ประชาธิปไตยต้องเริ่มจากวิถีชีวิต


ประชาธปไตย ฝ่าวิกฤติวัยรุ่น ครูเพื่อศิษย์
ประชาธิปไตยต้องเริ่มจากวิถีชีวิต

                        จากประสบการณ์ความสำเร็จ เพื่อเด็กไทยวัยใส (ฝ่าวิกฤติวัยรุ่น) หนึ่งในแก่น
ความรู้ ที่ได้รับอันเป็นผลมาจากการจัดตลาดนัดความรู้ครูเพื่อศิษย์ (25 – 27 ส.ค. 48 ณ โรงแรม รอยัลซิตี้ กทม.) พบว่า ถ้าจะสร้างให้ผู้เรียนมีจิตใจเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนั้น ประชาธิปไตย จะต้องเริ่มจากวิถีชีวิต  ของผู้เรียนเองโดย
 1. สถานศึกษาจะต้องมีบทบาทในการจัดกิจกรรมสร้างวิถีชีวิตประชาธิปไตย ในโรงเรียนและในบ้าน นั่นคือ  ในทุกกิจกรรมคณะครูทุกคนจะต้องสอดแทรกวิถีชีวิตประชาธิปไตยเข้าไปในบทเรียนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นอนุบาล  โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเริ่มจากวินัยส่วนตน เพราะวินัยส่วนตนจะส่งผลกระทบต่อวินัยส่วนรวม และที่สำคัญที่สุดจะต้องเริ่มจากตัวเด็กและครูโดยการสร้างบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยในวิถีชีวิตของผู้เรียนทั้งเมื่ออยู่บ้านและอยู่ในโรงเรียน ได้แก่
           1. ร่วมกันกำหนดข้อตกลง  เช่น  ครูพูดนักเรียนต้องฟัง  นักเรียนพูดครูต้องฟัง  ก่อนพูดนักเรียนต้องขออนุญาตโดยการยกมือ  ก่อนออกจากห้องต้องขออนุญาตครู
           2 . เคารพในสิทธิของผู้อื่น  หยิบของผู้อื่นต้องบอกเจ้าของก่อน  ก่อนเข้าห้องผู้อื่นต้องขออนุญาต
           3. ยึดมั่นในคารวะธรรม  นั่นคือ เข้าแถวรับบริการก่อนหลังเมื่อรับของจากครู ขึ้นรถ ซื้อของหรือรับแจกของ     ก่อนออกจากบ้าน ไหว้พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย พี่ น้า อา ถึงโรงเรียนไหว้ครู รับของจากครูต้องไหว้ครู   ถึงบ้านไหว้พ่อแม่  ทำผิดยกมือไหว้ขอโทษ เด็กก็จะทำเป็นนิสัย ต่อไปและเขาจะมีใบเบิกทางเพราะเมื่อทำอะไรผิดเด็กก็ยกมือไหว้ขออภัย ได้อย่างไม่เคอะเขิน
           4. ปลูกฝังสามัคคีธรรม  เมื่อเด็กมีวินัยส่วนตนและมีประชาธิปไตยในวิถีชีวิตต่อไปครูก็ต้องนำเด็กเข้าทำกิจกรรมกลุ่มโดยการ  ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม  ฝึกให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ฝึกการเป็นผู้ให้และเป็นผู้รับ
           5. ใช้ปัญญาธรรมดำเนินชีวิต  ฝึกให้ผู้เรียนใช้ปัญญาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาและตัดสินปัญหา

2. สถานศึกษาสร้างระบบประชาธิปไตย  โดยจัดให้มีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างหลากหลายทั้งการแก้ไขปัญหาของนักเรียน และ ส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียน โดยใช้ระบบการดูแลนักเรียน โดยนักเรียน เพื่อนักเรียน ตามขั้นตอนดังกล่าว (ดังตัวอย่างจาก
โรงเรียนน้ำพองพัฒนศึกษา รัชมังคลาภิเษก โดย ผอ.วิชิต  พลบำรุง )
               1. ครูร่วมกันจัดทำวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของโรงเรียน โดยมุ่งสู่
นักเรียนเป็นสำคัญ
               2. ครูและนักเรียนร่วมกันจัดทำธรรมนูญนักเรียน เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติและ
มาตรการต่างๆ โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติจริง ในรูปแบบของสภานักเรียน
               3. สภานักเรียนแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในฝ่ายต่างๆ ร่วมกันวางแผนจัดทำโครงการตามบทบาท และหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเสนอต่อ สภานักเรียนเพื่อขอลงมติเห็นชอบดำเนินการ
               4. ดำเนินงานตามโครงการ ที่ได้รับการลงมติเห็นชอบจากนักเรียน โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาอย่างน้อย งาน / โครงการ / กิจกรรม ละ 1 คน
               5. สภานักเรียน โดยคณะกรรมการนักเรียนฝ่ายต่างๆ ติดตามประเมินผล สรุปและรายงานผลการปฏิบัติงาน เสนอต่อสภานักเรียน แล้วนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารโรงเรียนต่อไป
              การดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวนี้ นักเรียนจะได้มีงานรับผิดชอบอย่างมากมาย เมื่อนักเรียนสามารถกำกับดูแลนักเรียนด้วยกันได้ บทบาทและหน้าที่ ของครูก็ลดน้อยลง ครูก็พอมีเวลาที่จะไปพัฒนาการสอนของตนเองมากขึ้น อันจะส่งผลดีต่อการเรียนย้อนกลับไปหานักเรียนอีกเช่นเดิม
                                                                                                                                        3. ประชาธิปไตยสู่ชุมชน
              เมื่อผู้เรียนโตขึ้นเขาก็จะไม่นอนหลับทับสิทธิ แต่จะเข้าไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งโดยคำนึงถึงสิทธิของตนซึ่งส่งผลกระทบต่อส่วนรวมและการขายสิทธิขายเสียงก็จะไม่มี
              ประชาธิปไตยต้องเริ่มจากวิถีชีวิต   สรุปความจากประสบการณ์ความสำเร็จ  เพื่อเด็กไทยวัยใส  ข้อมูลส่วนหนึ่งของผู้อำนวยการวิชิต  พลบำรุง จาก ร.ร. น้ำพองพัฒนศึกษา รัชมังคลาภิเษก  จาก อาจารย์ ดร.วิโรจน์  ศรีโภคา และจากคณะผู้เข้าร่วมประชุมตลาดนัดความรู้  25 โรงเรียน ซึ่งสถาบันฯ   จะทยอยนำเสนอแก่นความรู้   และขุมความรู้ที่ได้จากตลาดนัดความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ประสงค์จะนำความสำเร็จไปต่อยอดความรู้ของตน และขยายผลสู่ผู้เรียนให้เป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข ตลอดไป
                        คณะทำงาน  KM  สพบ.
                              6  ก.ย.  48      

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3667เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2005 12:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท