ความแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน


1. จากการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายมหาชนที่ผ่านมา ให้นักศึกษาอธิบายถึงหลักการแบ่งแยกกฎหมาย , กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชนคืออะไร ตลอดจนอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชนมาพอสังเขป

 

กำเนิดกฎหมายมหาชน

  ถ้าจะพูดถึงกฎหมายมหาชน จริง ๆ แล้ว เราคงพูดได้ว่าเพิ่งเกิดกฎหมายมหาชนในฐานะ กฎหมาย  (ไม่ใช่ปรัชญาการเมืองการปกครอง) ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 นี้เอง กล่าวคือ ภายหลังการประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาจากอังกฤษ และมีการจัดทำรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาขึ้นในปี 1787 และภายหลังการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส ปี 1789 และได้มีการประกาศคำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมืองฝรั่งเศส ปี 1789 ตลอดจนมีการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นในฝรั่งเศส ได้มีการนำเอา ปรัชญาการเมืองการปกครองในยุคศตวรรษที่ 18 มาบัญญัติลงไว้เป็นบทกฎหมาย ดังจะเห็นได้จาก การนำทฤษฎีสัญญาประชาคม และทฤษฎีการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตย และทฤษฎีอำนาจอธิปไตยของปวงชนมาบัญญัติเป็นรัฐธรรมนูญอเมริกัน และเป็นคำประกาศว่าด้วยสิทธมนุษยชนและพลเมืองฝรั่งเศส และนับแต่บัดนั้นมา ปรัชญาเหล่านี้ก็กลายเป็นทฤษฎีและหลักกฎหมายมหาชนรากฐานของโลกประชาธิปไตยมาจนปัจจุบัน

 

 

 เกณฑ์การจำแนกประเภทของกฎหมาย

 

 กฎเกณฑ์ที่เรียกรวม ๆ กันว่ากฎหมายนั้น อาจจำแนกประเภทได้หลายวิธี สุดแต่จะใช้เกณฑ์ใดเป็นเครื่องมือแบ่งแยก แต่ถ้าหากจะยึดเอา ลักษณะของนิติสัมพันธ์ เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาแยกประเภทของกฎหมาย และใช้ ลักษณะของนิติสัมพันธ์ เป็นเครื่องแบ่งแยกกฎหมาย ตลอดจนการใช้นิติวิธีในเชิงคดีและการศึกษาวิจัยได้ถูกต้องแล้ว เราสามารถแบ่งประเภทของ กฎหมายเป็น กฎหมายเอกชน ( private law) และกฎหมายมหาชน ( public law) โดยมีเกณฑ์หรือหลักในการแบ่งแยกประเภท ดังนี้

 

 

 1.1 เกณฑ์เกี่ยวกับ บุคคลผู้ก่อนิติสัมพันธ์ ซึ่งเป็น เกณฑ์ทางองค์กร ถ้าถือตามนี้

 

 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายซึ่งใช้บังคับกับสถานะและนิติสัมพันธ์ ระหว่าง รัฐหรือหน่วยงานของรัฐฝ่ายหนึ่ง ก่อกับ เอกชนหรือหน่วยงานของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง โดยรัฐอยู่ในฐานะ ผู้ปกครอง

 

 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายซึ่งใช้บังคับกับสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่าง เอกชน กับ เอกชนด้วยกัน ซึ่งต่างก็เป็น  ผู้อยู่ใต้ปกครอง เหมือนกันและเท่าเทียมกัน

 

 1.2 เกณฑ์เกี่ยวกับ วัตถุประสงค์ของนิติสัมพันธ์

 

 กฎหมายมหาชน มีจุดประสงค์ของนิติสัมพันธ์ที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐก่อขึ้นนั้น เป็นไปเพื่อ ประโยชน์สาธารณะ แทบทั้งสิ้น ดังนั้น กฎหมายที่บังคับนิติสัมพันธ์ จึงมีลักษณะพิเศษที่ให้ความสำคัญกับประโยชน์สาธารณะหรือส่วนรวม ในขณะที่

 

 กฎหมายเอกชน มีจุดประสงค์ของนิติสัมพันธ์ระห่างเอกชนต่อเอกชนที่มุ่ง ผลประโยชน์ส่วนตน เป็นที่ตั้ง กฎหมายที่ใช้บังคับจึงต้องใช้กฎหมายเอกชน

 

 

1.3 เกณฑ์เกี่ยวกับ วิธีการที่ใช้ในการก่อนิติสัมพันธ์ ระหว่างกัน หรือเรียกว่า เกณฑ์ตามรูปแบบ

 

 

 

กฎหมายมหาชน มีเทคนิค กล่าวคือ เมื่อรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ ทำการเพื่อประโยชน์สาธารณะในฐานะผู้ปกครอง จึงต้องมี ฐานะที่เหนือกว่าเอกชน วิธีการในการก่อนิติสัมพันธ์สร้างสิทธิหน้าที่ให้เกิดกับเอกชน เป็น วิธีการฝ่ายเดียว ที่ไม่ต้องอาศัยความสมัครใจของเอกชนเลย เช่น การออกคำสั่ง การอนุมัติ การไม่อนุมัติ ฯลฯ หากมีการฝ่าฝืนนิติสัมพันธ์ รัฐสามารถบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งฝ่ายเดียวนั้นได้โดยไม่ต้องไปศาล

 

 

 

กฎหมายเอกชน นิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ต่างฝ่ายต่างมุ่งผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง กฎหมายจึงถือว่า เอกชนแต่ละคน มีความเสมอภาคกัน ดังนั้นนิติสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดขึ้นจึงต้องอาศัย ความสมัครใจอันมีที่มาจากเสรีภาพในการทำสัญญา นอกจากนั้น หากมีการฝ่าฝืนสิทธิและหน้าที่ของกันและกัน เอกชนจะใช้อำนาจตนบังคับอีกฝ่ายหนึ่งให้ทำตามสัญญาไม่ได้ ต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐให้บังคับตามนิติสัมพันธ์นั้นในฐานะคนกลาง เทคนิคหรือวิธีการในกฎหมายเอกชนนั้น อยู่บนหลักความเสมอภาค และเสรีภาพในการทำสัญญา

 

 

 

1.4 เกณฑ์ ทางเนื้อหา

 

 

 

กฎหมายมหาชน เป็นกฎเกณฑ์ที่มีลักษณะทั่วไปและปราศจากการระบุตัวบุคคล ที่เรียกว่า กฎหมายตามภาวะวิสัย ซึ่งถือว่าต้องปฏิบัติตาม จะตกลงยกเว้นไม่ได้ ถือว่าเป็น กฎหมายบังคับ

 

 

 

กฎหมายเอกชน เป็นกฎเกณฑ์ที่จะใช้บังคับก็ต่อเมื่อเอกชนไม่ทำสัญญาตกลงกันเป็นอื่น ถ้าเอกชนตกลงทำสัญญาแตกต่างไปจากที่กฎหมายเอกชนกำหนดไว้ และบทกฎหมายนั้น ไม่เป็นบทกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว ก็เท่ากับเอกชนได้สร้างกฎหมายตามอัตวิสัย ขึ้นใช้บังคับระหว่างกันเป็นการเฉพาะราย

 

 

 

 

ความแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่กล่าวกำหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับ สถานะและอำนาจของรัฐและผู้ปกครอง  รวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองกับพลเมืองผู้อยู่ใต้ปกครอง ในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิทางปกครองเหนือพลเมืองซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน

 

 

 

ส่วนกฎหมายเอกชน คือ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันและในฐานะที่เท่าเทียมกัน

 

 

 

กฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชนจึงแตกต่างกันในข้อสำคัญคือ กฎหมายมหาชนนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่เท่าเทียมกันระหว่างรัฐและผู้ปกครองกับพลเมือง ส่วนกฎหมายเอกชนนั้น จะตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันและบนพื้นฐานของ หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งเจตนา หรือบนพื้นฐานของความเป็นอิสระของการแสดงเจตนา โดยจะอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชน ทั้ง 6 ประการ ได้ดังนี้

 

 

 

1. ด้านองค์กรหรือตัวบุคคลที่เข้าไปมีนิติสัมพันธ์ กล่าวคือ

 

 

 

กฎหมายมหาชน องค์การหรือบุคคลที่เข้าไปมีนิติสัมพันธ์ คือ รัฐ หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายหนึ่ง กับ เอกชนฝ่ายหนึ่ง แต่

 

 

 

กรณีของกฎหมายเอกชน ตัวบุคคลที่เข้าไปทำนิติสัมพันธ์คือเอกชนกับเอกชน

 

 

 

2. ด้านเนื้อหาและความมุ่งหมาย  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กฎหมายมหาชนมีจุดมุ่งหมายเพื่อสาธารณะประโยชน์และการให้บริการสาธารณะ โดยไม่ได้มุ่งหวังในเรื่องกำไร แต่

 

 

 

กรณีของกฎหมายเอกชนนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ของเอกชนแต่ละคน แต่บางกรณีซึ่งเป็นข้อยกเว้น เอกชนก็อาจทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมได้ เช่น การตั้งมูลนิธิหรือสมาคมเพื่อการกุศลและสาธารณะประโยชน์

 

 

 

3. ด้านรูปแบบของนิติสัมพันธ์  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กฎหมายมหาชนมีลักษณะเป็นการบังคับและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ออกมาเป็นรูปคำสั่งหรือข้อห้ามที่เรียกว่า การกระทำฝ่ายเดียว กล่าวคือ เป็นการกระทำซึ่งฝ่ายหนึ่งสามารถกำหนดหน้าที่ทางกฎหมายให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง โดยที่ฝ่ายหลังไม่ได้ตกลงยินยอมด้วย เช่น การออกกฎหมายต่างๆ เป็นต้น

 

 

 

ส่วนกฎหมายเอกชนนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นอิสระในการแสดงเจตนา ความเสมอภาค และเสรีภาพในการทำสัญญา คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะบังคับอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้

 

 

 

4. ด้านนิติวิธี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นิติวิธีของกฎหมายมหาชนจะไม่นำหลักกฎหมายเอกชนมาใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้นตามกฎหมายมหาชน แต่จะสร้างหลักของกฎหมายมหาชนขึ้นมาใช้เอง

 

 

 

ส่วนนิติวิธีทางกฎหมายเอกชนนั้น จะเน้นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนและมุ่งรักษาประโยชน์ของเอกชนด้วยกัน

 

 

 

5. ด้านนิติปรัชญา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 นิติปรัชญากฎหมายมหาชนนั้น มุ่งประสานประโยชน์สาธารณะกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล

 

 

 

แต่นิติปรัชญากฎหมายเอกชนเน้นความยุติธรรมที่เท่าเทียมกัน และอยู่บนเสรีภาพความสมัครใจของคู่กรณี

 

 

 

6. ในเรื่องเขตอำนาจศาล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปัญหาทางกฎหมายมหาชนจะขึ้นสู่ศาลพิเศษ ได้แก่ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ วิธีพิจารณาคดีจะใช้ระบบใต่สวน ผู้พิพากษาจะสืบหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานด้วยตนเอง

 

 

 

ส่วนปัญหาตามกฎหมายเอกชนนั้นขึ้นศาลยุติธรรม ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลอาญา วิธีพิจารณาคดีจะใช้ระบบกล่าวหา คือ ผู้เป็นคู่กรณีจะต้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ข้อกล่าวหาของตนเอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 366200เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2010 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดู ที่ ทำ ไว้ หรือ เปล่า ครับ มัน ห๊าง ห่าง กัน ขนาด ไหน...

อ่าน ไง เนี้ย คร้าบบบบบบ...

เนื้อหาห่าง กัน มากไปค่ะ

สุดยอดครับ​ ออกข้อสอบอัตนัยของ​ มสธ.ภาค1/66​ ผมทำข้อสอบไม่ได้​ สอบเสร็่จแล้วพึ่งมาเปิดเห็น​ เป๊ะเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท