนึ่ง ผู้ใดโดยอาชีพ หรือมิใช่ก็ตามมีความเชี่ยวชาญในการใดๆ เช่น ในทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ฝีมือ  พาณิชยการ  การแพทย์  หรือกฎหมายต่างประเทศ และซึ่งความเห็นของผู้นั้นอาจมีประโยชน์ในการวินิจฉัยคดี ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา อาจเป็นพยานในเรื่องต่างๆ เป็นต้นว่า ตรวจร่างกายหรือจิตของผู้เสียหาย ผู้ต้องหาหรือจำเลย  ตรวจลายมือ  ทำการทดลองหรือกิจการอย่างอื่นๆ

            คุณสมบัติของพยานผู้เชี่ยวชาญ (ข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยผู้เชี่ยวชาญของศาลยุติธรรม พ.ศ.2546)

  1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
  2. เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ / ความชำนาญพิเศษ / มีประสบการณ์ในด้านที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี
  3. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
  4. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  5. ไม่เคยต้องโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุด  เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
  6. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ  คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
  7. ไม่เคยถูกเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้เชี่ยวชาญของศาล
  8. กรณีเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ที่มีองค์กรควบคุมวิชาชีพ ต้องไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตหรือประพฤติผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ

           

Dsc03997

            ทั้งนี้ ในส่วนเกี่ยวกับพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ การพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ หรือนิติคอมพิวเตอร์ หรือ อาชญวิทยาทางคอมพิวเตอร์ เป็นกระบวนการที่สำคัญต่อกลไกของกฎหมาย เพื่อหาพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อคดีความ แม้พยานหลักฐานจะถูกลบ หรือทำลายออกจากระบบแล้วก็จำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการค้นคืนมาให้ได้   ฉะนั้น การค้นหาพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องอาศัยความรู้เชิงลึก และความสามารถในการจำแนกระบบคอมพิวเตอร์  และระบบเครือข่ายเพื่อหาที่ตั้งของพยานหลักฐานที่ต้องการ หลักการสำคัญก็คือ การกู้ข้อมูลกลับคืน  ซึ่งอาศัย วิธีการพิสูจน์ชี้ตัวจากหลักฐาน กำหนดวิธีการเก็บหลักฐาน สกัดข้อมูล  และแปลความหลักฐาน  และที่สำคัญทุกขั้นตอน ต้องดำเนินกาเรป็นวิธีที่ยอมรับ ตามกฎหมายในชั้นศาล ทั้งนี้อาจต้องอาศัยพยานผู้เชี่ยวชาญ

 

 *อ้างอิงมาจากเอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อย เพื่อระดมสมองและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วันที่ 14 มินายน 2553

หมายเลขบันทึก: 367439เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2010 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท