สมาธิกับสุขภาพ


สมาธิกับสุขภาพ

สมาธิกับสุขภาพ

ศาสตร์การแพทย์แบบทางเลือก... เริ่มเป็นที่นิยมพอสมควรในยุคปัจจุบัน และหนึ่งในศาสตร์ที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดคงเป็นเรื่อง “การนั่งสมาธิเพื่อสุขภาพ” ทั้งนี้ ข้อสนับสนุนสำคัญของการดูแลร่างกายด้วยวิธีนี้ก็คือ เรื่องราวของความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจนั่นเอง

การนั่งสมาธิเพื่อสุขภาพมีใจความสำคัญนั่นคือการฝึกจิตใจและร่างกายให้ทำงานอย่างเป็นระบบ การนั่งสมาธิมีอยู่หลายแบบ หลากหลายเทคนิค และหลายเหตุผลโดยส่วนมากผู้ที่นั่งสมาธิจะเลือกกำหนดจิตใจให้จดจ่ออยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คำบางคำ ลมหายใจ...ฯลฯ ทั้งนี้สิ่งสำคัญของการนั่งสมาธิคือเรื่องของการผ่อนคลาย ทำจิตใจให้สงบเพื่อให้ร่างกายเกิดความสมดุล ซึ่งเมื่อเกิดผลเช่นนั้น ย่อมนำมาซึ่งร่างกายที่แข็งแรงมีสุขภาพดี

สิ่งสำคัญจำเป็น
การนั่งสมาธิมีต้นกำเนิดในดินแดนตะวันออก ด้วยเหตุผลทางศาสนา ดังนั้น ในแต่ละประเทศจึงมีเทคนิคการทำสมาธิที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามการทำสมาธิมีต้นกำเนิดมากกว่า 1,000 ปี และแพร่หลายเข้าไปในประเทศต่างๆ ที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม ต่อมา ในปัจจุบันผู้คนได้ค้นพบประโยชน์ที่แฝงอยู่จึงนำมาใช้เพื่อประเด็นเรื่องสุขภาพโดยการนั่งสมาธิ ผู้นั่งจะต้องเริ่มต้นที่การหัดเพ่งความสนใจไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หยุดความคิดที่ฟุ้งซ่านเพื่อทำจิตใจให้ว่างเปล่า นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ดังนี้


• สถานที่เงียบสงบ ผู้เริ่มต้นนั่งสมาธิควรเลือกสถานที่ที่ผ่อนคลาย ไม่มีอะไรมารบกวน ทั้งนี้ การเริ่มต้นค่อนข้างยาก... เพราะต้องทำให้จิตใจสงบให้มากที่สุด แต่หากเวลาผ่านไป ย่อมพัฒนาจิตใจ ทำให้นั่งสมาธิได้ในกลุ่มผู้คนจำนวนมาก


• ท่าที่สบาย การเลือกท่าทางในการทำสมาธิเป็นสิ่งสำคัญมาก ควรเลือกท่าที่ตนเองชอบมากที่สุด ถ้าหากไม่ชอบนั่งหลังตรง ตัวตรง เพราะรู้สึกไม่สบาย คุณอาจจะเลือกท่านอน นั่งพิง หรือแม้แต่กำลังเดินก็ได้


• การรวบรวมความสนใจ การต้องเลือกพุ่งความสนใจไปที่จุดใดจุดหนึ่งคือ หัวใจของการทำสมาธิ ถ้าหากคุณยังคงคิดฟุ้งซ่านถึงหลากหลายเรื่อง นั่นย่อมหมายถึงจิตใจที่สับสนวกวน ไม่ประสบความสำเร็จ


• อย่าเครียดจนเกินไป ในการนั่งสมาธิ มีหลายครั้งที่มีเรื่องบางเรื่องผ่านเข้ามาในใจ... ถ้าหากเป็นเช่นนั้น คุณสามารถปลอ่ยใจให้คิดถึงมันได้บ้้างเป็นระยะจากนั้นขอให้ดึงสมาธิกลับมาที่เดิมให้ได้

สมาธิกับสุขภาพ
การนั่งสมาธิเพื่อสุขภาพเปรียบได้กับการให้ยากับจิตใจ... เพราะการนั่งสมาธิจะทำให้สมองปลอดโปร่ง การทำงานของร่างกายสัมพันธ์กันดียิ่งขึ้น และยังทำให้คุณควบคุมอารมณ์ได้เป็นอย่างดีซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม ผู้ที่เหมาะสมจะนั่งสมาธิ ได้แก่ผู้มีอาการเหนื่อยล้าโดยไม่มีสาเหตุ หดหู่ คิดมาก จิตใจไม่ค่อยสบาย หรือมีอาการอ่อนไหวมากจนเกินไป รู้สึกเจ็บปวดตามร่างกายเป็นประจำ เคร่งเครียด นอนไม่หลับ

 

ผลที่ได้รับ

การฝึกฝนสมาธิสร้างผลกระทบให้กับจิตใจ และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เห็นได้ชัดคือ ระบบต่างๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้รัดกุมมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของระบบประสาท รวมถึงเรื่องการทำงานของหัวใจ การหายใจ ระบบย่อยอาหารซึ่งจะดีขึ้นโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ ส่วนต่างๆ ของร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่

Sympathetic Nervous System ส่วนนี้จะช่วยในเรื่องปฎิกิริยาโต้ตอบต่างๆ ของร่างกายเมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกเครียดหรือไม่สบายใจ มันจะสร้างการตอบรับฉับพลัน นั่นคือการหายใจที่ถี่ขึ้นและหัวใจที่สูบฉีดเลือดอย่างรวดเร็ว เส้นเลือดต่างๆ จะทำงานหนักตามไปด้วย และแน่นอนกล้ามเนื้อก็จะตึงแน่นโดยไม่รู้ตัว

Parasympathetic Nervous System เป็นส่วนที่จะสร้างความรู้สึกอยากพักผ่อนและดูแลเรื่องการย่อยอาหาร และทำงานสัมพันธ์กับ Sympathetic Nervous System เมื่อใดก็ตามที่ระบบแรกทำงานผิดปกติ กล่าวคือ ร่างกายเกิดอาการเครียด หัวใจสูบฉีดเลือดรวดเร็ว กล้ามเนื้อตึงแน่น ย่อมส่งผลต่อการย่อยอาหารและระบบพักผ่อน นั่นคือ การที่ร่างกายทำงานหนักกว่าเดิม ทำให้อาหารไม่ย่อยและเกิดอาการนอนไม่หลับ

หลังจากเรียนรู้ระบบทั้งสอง นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน NCCAM (National Center for Complementary and Alternative Medicine) ได้รับรู้ถึงประโยชน์ของการนั่งสมาธิ พวกเขาศึกษาถึงส่วนสมองของมนุษย์ และความสัมพันธ์ของระบบทั้งสองภายในร่างกายอย่างละเอียด พบว่า การโต้ตอบของร่างกายสัมพันธ์กับการทำงานเป็นอย่างมาก การนั่งสมาธิเปรียบเสมือนการพักผ่อน ผ่อนคลายและสร้างความเป็นระบบให้กับร่างกาย ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อว่าการนั่งสมาธิส่งผลโดยรวมต่อองค์ประกอบของร่างกาย... อันเป็นเรื่องสำคัญของสุขภาพโดยรวม
 

คำสำคัญ (Tags): #สมาธิ#สุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 366542เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2010 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ

อ่านแล้วได้ความรู้เรื่องการนั่งสมาธิการรักษาสุขภาพมากเลยคะขอบคุณนะคะที่แบ่งปันความรู้

สวัสดีค่ะ

วันนี้พึ่งคลิกพบว่าคุณไปบอกไว้ว่า "ผมรักในหลวงครับ" ที่ภาพพระองค์ เมื่อ 5 พค.2553

ค่ะ "เรารักในหลวง " เชิญคลิกไปถวายพระพร ออนไลน์ พระองค์ท่านด้วยนะคะ

 

http://gotoknow.org/blog/abcdefghk/451533  คลิกถวายพระพร

 

 

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท