ภควัทคีตา (๑) : จำเป็นต้องละความทะยานอยากด้วยหรือ ?


การกระทำสิ่งต่าง ๆ อย่างอิสระปราศจากซึ่งความอยาก จะเป็นการกระทำที่สร้างสรรค์มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าที่กระทำไปด้วยอำนาจของความอยาก

Rama-idol-book-bhagavadgita

 

 

สามารถอ่านบางสำนวนได้ที่
http://www.kaladesa.com/thai/articles/syamkuk.org.Gita-Cover.pdf

         สัปดาห์ก่อนมหาวิทยาลัยได้จัดงานออกร้านหนังสือ มีหนังสือลดราคาจำนวนมาก บางเล่มลดราคามากกว่า 50% เย็นวันที่ 6 มิถุนายน 2553 ผมเดินเลือกซื้อหนังสืออย่างรีบร้อน เพราะต้องรีบกลับบ้านไปจัดกระเป๋าเดินทางไปฝึกอบรมและดูงานด้าน e-Learning ที่ประเทศนิวซีแลนด์ 

         ผมได้หนังสือมาหลายสิบเล่ม ผมตัดสินใจอยู่นานเหมือนกันว่า จะนำหนังสือเล่มใดติดตัวไปต่างประเทศด้วย สุดท้ายจึงตัดสินใจเลือกหนังสือเล่มเล็ก ๆ ที่ชื่อว่า "ภควัทคีตา" ติดกระเป๋าไปด้วย ตลอดการเดินทางถ้ามีเวลาว่างคราใดผมก็จะหยิบขึ้นมาอ่านทันที พบว่าเป็นหนังสือที่ทุกคนควรได้อ่านครับ ถึงแม้จะเป็นหนังสือต่างศาสนากับเราก็ตามแต่ ผมมองว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ยิ่งใหญ่มากอีกเล่มหนึ่ง เป็นการยากมากที่สมองอันน้อยนิดของผมจะเข้าถึงได้ แต่เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงขอถอดความรู้ตามทัศนะแห่งตนไว้ ซึ่งต้องขออภัยท่านผู้รู้ถ้ามีข้อผิดพลาดหรือไม่ถูกต้องประการใดไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ 

  • ผมจับประเด็นได้ว่า เหตุแห่งทุกข์ที่สำคัญ คือ ความทะยานอยาก และความยึดมั่นถือมั่น นั่นเอง ดังในหนังสือหน้า 17 กล่าวไว้ว่า

 

สำหรับผู้มีใจผูกแน่นอยู่ในอารมณ์ต่าง ๆ อันผ่านเข้ามาทางตาและหูเป็นต้น ความที่เขามีใจติดข้องในอารมณ์ย่อมทำให้เขาเกิดความกระหายอยาก ความกระหายอยากนั้นเมื่อไม่ได้สมหวังย่อมแปรเป็นความเคียดแค้น

ความเคียดแค้นคือบ่อเกิดของความหลง เมื่อลุ่มหลงย่อมขาดสติ ครั้นสติขาดหาย ปัญญาก็เป็นอันถูกกระทำให้พินาศ ผู้มีปัญญาพินาศย่อมประสบกับความหายนะ

 

 

          ถ้าค่อย ๆ พิจารณาด้วยใจอย่างใคร่ครวญ เราจะเห็นว่า ปุถุชนส่วนใหญ่ (รวมทั้งผมด้วย) เราจะมีความอยาก เมื่อไม่เป็นไปดังที่อยากหรือต้องการนั้นก็เป็นทุกข์ แต่ถ้าเป็นไปดังความอยากแล้ว ก็มีความอยากใหม่ตามมาเสมอ ๆ แต่โดยธรรมชาติแล้ว ความอยากมันก็มีทั้งที่สมหวังและไม่สมหวัง เมื่อไม่สมหวังก็เป็นทุกข์เป็นธรรมดา

        ผมเข้าใจว่า การกระทำสิ่งต่าง ๆ อย่างอิสระปราศจากซึ่งความอยาก จะเป็นการกระทำที่สร้างสรรค์มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าที่กระทำไปด้วยอำนาจของความอยาก เพราะถ้างานใดไม่สมอยากแล้วคงมีปัญหาไม่มากก็น้อย

        คำถามต่อมาคือ เราจะละความทะยานอยากได้อย่างไร ?

 

 

Y4860454

Gita

คำสำคัญ (Tags): #ภควัทคีตา
หมายเลขบันทึก: 366914เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2010 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะอาจารย์

...แต่คนส่วนใหญ่ก็ชอบกระทำสิ่งต่างๆด้วยความอยาก นะคะอาจารย์

...อาจารย์สบายดีนะคะ

สวัสดีครับ คุณปิ่นธิดา

  • ผมสบายดีครับ แต่เมื่อวานร่างกายยังปรับเวลาไม่ได้ ทำให้ดูง่วง ๆ แปลก ๆ ทั้งวันเลยครับ พอได้ชิมส้มตำก็เริ่มเป็นปกติแล้วครับ
  • คนส่วนใหญ่รวมทั้งผมด้วยก็ชอบกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความอยากอย่างเป็นอัตโนมัติเหมือนกันครับ
  • ตอนนี้ผมเองก็กำลังฝึกละได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่พอละได้คราใด(ชั่วคราว) จิตใจก็จะเป็นสมาธิ สงบเย็น ไม่ร้อนรน ดูจะทำงานต่าง ๆ ได้มีประสิทธิภาพกว่านะครับ

    เราจะละความทะยานอยากได้อย่างไร ?

    สำหรับผม   อย่างดีก็ทำได้เพียงแค่  "ลด"   ความทะยานอยากครับ

    ระยะหลัง  เริ่มมีประสบการณ์  ก็พอเริ่มปลง  เริ่ม "ลด" ความทะยานอยากลงได้บ้างครับ  เพราะยิ่งทะยานอยากก็ยิ่งร้อนครับ

 

เรียน ท่าน small man

  • หนังสือ "ภควัทคีตา" นอกจากจะสอนธรรมะขั้นสูงแล้ว ยังชี้ทางสว่างสำหรับผู้นำได้เป็นอย่างดีด้วยครับ อยากให้ท่านผู้นำทั้งหลายได้อ่านมาก ๆ ครับ
  • ทั้งนี้ต้องเปิดใจรับความต่างของศาสนาด้วยครับ เพราะหนังสือเล่มนี้เป็นคัมภีร์ศาสนาฮินดูครับ 
  • ส่วนตัวผมแล้วเชื่อว่า ทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี แก่นแท้ก็คือธรรมชาติอันเดียวกัน
  • ขอบพระคุณที่กรุณามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

 

รู้-เห็น-เป็น-อยู่ ธรรมดา อนุโมทนาครับ

 

นมัสการพระคุณเจ้า

รู้-เห็น-เป็น-อยู่ ธรรมดา

 

กราบขอบพระคุณครับ สาธุ สาธุ

 

สวัสดีค่ะท่าน อจ.ดร.

มาส่งความคิดถึงและชวนไปเอาบุญบั้งไฟด้วยกันค่ะที่

http://gotoknow.org/blog/0815444794/370867  

                                  มาตายี

สวัสดีตอนเช้าตอนค่ะอาจารย์ ....เสาร์นี้สอนศูนย์ไหนคะ หรือว่าอยู่ต่างประเทศ ...แวะมาทักทายค่ะ

                        

 

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูอ่านบันทึกของอาจารย์แล้วรู้สึกซาบซึ้งและเห็นด้วยกับอาจารย์มากเลยคะ แต่ความอยากเนี้ยไม่รู้จะขจัดได้อย่างไรจริงๆ ค่ะ เพราะแม้แต่ขณะนี้ก็ยังมีความอยาก อยากเรียนผ่านทุกวิชา อยากเรียนจบเร็วๆ อยากประสบผลสำเร็จในชีวิตทุกด้าน อย่างนี้เป็นต้น ก็คงเหมือนที่อาจารย์กล่าวไว้ละคะ ว่าเมื่อได้สมดังความอยาก ก็จะมีความอยากเรื่องใหม่ขึ้นมาอีก เป็นอย่างนี้ตลอดอาจเป็นเพราะหนูยังไม่เข้าถึงธรรมอย่างแท้จริงเหมือนอาจารย์กระมังคะ แต่หนูก็จะพยายามอ่านบันทึกของอาจารย์ให้เยอะๆ เผื่อว่าสักวันจะเข้าถึงได้อย่างเต็มภาคภูมิค่ะ ขอบคุณนะคะสำหรับบันทึกดีๆ ที่อาจารย์นำมาให้ทุกคนได้อ่าน มีประดยชน์มากๆเลยค่ะ

 

สวัสดีครับ ครูกระแต

  • เห็นมือพิณกิตติมศักดิ์แล้ว ไม่ธรรมดาจริง ๆ ครับ
  • ขออภัยที่ตอบช้าเพราะพึ่งกลับมาจากเวียตนามครับ

 

 

สวัสดีครับ คุณปิ่นธิดา

  • เสาร์นี้ว่างครับ เพราะพึ่งกลับจากเวียตนาม พอดีเป็นวันเกิดหลานด้วย ก็เลยพาครอบครับไปฉลองกันครับ
  • "ใจ" ถึงแม้จะไม่ใช่เรา เราควรให้ความเมตตา กรุณา และขัดเกลาเขาให้สะอาด สงบ สว่าง และเห็นตามจริงให้ปล่อยวางได้ขอรับ

 

 

 

ดีใจที่ได้สอนเช่นเดียวกันครับ ผมเองก็ยังไม่บรรลุอะไร ขั้นใด แต่ถ้ารอให้บรรลุแล้วค่อยมาสอน ก็ไม่ทราบว่าจะบรรลุเมื่อใด จึงตัดสินใจสอนไปตามภูมิรู้ที่มี ซึ่งอาจไม่ถูกต้องทั้งหมดทีเดียว ให้เลือกเอาเท่าที่เป็นประโยชน์นะครับ

 

 

สวัสดีค่ะอาจารย์...เป็นประโยชน์มากนะคะกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ปัจจุบันที่สิ่งเร้าความอยากของมนุษย์มากมายเหลือเกิน ...อยากลองหามาอ่านดูบ้างค่ะ...บางทีก็ใช้แนะนำคนอื่นได้ด้วยค่ะ...

อาจารย์สบายดีนะคะ...ยังส่งงานอาจารย์ไม่ครบเลย...แต่ก็แวะเวียนเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดจนอ่านความรู้ต่างๆเป็นประจำแม้จะไม่แสดงความคิดเห็น..ชักจะติดใจแล้วค่ะ........ขอบคุณโอกาสในการได้รู้จัก gotoknow...

 

สวัสดีครับ คุณ วรรณภา

  • เป็นหนังสือที่ดีมากอีกเล่มหนึ่งครับ แต่เพราะต่างศาสนา ต่างความเชื่อ อาจทำให้เข้าใจยากนิดหนึ่ง ต้องเปิดใจมององค์รวม แยกแยะจริง ๆ เท็จ ๆ แห่งกาลเวลาให้ได้ เลือกเอาสิ่งดี ๆ จะพบเพ็ชรเม็ดงามครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท